อธิบดีกรมปศุสัตว์ ลุยมาตรการเชิงรุกจัดทำระบบคอมพาร์ทเมนต์ ปลอดโรคอหิวาต์แอฟริกา ลดผลกระทบหากมีการระบาดของโรคอหิวาต์ แอฟริกาในสุกรในประเทศ เมื่อวันที่19 มิ.ย.62 นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า เนื่องจากในช่วงต้นปี พ.ศ. 2562 มีรายงานการเกิดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งในขณะนี้ยังไม่สามารถควบคุมโรคได้ ทำให้ประเทศไทยมีความเสี่ยงสูง ที่พบการระบาดของโรคดังกล่าว เนื่องจากโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรทำให้สุกรป่วยตายเป็นจำนวนมาก และไม่สามารถส่งออกสุกรและผลิตภัณฑ์สุกรไปต่างประเทศ กรมปศุสัตว์จึงได้เข้ม มาตรการป้องกันและเฝ้าระวังโรคยิ่งขึ้น รวมทั้งได้มีการซ้อมแผนรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรให้กับเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ เกษตรกร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เตรียมความพร้อมให้ทุกภาค ส่วนมีความรู้เรื่องโรค ทราบแนวทางปฏิบัติในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค และช่องทางแจ้งโรคหากพบสุกรป่วยตายผิดปกติ นอกจากนี้ เพื่อลดผลกระทบและความเสียหายต่อ เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรและธุรกิจที่เกี่ยวข้องหากพบการระบาดของโรคในประเทศ กรมปศุสัตว์จึง ได้จัดทำระบบคอมพาร์ทเมนต์ปลอดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรอย่างเร่งด่วน ระบบคอมพาร์ทเมนต์ปลอดโรค เป็นแนวทางที่ ได้รับการยอมรับในระดับสากลเพื่อประโยชน์ในการส่งออกสำหรับประเทศที่พบรายงานโรคระบาดที่สำคัญ เช่น โรคไข้หวัดนก และโรคปากและเท้าเปื่อย เป็นต้น โดยขั้นตอนการจัดทำระบบคอมพาร์ทเมนต์ปลอดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ขณะนกี้ รมปศุสัตว์อยู่ระหว่างดำเนินการ มีความสอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การสุขภาพสัตว์โลกหรือ OIE ประกอบด้วย การประเมิน ความเสี่ยงระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ การเฝ้าระวังในระบบคอมพาร์ทเมนต์และพื้นที่กัน ชน การจัดทำระบบการตรวจสอบย้อนกลับ แผนรับมือฉุกเฉินในฟาร์มกรณีเกิดโรค ระบบ ควบคุมเคลื่อนย้าย และระบบจัดเก็บข้อมูล ทั้งนี้ เมื่อกรมปศุสัตว์ร่างหลักเกณฑ์ขั้นตอนการดำเนินการเรียบร้อยแล้ว จะได้มีการประชาพิจารณ์ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดหลักเกณฑ์ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการ “ขอให้เกษตรกรมั่นใจในการดำเนินงานที่เข้มงวด ของปศุสัตว์ในการป้องกันโรคมิให้เข้ามาสร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการผลิตสุกรของ ประเทศไทย รวมทั้งขอย้ำให้เกษตรกรยกระดับการเลี้ยงสุกรให้มีระบบการป้องกันโรคเข้าสู่ ฟาร์มตามมาตรฐาน GAP และหากเป็นรายย่อยให้ใช้มาตรฐานการป้องกันและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (GFM) นอกจากนี้ให้สังเกตอาการสุกรอย่างใกล้ชิด หากพบสุกรแสดงอาการป่วย เช่น มีไข้สูง เบื่ออาหาร ผิวหนังเป็นปื้นแดง และต่อมาเป็นสีเขียวคล้ำ พบภาวะแท้งในแม่สุกร และมีจำนวนสุกรตายผิดปกติให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที หรือ call center 063- 225-6888 หรือที่แอปพลิเคชัน DLD 4.0 “แจ้งการเกิดโรคระบาด” เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้เร่ง ดำเนินการให้การช่วยเหลืออย่างทันท่วงที”อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าว