โดย อาจารย์ทอมมี่ ( พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน ) นักคณิตศาสตร์ประกันภัยและที่ปรึกษาบทภาพยนตร์เรื่อง “Love Battle รัก 2 ปี ยินดีคืนเงิน” – www.actuarialbiz.com กล่าวถึงเรื่องของความรัก เมื่อก่อนนั้นกว่าจะรู้ว่า ความรักจะไปรอดหรือร่วง ต้องใช้เวลาคบหาดูใจกันยาวนานถึง 7 ปี แต่ทำไมความสัมพันธ์ของบางคู่กลับไม่ยืนยาวขนาดนั้น เพราะจากสถิติทุกวันนี้แค่ 2 ปี ก็รู้ผลได้ทันที ! * ความรักกับวิทยาศาสตร์ * หลายคนอาจบอกว่าความรักเป็นเพราะพรหมลิขิต แต่งานวิจัยของ “เฮเลน ฟิชเชอร์” และผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมมนุษย์ ที่ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับความรักมากว่า 10 ปี เผยว่า “โดยเฉลี่ยแล้ว 2 ปี เป็นช่วงเวลาเหมาะสม หากคู่รักจะพัฒนาความสัมพันธ์ แต่ตัวเลขนี้ก็เป็นเพียงค่าเฉลี่ยเท่านั้น แต่ปัจจัยที่แท้จริงที่ทำให้คน 2 คน “แต่งงานกันหรือรักกัน” ไม่ได้มีแค่ “เวลา” อย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังประกอบไปด้วย บุคลิก นิสัยใจคอ ความคิด ความถี่ของการใช้ชีวิตร่วมกันด้วย สุดท้ายความรัก จึงเป็นเรื่องเฉพาะตัวของแต่ละคนที่ต้องหาคำตอบในแบบที่เหมาะสมของตัวเอง เพราะสารเคมีในสมอง และเมื่อศึกษาลึกลงไปจะทำให้เข้าใจว่า ทำไมพอหมดช่วงโปรโมชั่นถึงหมดความโรแมนติก ทำไมบางคู่ถึงได้เลิกกัน และทำไมบางคู่ถึงได้คบหากันไปจนถึงขั้นแต่งงาน มาไข “ความลับ” ของ “ความรัก” ด้วยวิทยาศาสตร์และการเก็บสถิติ พร้อมวิธีรักษาความสัมพันธ์ไม่ให้หมดโปรเป็นของแถม * สมองของวัยรุ่นเมื่อมีความรัก * อยากรู้ไหมว่าทำไมเราถึงได้งอแงเวลามีความรัก มักจะอิจฉาคู่รักที่เป็นผู้ใหญ่ มันไม่ได้แปลว่าเราเด็ก หรือไม่เข้าใจความรักหรอกนะ แต่เป็นเพราะสมองส่วนหน้ายังพัฒนาไม่เต็มที่ เลยทำให้มีอาการงอแงบ้าง .. อายุ 15-18 ปี สมองส่วนหน้ายังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้หงุดหงิดง่าย เจ้าอารมณ์ ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล .. อายุ 25 ปีขึ้นไป สมองส่วนหน้าพัฒนาเต็มที่ ทำให้คิดหน้าคิดหลัง ใจเย็น มีเหตุผล มีความเป็นผู้ใหญ่ * ความรัก = สารเคมี * มีสารเคมีที่เป็นตัวเอกในเรื่องรักโรแมนติกอยู่ 6 ตัวที่เราต้องรู้ จากการวิจัยของ เฮเลน ฟิชเชอร์ นักมานุษยวิทยาที่เชี่ยวชาญเรื่องรักโรแมนติก พบว่า ถ้ามีฮอร์โมนเหล่านี้มาก