วันที่ 29 มิ.ย.พระกิตติศักดิ์ กิตฺติโสภโณ ประธานมูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า...ประเด็น 'จ่านิว' ถูกทำร้าย ยังมีหลายเรื่องที่ควรพิจารณาให้มากไปกว่าการคร่ำครวญหรือแสดงความสะใจอย่างไม่มีที่มาที่ไป... 1. คดีนี้ตำรวจยังไม่สรุปสมมติฐาน หรือระบุแรงจูงใจ ในการทำร้าย หรือการรุมทำร้าย ว่ามาจากสาเหตุใด โดยใคร หรือกลุ่ม-หมู่-พวก ใดๆ ยังไม่มีการสอบปากคำผู้เสียหายยังไม่มีการสอบปากคำประจักษ์พยาน ยังไม่มีการรวบรวมหลักฐาน ยังไม่มีการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ ทั้งจาก สน.ที่เกิดเหตุ หรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2.ผู้ที่ออกมาแสดงทัศนะว่าเป็นประเด็นความคิดต่างทางการเมืองเป็นเรื่องการลอบทำร้ายที่เกิดขึ้นกับนักเคลื่อนไหวทางการเมืองล้วนแต่สรุปจากมโนทัศนะเกิดจากการคาดเดาตามความเชื่อและความเคยชินของตนเองเช่นเดียวกับฝ่ายที่สะใจ พอใจก็เกิดจากความรู้สึกทั้งที่ไม่พอใจกับบทบาทของ จ่านิวที่แสดงออกต่างกรรม ต่างวาระ ต่อประเด็นต่างๆและความไม่พอใจเพราะยืนอยู่คนละฟากฝ่ายทั้งทางการเมือง และขนบจารีตทางสังคม 3.เมื่อประกอบกับการนำเสนอของสื่อเลือกข้างและนักใส่สีตีไข่ หวังยอดไลค์-ยอดแชร์ก็ยิ่งทำให้เรื่องราวถูกโหมกระพือจนใหญ่โตเกินจริงจนล้ำหน้าการทำงานของเจ้าหน้าที่จนเกิดประเด็นเรียกร้องจนเกิดการตำหนิติเตียนรัฐ ฯลฯ ทั้งที่กรณีนี้เพิ่งเกิดขึ้นไม่นาน ทั้งที่ไม่มีทั้งข้อสรุปทางการแพทย์ ทั้งที่ไม่มีข้อสรุปทางกฎหมาย ทั้งที่ไม่มีการแถลงอย่างเป็นทางการจากใคร 4. หลายคนหลงลืมไปว่า ความก้าวร้าว ความรุนแรง การทำร้ายร่างกาย การทำลายทรัพย์สิน ฯลฯ เกิดขึ้นแม้กับผู้คนทั่วไป เกิดขึ้นแม้กับนักเรียน-นักศึกษาเกิดขึ้นแม้กับเด็กและคนชราวันละนับไม่ถ้วนกรณีไม่ว่าใครเป็นฝ่ายกระทำ ไม่ว่าใครเป็นฝ่ายถูกกระทำ ไม่ว่าจะมีการแจ้งความดำเนินคดี ไม่ว่าจะไม่มีการแจ้งความดำเนินคดี ไม่ว่าฝ่ายผู้เสียหายจะเพียงบาดเจ็บหรือถึงกับล้มหายตายจากไป ทั้งจากการหักเหลี่ยมเฉือนคม ทั้งจากการขัดผลประโยชน์ ทั้งจากอาการ "หัวร้อน" ของผู้ก่อเหตุ ทั้งจากความขัดแย้งทางการเมือง คำถามคือ ที่ทำร้ายกันเพราะขัดแย้งทางการเมือง อยู่ในสัดส่วนเท่าใด ของเหตุที่เกิดขึ้น 5.ผู้มีชื่อเสียงทางสังคม ผู้มีชื่อเสียงทางการเมือง ผู้มีบทบาทชี้นำสังคม ผู้เป็นนักเคลื่อนไหวทางสังคม ฯลฯ จึงควรระวังสังวรไว้ให้มาก ว่าอย่าให้ความตื่นตูมของตนกลายเป็นการขยายผล หรือขยายความขัดแย้งทางสังคม โดยไม่มีเหตุผลที่เหมาะควรรองรับ การโหวกเหวกโวยวาย การกู่ร้องก้องตะโกน การเชื่อมนั่นโยงนี่ไปตามที่ตนมะโนหรือการสรุปเอาโดยง่าย ว่าเกิดจากรัฐ คนของรัฐ หรือจากฝ่ายนั้น-ฝ่ายนี้ โดยมีเจตนาอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะหวังผลอย่างนั้นอย่างนี้ ชนิดที่รู้ราวกับวางแผนเอง จึงไม่ควรเกิดขึ้น จากผู้มีสถานภาพหรือวุฒิภาวะ ตามที่พยายามแสดงออก หรือกระทำให้สั่งคมเชื่อถือ-ยอมรับ อีกระยะหนึ่ง เมื่อ "จ่านิว" อาการดีขึ้น เพียงพอที่จะ "ให้ปากคำ" หรือ "แถลงข่าว" ได้ สังคมคงได้รับคำตอบ หรือการไขข้อข้องใจ ได้มากขึ้น กระทั่งเกิด "วุฒิภาวะ" ต่อปรากฏการณ์ทางสังคมได้มากยิ่งขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นกับ "จ่านิว" เมื่อเทียบกับที่เกิดขึ้น กับคุณเอกยุทธ อัญชันบุตร หรือที่เกิดขึ้น กับคุณสนธิ ลิ้มทองกุล นั้นถือว่ารุนแรงต่างกันมากนัก แต่ความใส่ใจของนักสิทธิมนุษยชน ดูจะห่วง "จ่านิว" มากกว่า...