โครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดงเข้มข้น ขับเคลื่อนงานในชุมชนผ่านคณะกรรมการการมีส่วนร่วมฯ ตลอด ทั้งก่อนและหลังคลอดโครงการ เผยกลายเป็นแม่แบบให้หน่วยงานอื่นสนใจศึกษา ระบุผู้อยู่อาศัยเดิมแฟลต 18-22 จำนวน 280 ราย ส่วนใหญ่ย้ายตามเข้าอาคารใหม่แปลง G เกือบ 100% พล.อ.สุชาติ หนองบัว กรรมการการเคหะแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมการการมีส่วนร่วมการดำเนินงานฟื้นฟูชุมชนดินแดง เปิดเผยถึงแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการการมีส่วนร่วมฯ ว่ายังคงเดินหน้าขับเคลื่อนงาน โดยมีการประชุมหารือเป็นประจำทุกเดือน และจัดกิจกรรมในวาระพิเศษ เพื่อให้รับทราบปัญหาที่สะท้อนผ่านมาทางตัวแทนผู้อยู่อาศัยที่เป็นคณะกรรมการการมีส่วนร่วมฯ “ตรงไหนที่เป็นปัญหาก็แก้ไข มีการติดตามตรวจสอบเป็นระยะๆ พร้อมกับให้ข้อมูล ความรู้แก่ผู้อยู่อาศัยผ่านตัวแทนและสื่อประชาสัมพันธ์ ผมขอให้ฟังข้อมูลจากเรา อย่าไปฟังคนที่บิดเบือนสร้างปัญหา หวังผลอย่างอื่น เพราะรัฐบาลตั้งใจพัฒนาโครงการนี้ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้คนในชุมชนจริงๆ” พล.อ.สุชาติ หนองบัว  กรรมการการเคหะแห่งชาติ พล.อ.สุชาติกล่าวว่า การดำเนินงานของคณะกรรมการการมีส่วนร่วมฯ จึงต้องใช้กระบวนการโปร่งใส ตรวจสอบโครงการได้ เพราะจะทำให้คนในชุมชนดินแดงเกิดความเชื่อมั่นว่า โครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดงจะตอบโจทย์ให้เขาได้ “เราทำตั้งแต่ต้น เริ่มตั้งแต่เคาะประตูทุกห้อง พูดคุย รับทราบสภาพปัญหา ตลอดจนเมื่อจะทำโครงการก็แบกันให้เห็นว่า เราทำอะไร อย่างไร เช่น การประมูลหาผู้รับเหมา เขาจะเห็นเป็นรายการๆ เลยว่า หินเท่าไหร่ ทรายเท่าไหร่ ทุกคนในคณะกรรมการฯ รับรู้ ท้วงติง หรือเสนอแนะได้หมด ตอนนี้ดินแดงกลายเป็นโมเดลที่หน่วยงานอื่นสนใจเข้ามาศึกษากัน” นายดารนัย อินสว่าง หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการมวลชน โครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดงกล่าวว่า  นายดารนัย อินสว่าง จากการจัดทำแบบสอบถามความสมัครใจของผู้อยู่อาศัยแฟลต 18 - 22 จำนวน 280 ราย พบว่า ส่วนใหญ่ประสงค์จะย้ายไปอาศัยในอาคารแปลง G บริเวณสามเหลี่ยมดินแดง ซึ่งเป็นอาคารหลังแรก จัดสร้างที่อยู่อาศัยรองรับ 334 หน่วย โดยมี 7 - 8 รายเท่านั้นที่ยังไม่ตัดสินใจ “แต่เชื่อว่า ยิ่งงานก่อสร้างคืบหน้าก็อาจเปลี่ยนใจย้ายไปอยู่ด้วยทั้งหมด ตอนนี้การเคหะฯ ยังเปิดโอกาสให้ตัดสินใจจนกว่าอาคารจะแล้วเสร็จ ถ้าไม่ไปด้วยก็จะได้รับเงินชดเชยห้องละ 4 แสนบาท ภายหลังจากอาคารใหม่สร้างเสร็จ” ทางด้าน นางเตือนใจ ปทุมราช กรรมการการมีส่วนร่วมฯ ในฐานะผู้แทนของผู้อยู่อาศัยในชุมชนดินแดงกล่าวว่า การที่ผู้อยู่อาศัยเดิมยังต้องการอยู่ในโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง เนื่องจากเห็นว่าโครงการใหม่มีความสะดวก ปลอดภัย อีกทั้งเป็นอาคารใหม่และมีระบบปิดที่มีมาตรการป้องกันบุคคลภายนอกเข้ามา  นางเตือนใจ ปทุมราช กรรมการการมีส่วนร่วมฯ “เปรียบกับสภาพที่เป็นอยู่ขณะนี้ ตัวอาคารมีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง และเป็นพื้นที่เปิด ทำให้คนนอกเข้าถึงได้ง่าย ก่อให้เกิดเป็นปัญหาความปลอดภัยและอาชญากรรม”นางเตือนใจกล่าวว่า ในขณะที่แปลง G กำลังเริ่มก่อสร้างอาคารสูง 334 หน่วย มีผู้ให้ความสนใจเข้ามาถามกันมาก เพื่อหวังสมัครเป็นผู้อยู่อาศัยในอาคารใหม่ด้วย“เป็นคนรอบๆ แฟลตดินแดงนี้แหละ พอเขาเห็นโครงการก็อยากได้ เพราะโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดงใหม่จะเหมือนกับคอนโดทั่วไป ที่มีการจัดสรรพื้นที่ มีการจัดระบบรักษาความปลอดภัย มีสภาพแวดล้อมดีขึ้น แถมค่าเช่าก็ถูกมาก ใครๆ ก็อยากอยู่” นางเตือนใจกล่าว