ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองที่ฝุ่นตลบ เพราะในแต่ละวันยังมีขบวนขันหมากที่แห่ไปตามพรรคต่างๆเพื่อทาบทามการเป็นพรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล แต่ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไรสิ่งที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือท่านส.ส.ทั้งหลายต้องคำนึงให้มากที่สุดคือผลประโยชน์ที่ตกอยู่กับประเทศชาติและประชาชนเพราะประชาชนได้ตัดสินใจลงคะแนนเลือกท่านเข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศแล้วอย่าให้หนึ่งคะแนนเสียงของประชาชนสูญเปล่า!! และในช่วงที่รอความชัดเจนเรื่องรัฐบาลชุดใหม่.... งานนี้ต้องขอปรบมือดังๆให้กับรัฐบาลชุดเก่าภายใต้การบริหารงานของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรียังเดินหน้าทำงานอย่างเต็มที่โดยยึดหลักผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญที่ล่าสุดการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่28 พฤษภาคมที่ผ่านมาได้อนุมัติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3 สนามบินกับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้งจำกัดและพันธมิตร(กลุ่มCPH) ประกอบด้วยบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้งจำกัด,บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพจำกัด(มหาชน) หรือBEM, บริษัทChina Rsilway Construction Corporation Limited,บริษัทช.การช่างจำกัด(มหาชน) และบริษัทอิตาเลียนไทยดีเวลลอปเมนท์จำกัด(มหาชน) ซึ่งเป็นเอกชนที่ได้รับคัดเลือกตามที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(กพอ.) ได้เห็นชอบไว้ โดย ครม.เห็นชอบให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการนี้วงเงิน149,650 ล้านบาทซึ่ง รฟท.จะชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการแก่เอกชนที่ได้รับการคัดเลือกด้วยการแบ่งจ่ายเป็นรายปีๆละไม่เกิน14,965 ล้านบาทเป็นเวลา10 ปีหลังจากเริ่มการให้บริการโครงการ ทั้งนี้กลุ่ม CPH ได้ยื่นเสนอมูลค่าเงินที่รัฐร่วมลงทุน149,650 ล้านบาทเมื่อคำนวณเป็นมูลค่าปัจจุบัน(เอ็นพีวี) มีค่าเท่ากับ117,226.87 ล้านบาทต่ำกว่ากรอบวงเงินที่ ครม.อนุมัติไว้ที่119,425.75 ล้านบาทหรือต่ำกว่า2,198.88 ล้านบาทโดยให้เอกชนร่วมลงทุนเป็นเวลา50 ปีและเอกชนเป็นผู้จัดเก็บค่าโดยสารและรับความเสี่ยงด้านจำนวนผู้โดยสารของโครงการโดยมีมูลค่าโครงการณราคาปัจจุบัน224,500 ล้านบาทและอีก50 ปีข้างหน้าโครงการจะกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐคาดมูลค่าในขณะนั้นกว่า300,000 ล้านบาท โดย รฟท.จะลงนามในสัญญากับนิติบุคคลเฉพาะกิจที่ภาคเอกชนต้องจัดตั้งขึ้นมากลางเดือนมิ.ย.นี้ คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ต้นปี 2567 ขณะเดียวกัน ครม.เห็นชอบให้จัดตั้งหน่วยงานเพื่อติดตามกำกับและบริหารจัดการสัญญาร่วมลงทุนของโครงการพร้อมทั้งกรอบอัตรากำลังและกรอบวงเงินค่าใช้จ่ายโดยต้องเริ่มทำงานทันทีที่สัญญาร่วมลงทุนโครงการมีผลคาดว่าประมาณเดือนก.ค.62 ไฮสปีดเทรนด์ถือเป็นโครงการอภิมหาโปรเจคต์ระดับชาติและกว่าจะผ่านมาถึงวันที่28 พฤษภาคมที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติต้องถูกสกัดจากผู้ไม่หวังดีหลายทางโดยจะเห็นได้จากมีสื่อบางสำนักจ้องสาดโคลนโจมตีให้ข้อมูลที่บิดเบือนไปจากข้อเท็จจริงสร้างความเกลียดชังให้เกิดขึ้นกระแสสังคมรวมถึงมีความพยายามที่จะล้มโครงการให้ได้โดยให้สหภาพรถไฟออกมาคัดค้านหวังที่จะให้รัฐบาลใหม่ที่มีพรรคการเมืองบางพรรคที่จะเป็นพรรคร่วมรัฐบาลเข้ามาแทรกแซงต่อรองผลประโยชน์กัน.... แต่แล้วต้องล้มไป!! สำหรับเอกชนที่เข้ามารับสัมปทานโครงการไฮสปีดเทรนด์เชื่อม 3 สนามบินตามที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบถือเป็นความเสียสละที่ภาคเอกชนกับรัฐจะร่วมพัฒนาประเทศอย่างแท้จริงแม้ว่าโครงการนี้จะต้องเสี่ยงกับการขาดทุนและอัตราผลตอบแทนคืนต้องใช้เวลานาน40 ปีเป็นอย่างต่ำ และเพื่อเพิ่มศักยภาพและความแข็งแกร่งกลุ่มที่ชนะการประมูลยังเอาผู้ร่วมทุนอย่างอิตาลีที่เป็นผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีเรื่องรถไฟฟ้ามาพัฒนาประเทศรวมถึงผู้ร่วมทุนที่เป็นจีนยังเป็นสถาบันการเงินระดับโลกเช่นกันที่จะมาสนับสนุนด้านการการลงทุนที่ต้องใช้มากกว่า2แสนล้านบาทแสดงให้เห็นว่าโครงการอภิมหาโปรเจ็กต์ช่วยดึงเม็ดเงินเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนไทยซึ่งจะส่งผลถึงภาพรวมเศรษฐกิจไทยต่อไป ทั้งนี้ยังไม่นับรวมหลังจากโครงการสร้างเสร็จจะถือเป็นการสร้างเส้นทางเชื่อมโยง logistics ในอนาคตต่อไปที่จะสร้างความเจริญและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้นตามไปด้วย นับเป็นมูลค่ามหาศาลทั้งที่เป็นตัวเลขที่วัดได้กับตัวเลขที่วัดไม่ได้อีกมากมายมหาศาลเพราะท้ายที่สุดแล้วผู้ที่ได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยจากโครงการอภิมหาโปรเจ็คต์ไฮสปีดเทรนด์เชื่อม3 สนามบินคือประชาชนและประเทศชาตินั่นเอง...