จากกรณีนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการ สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ทำจดหมายเปอดผนึกถึง นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม รองอธิบดีสำนักงานชี้ขาดคดีอัยการสูงสุด ว่าคนเรียนจบปริญญาถือว่าเป็นบัณฑิตไม่ใช่เด็กแล้วนั้น ล่าสุดนายปรเมศวร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊กระบุข้อความว่า...ไม่ตอบโต้ใคร ไม่ตำหนิใคร แต่นักกฏหมายสายบ้านเมืองอย่างเราต้องเข้าใจ"หลักอินทรภาษ" (เรียนมาตั้งแต่ปีหนึ่ง และบางคนลืมหมดแล้ว) ซึ่งเป็นคำสั่งสอนของพระอินทร์ที่มีต่อบุรุษผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นตุลาการว่า การที่จะเป็นตุลาการที่ดีนั้นจะต้องไม่มีอคติ ๔ ประการ คือ ๑. ฉันทาคติ "รัก" เพราะเป็นลูก เป็นเมีย เป็นญาติ ๒. โทสาคติ "โกรธ" เพราะเป็นคู่อาฆาต คู่ศัตรู เคียดแค้นแล้วจ้องจับผิดเพื่อเล่นงานกัน ๓. ภยาคติ "กลัว" เพราะโจทก์เป็นผู้มีอำนาจ ถ้าไม่ตัดสินลงโทษจำเลยตามที่เขาสั่ง ก็กลัวว่าเขาจะไม่ชอบ ๔. โมหาคติ "หลง" คือ "ความไม่รู้จริง" อาจทำให้ตัดสินผิด ๆ ได้ ฉะนั้น ในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์จึงบอกว่า การเป็นตุลาการที่ดี(หรือการตัดสินใครก็ตาม) จะต้องไม่มีอคติ ๔ ประการนี้ และต้องตัดสินความตามพระธรรมศาสตร์ โดยครองธรรมอันเป็น "จัตุรัส" คือ เป็นรูป ๔ เหลี่ยมไม่พลิกไปพลิกมา ใครก็ตามถ้าตัดสินความโดยมีอคติ ก็จะทำให้ชีวิตเสื่อมถอยประดุจพระจันทร์ข้ามแรม ใครก็ตามที่ตัดสินความโดยปราศจากอคติ ๔ ประการ ก็จะทำให้อิสริยยศ ลาภยศต่าง ๆ เจริญรุ่งเรืองประดุจพระจันทร์ข้างขึ้น นี่คือหลักอินทภาษที่นักกฎหมายที่ดีพึงยึดถือปฏิบัติ มิใช่หาเรื่องคนโน้นคนนี้ไปเรือยๆ แล้วเรื่องที่เกิดขึ้น ผมถามว่า "เพื่ออะไร?" คำตอบอยู่ตรงที่ว่า ถามจริง ๆ เถอะทำเพราะปกป้อง "พ่อ" หรือทำ "โทสาคติ" ถ้าทำเพราะปกป้อง"พ่อ" มันควรจะทำตั้งแรกที่เขาปรากฎตัวในสังคม มุมมองที่ต้องวิเคราะห์ตามประสาคนใช้กฏหมายเพื่อความสงบเรียบร้อยและเพื่อการปรองดองของคนในสังคม โฆษกตำรวจก็บอกแล้วว่ากำลังสอบสอน ผิดว่าไปตามผิด ถูกว่าไปตามถูก ซึ่งถูกต้องที่สุด พูดกันบ่อยๆ สถาบันจะเสียหาย และ สร้างความแตกแยกในสังคมมากขึ้นนะครับ