คู่รักจะรักกันมาก ถ้ามันเริ่มลดลงนั่นแปลว่า คู่รักจะเริ่มเหินห่างหรืออยากเทกัน - โดพามีน (Dopamine) ฮอร์โมนแห่งการสร้างความรู้สึกปลาบปลื้ม หลงรัก - เอสโตรเจน (Estrogen) ฮอร์โมนเพศหญิงมีบทบาทสร้างเสน่ห์แบบผู้หญิง - เทสโทสเตอโรน (Testosterone) ฮอร์โมนเพศชายมีบทบาทดึงดูดเพศตรงข้าม - อะดรีนาลีน (Adrenaline) ฮอร์โมนแห่งความสุขจากความรัก - เซโรโทนิน (Serotonin) ฮอร์โมนแห่งความรักลึกซึ้ง อบอุ่น มีเหตุผล - ออกซิโทซิน ( Oxytocin) ฮอร์โมนแห่งความสุขจากการได้สัมผัสคนรัก * ทำไมเราถึงนก โดนเททุกที * การโดนเท คือ การที่คุยกันอยู่ดี ๆ อีกฝ่ายก็หายไป ไลน์ไม่ตอบ ขาดการติดต่อ ไม่มีแม้แต่คำบอกลา คำตอบก็คือ คนเราทุกคนมีสเปคในใจที่เกิดจากภูมิหลังประสบการณ์ สิ่งที่ขาด และสิ่งที่ต้องการ สิ่งที่เหมือนหรือต่างกัน แรกๆ อาจดึงดูดกันได้ แต่ถ้าไม่ผ่านสเปคที่ตั้งไว้ในใจ ก็จะโดนเทโครม เพราะฉะนั้นไม่มีใครผิดถูก มันเป็นเรื่องของความเข้ากันไม่ได้นั่นเอง 1. ช่วงตกหลุมรักขึ้นไม่ไหว 3 นาทีแรก ฮอร์โมนเด่น = ฮอร์โมนเพศ - โดพามีน - อะดรีนาลีน  ช่วงเวลาที่เราปิ๊งใคร นอกจากจะเป็นเรื่องของพรหมลิขิตแล้ว ด้านวิทยาศาสตร์คือ เรื่องของฮอร์โมนเพศของคนสองคนที่ดึงดูดกันพอดีเป๊ะ ซึ่งมันใช้เวลาเพียง 3 นาทีเท่านั้น ก่อนสารโดพามีนและอะดรีนาลีนจะมิกซ์กันอย่างพอดี หลั่งออกมาให้รู้สึกว่าคนนี้ใช่! ไออาการหัวใจเต้นแรงเวลาเจอคนที่ใช่ ก็เพราะฮอร์โมน 3 ตัวนี้เลย   ฮอร์โมนแห่งรักแรกพบ ฮอร์โมนเพศ ได้แก่ เทสโทสเตอโรนและเอสโตรเจน ปล่อยความมีเสน่ห์ต่อเพศตรงข้าม       โดพามีน ทำให้รู้สึกดี ตื่นตัว หมกมุ่น มีความสุข   อะดรีนาลีน ทำให้ใจเต้นแรง เหงื่อแตก ทำตัวไม่ถูก   * ทำไมเราถึงรักคนนี้ไม่รักคนอื่น * ที่บอกว่าเนื้อคู่มักหน้าตาคล้ายกัน จริง ๆ แล้ว คนเรามักจะมองหาคนที่มีบางสิ่งคล้ายตัวเองต่างหาก เฮเลน ฟิชเชอร์ นักมานุษยวิทยา พยายามที่จะหาเหตุผลมาอธิบายว่า ทำไมเราถึงรักคนนี้ไม่รักคนอื่นได้คร่าว ๆ ดังนี้ - มาจากฐานะทางบ้านใกล้เคียงกัน - มีความฉลาดเท่ากัน - มีระดับความแข็งแรง หน้าตาดีพอกัน - มีค่านิยมทางศาสนาเหมือนกัน - มีประสบการณ์ในวัยเด็กคล้ายกัน 2. ช่วงโปรโมชั่น 1 ถึง 5 เดือนแรก ฮอร์โมนเด่น = โดพามีน - อะดรีนาลีน - เซโรโทนิน เป็นช่วงที่ทำให้ชีวิตรักเราสดใส เพอร์เฟคที่สุด เอาแต่นั่งฝันเพ้อ ละเมอถึงคนรัก รู้สึกอิ่มอกอิ่มใจ มีพลังเยอะ เขาหรือเธอทำอะไรก็น่ารักไปหมด อยากลองทำอะไรที่เขาชอบ รวมถึงการมองข้ามข้อเสียต่าง ๆ ของคนรักไปด้วย ฮอร์โมนแห่งความรัก - โดพามีน ทำให้มีความสุข มีพลังเยอะ กระตุ้นอยากทำทุกอย่างให้เขารักตอบ - อะดรีนาลีน ทำให้เขินอาย ประหม่า หน้าแดง หัวใจเต้นแรง ทำตัวไม่ถูกต่อหน้าคนที่ชอบ - เซโรโทนิน ทำให้คิดถึง เหงา กระวนกระวายเพราะรัก 3. ช่วงหมดโปรโมชั่น เข้าเดือนที่ 5 ฮอร์โมนเด่น = โดพามีน - ออกซิโทซิน  ช่วงหมดโปรโมชั่นในแง่ของวิทยาศาสตร์ไม่ได้แปลว่าเรากำลังหมดรักกันนะ แต่เป็นเพราะสารเคมีในสมองเริ่มจะหมดอายุขัยต่างหาก ร่างกายจะเริ่มดื้อ และเคยชินกับสารเคมีในช่วงตกหลุมรัก ทำให้เลิกคุยโทรศัพท์ยันเช้า ข้อเสียที่เคยรับได้ก็อาจรับไม่ได้ เป็นช่วงที่หลายคู่ต้องเลือกระหว่างจะเลิกหรือไปต่อดี ฮอร์โมนที่ทำให้หมดรัก ในช่วงนี้ควรหมั่นเติมสารเคมีให้กับความรัก เพราะถ้าปล่อยให้มันหมด ก็แปลว่าหมดรักนั่นเอง - เพิ่มโดพามีน โดยการสร้างเซอร์ไพรส์ ทำอะไรที่คาดไม่ถึงให้กันบ่อย ๆ - เติมออกซิโทซิน โดยการสัมผัสกัน กอดกัน จับมือกัน เพื่อเพิ่มความผูกพัน - หาขนมหวานกิน ก่อนจะทะเลาะกัน เพราะถ้าน้ำตาลในเลือดน้อยเวลาทะเลาะจะยิ่งโมโห * ทำไมบางคนถึงเจ้าชู้จัง * เฮเลน ฟิชเชอร์ นักมานุษยวิทยา ได้อธิบายว่าทำไมคนเราถึงได้นอกใจกันไว้อย่างน่าสนใจว่า สมองในส่วนของความรักมีอยู่ 3 ระบบคือ ความใคร่ ความผูกพันทางอารมณ์ และความรักโรแมนติก ถ้าทั้ง 3 ระบบนี้ ไม่ได้อยู่ในตัวคนที่เรารักคนเดียว เช่น คุณมีรักโรแมนติกอยู่กับคนนี้ แต่กลับไปมีความใคร่กับอีกคน สุดท้ายถ้าไม่มีศีลธรรมยับยั้ง ก็จะเกิดการนอกกาย นอกใจกันในที่สุด 4. ช่วงผูกพัน หลัง 6 เดือน ถึง 1 ปี ฮอร์โมนเด่น = ออกซิโทซิน - วาโซเพรสซิน   รักในช่วงนี้จะไม่หวือหวา แต่จะกลายเป็นรักความผูกพันอันแข็งแรง อบอุ่น อยากดูแล หากคู่รักผ่านด่านช่วงหมดโปรโมชั่นมาได้ ฮอร์โมนแห่งรักจะกลายเป็นฮอร์โมนแห่งความผูกพันอย่างที่เรามีให้เพื่อนหรือคนในครอบครัวนั่นเอง ฮอร์โมนแห่งรักผูกพัน   - ออกซิโทซิน หรือ สารเคมีที่เกิดจากการได้คลอเคลียกับคนรัก การกอด สัมผัสคนรัก ทำให้รู้สึกอยากปกป้องดูแล ให้อีกคนมีความสุข เหมือนที่แม่รักลูก   - วาโซเพรสซิน หรือ สารเคมีรักเดียวใจเดียว ทำให้รักกันลึกซึ้ง รักแบบผู้ใหญ่ ไม่หึงหน้ามืดตามัว มีสติมากขึ้น   (ซ้าย) อาจารย์ทอมมี่ -  พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน