เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ รุกให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมและมะเร้งปากมดลูก แก่อาสาสมัครสาธารณสุข และแกนนำสตรี อายุ 30-60 ปี เป็นการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก ทั้งการรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพ โดยเน้นการสร้างความเข้มแข็งของสตรีที่ยังไม่เป็นกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วย เพื่อสืบสานพระราชปณิธาน สมเด็จย่า วันนี้ (3 ก.ค.62) เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ สืบสานพระราชปณิธาน สมเด็จย่า ต้านภัยมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก โดยมีนายยุทธชัย พงษ์พณิช รองนายกเทศมนตรีเมืองบุรีรัมย์ เป็นประธานพิธีเปิด มีนางสิรินันท์ มณีราชกิจ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ กล่าวรายงาน พร้อมเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ อาสาสมัครสาธารณสุข และแกนนำสตรี อายุ 30-60 ปี ในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ 18 ชุมชน เข้ารับการอบรม จำนวน 165 คน ที่ห้องประชุมเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุข และสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ 18 ชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมและมะเร้งปากมดลูก มีทักษะสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเอง และสามารนำไปเผยแพร่ในชุมชนได้ถูกต้อง เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก โดยสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ต้องได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก อย่างน้อยร้อยละ 80 ทั้งเพื่อให้สตรีที่ตรวจพบความผิดปกติ เป็นมะเร็งเต้านม และความผิดปกติของเซลล์มะเร็งปากมดลูก ได้รับการวินิจฉัยยืนยันการเกิดโรค ได้รับการรักษาและการขึ้นทะเบียนผู้ป่วยมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก 100 % และเพื่อให้สตรีที่พบว่าเป้นมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก ในระยะเริ่มแรก มีโอกาสรักษาให้หายขาด เพื่อเป็นการลดการสูญเสียงบประมาณค่าใช้จ่าย และเวลาในการรักษา และลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้อย่างมีคุณภาพ โดยได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรจากฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ศูนย์แพทย์ชุมชนโรงพยาบาลบุรีรัมย์ สาขา 1 , 2 และ 3 โดยได้รับงบประมาณจากเงินอุดหนุนทั่วไป เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ นายยุทธชัย พงษ์พณิช รองนายกเทศมนตรีเมืองบุรีรัมย์ กล่าวว่า ขณะนี้สตรีไทยมีความเสี่ยงหลายเรื่อง จากโรคภัยคุกคามสุขภาพ โดยเฉพาะโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในอันดับต้นๆ และเป็นที่น่าห่วงที่สุดคือ การตรวจพบให้เร็วที่สุด ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยหายขาดจากการเป็นมะเร็งในอัตราที่สูง และทำให้คนที่เป็นมะเร็งมีชีวิตยืนยาวอย่างมีคุณภาพได้ เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก การรักษาพยาบาล รวมถึงการฟื้นฟูสภาพ โดยเน้นการสร้างความเข้มแข็งของสตรีที่ยังไม่เป็นกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วย