นายสิทธิพร สุวรรณสุต นายกสมาคมไทยรับสร้างบ้าน (Thai Home Builders Association : THBA ) เปิดเผยถึงแนวโน้มตลาดรับสร้างบ้านในครึ่งปีหลัง2562 คาดว่าความต้องการสร้างบ้านและกำลังซื้อผู้บริโภคครึ่งปีหลังมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น หากการเจรจาข้อตกลงทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนเป็นไปในด้านบวก ภาพรวมเศรษฐกิจโลกก็น่าจะขยายตัวและส่งผลดีต่อประเทศไทย ทั้งในด้านการส่งออกและการท่องเที่ยว ตลอดจนการปรับตัวของผู้ประกอบการที่อยู่ในธุรกิจรับสร้างบ้าน ต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การให้บริการ มีความเชี่ยวชาญ และมีความเป็นมืออาชีพที่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ตรงตามความต้องการมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ยังเป็นกังวลก็คือ ภาคการเมืองและเสถียรภาพของรัฐบาล ที่อาจฉุดความเชื่อมั่นกำลังซื้อผู้บริโภคชะลอตัว ทั้งนี้ในส่วนของภาพรวมตลาดทั้งปีแล้วสมาคมฯ ได้ปรับลดตัวเลขมูลค่าตลาดรับสร้างบ้านลงเล็กน้อย  จากเดิม 16,000-17,000 ล้านบาท มาอยู่ที่ 14,000-16,000ล้านบาท อันเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบเศรษฐกิจไทยและกำลังซื้อเชื่อมั่นผู้บริโภคในช่วงครึ่งปีแรก ประกอบกับในครึ่งปีหลังภาคธุรกิจเองมีแนวโน้มชะลอการลงทุนและผู้ประกอบการหลายราย (รายเดิม) เลิกกิจการ อย่างไรก็ดี ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-มิ.ย. 62) สมาคมฯ ประเมินว่ากลุ่มธุรกิจรับสร้างบ้านมีแชร์ส่วนแบ่งตลาดแล้วประมาณ 7,000ล้านบาท           “ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ขยายและเติบโตได้ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยปัจจัยหลัก ๆ เกิดจากความไม่เชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อเศรษฐกิจโลกและของภายในประเทศ ภาคการส่งออกที่ไม่มีขยายตัว และภาคท่องเที่ยวมีตัวเลขนักท่องเที่ยวลดลงจากที่ประเมินไว้ รวมถึงสภาพปัญหาการเมืองภายหลังมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แล้ว พบว่าบรรดาพรรคการเมืองมีการต่อรองผลประโยชน์ในการเข้าร่วมและแย่งชิงกัน จัดตั้งรัฐบาลแบบไม่เกรงใจประชาชน” นายสิทธิพร กล่าว นายสิทธิพร กล่าวเพิ่มว่า ในส่วนของสภาพการแข่งขันของตลาดรับสร้างบ้านในช่วงครึ่งปีหลัง ประเมินว่าจะกลับมาแข่งขันกันดุเดือดอีกครั้ง โดยมีกลุ่มผู้นำตลาดที่สร้างบ้านด้วยระบบสำเร็จรูป  ได้แก่ กลุ่มซีคอนโฮม เอสซีจีไฮม์ พีดีเฮ้าส์ ฯลฯ ซึ่งยังต้องการขยายกำลังการผลิตและแชร์ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มนี้สามารถสร้างบ้านได้รวดเร็ว ควบคุมคุณภาพได้แม่นยำกว่า และใช้แรงงานคนจำนวนน้อย จึงมีความได้เปรียบผู้ประกอบการทั่ว ๆ ไป ที่ประสบปัญหาแรงงานขาดแคลนและมีข้อจำกัดอื่น ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตลาดของตัวเอง อย่างไรก็ตามในปี 2561 และช่วงครึ่งแรกปี 2562 ที่ผ่านมา มีข้อมูลที่สมาคมฯ รวบรวมไว้ที่น่าสนใจคือ ผู้บริโภคที่ใช้บริการสร้างบ้านกับสมาชิกสมาคมฯ ต้องการกู้เงินหรือขอสินเชื่อปลูกสร้างบ้าน มีสัดส่วนสูงถึง 44% และ 41% ตามลำดับ จากปกติมีสัดส่วนขอสินเชื่อปลูกสร้างบ้านไม่เกิน 30-36% ถือเป็นสัดส่วนการขอสินเชื่อปลูกสร้างบ้านที่สูงที่สุดในรอบ 6 ปีของกลุ่มสมาชิกสมาคมฯ และจากจำนวนผู้ขอสินเชื่อทั้งหมด 82% เลือกจะปลูกสร้างบ้านในต่างจังหวัด ที่เหลืออีก 18% ปลูกสร้างในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวอาจมีนัยสำคัญ ในแง่การปรับตัวของผู้ประกอบการและธุรกิจรับสร้างบ้าน โดยเฉพาะในภาวะที่เศรษฐกิจและตลาดรับสร้างบ้านในครึ่งปีหลัง มีความเสี่ยงและโอกาสพอ ๆ กัน ดังนั้นการขยายสู่กำลังซื้อและกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