จากบทสรุปทั้งหมดที่กล่าวมา “ความรัก” ไม่ว่าตอนเกิดขึ้นมันจะเร่าร้อนขนาดไหน แต่สุดท้ายก็ต้องมอดลงอยู่ดี ไม่ต้องดูถึง 7 ปี ก็รู้ว่าความรักจะรอดหรือร่วง อย่างเร็วๆ นี้ทางบริษัท ซีเจ เมเจอร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ (CJ MAJOR Entertainment) และผู้กำกับภาพยนตร์ คุณวิรัตน์ เฮงคงดี (โจ้) ได้สร้างภาพยนตร์ที่เปิดตัวในชื่อ “Love Battle รัก 2 ปี ยินดีคืนเงิน” ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับถึงการคำนวณความสัมพันธ์ของคู่รัก โดยมี “แทน” นักคณิตศาสตร์ประกันภัย (แอคชัวรี) ผู้หาค่าสถิติประกันภัย ที่คำนวณแม้กระทั่งความสัมพันธ์ของคู่รัก หลังจากถูกแฟนสาวของเขาหักหลังอย่างเจ็บปวด ก็เกิดปิ๊งไอเดียประกันภัยรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “Love Insurance” หรือ กรรมธรรม์ประกันรักแท้ 2 ปี ทวีทรัพย์ ซึ่งเป็นแบบประกันที่รับประกันเงินคืน 100% พร้อมผลตอบแทนอีก 30% สำหรับคู่รักผู้ถือกรมธรรม์ หากพวกเขาไม่เลิกกันภายในเวลา 2 ปี หลังจากวันที่กรมธรรม์มีผลบังคับใช้ หลังจากเปิดตัวแนวคิดประกันรูปแบบดังกล่าว ก็ได้รับความสนใจมากมาย แต่บริษัท ต้องการให้เขาค้นหาข้อมูลเพื่อพิสูจน์ว่าผู้ถือกรมธรรม์ส่วนใหญ่จะเลิกกันในไม่ช้าก่อนจะถึงเวลา 2 ปีตามสัญญา โดยมี “จี๊ด” อดีตพนักงานบริษัทจัดหาคู่ ที่ถูกย้ายมาอยู่ในทีมนักคณิตศาสตร์ประกันภัย (แอคชัวรี) ของ “แทน” ช่วยรวบรวมข้อมูลให้ แต่เธอเป็นผู้หญิงที่เชื่อว่าความรักไม่สามารถคำนวณหรือวัดได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความเชื่อของ “แทน” ในขณะที่พวกเขาออกเดินทางเพื่อค้นหาคำตอบว่าผู้ถือกรมธรรม์จะเลิกกันหรือไม่ “Love Battle รัก 2 ปี ยินดีคืนเงิน” พาไปดูการต่อสู้ของพวกเขาที่มีเดิมพันเป็นศักดิ์ศรีก็ได้เริ่มต้นขึ้น สำหรับใครที่อยากติดตามหรือเรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพ “นักคณิตศาสตร์ประกันภัย (แอคชัวรี)” นี้ ว่าความรักจะสามารถคำนวณหรือวัดผลออกมาเป็นตัวเลขได้หรือไม่ แน่นอนว่า “ความรัก” คงไม่มีสูตรสำเร็จใดจะให้คำตอบเราได้เท่ากับการได้สัมผัสด้วยตัวของเราเอง กับภาพยนตร์เรื่อง “Love Battle รัก 2 ปี ยินดีคืนเงิน” 20 มิถุนายนนี้ ทุกโรงภาพยนตร์ใกล้บ้านคุณ ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://actuarialbiz.com/th/knowledgedetails/153