อธิบดีปศุสัตว์ ลั่นรมว.เกษตรฯ ไม่รับเงินหัวคิวแม้แต่สลึงเดียว จัดโควตา นมโรงเรียน ขู่กลับเจอตรวจสอบแหล่งที่มาของน้ำนมดิบผ่านคุณภาพหรือไม่ หากม็อบประท้วงเทนมทิ้ง โดนตัดสิทธิทันที ชี้ผิดคุณสมบัติเงื่อนไขได้โควตานมโรงเรียน ระบุชัดต้องรับผิดชอบรับซื้อนมดิบเกษตรกร 365 วัน เมื่อวันที่ 23 พ.ค.62 นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน เปิดเผยกรณีกลุ่มสหกรณ์โคนม ขู่นำเกษตรกรมาประท้วงเทนมทิ้ง เพราะโควตาส่งนมโรงเรียนลดลงส่งผลปริมาณน้ำนมดิบเหลือวันละ110ตันหรือเดือนละ 3 พันตัน และระบบจัดสรรสิทธิใหม่เปิดกว้างมากเกินไปแม้กลุ่มผู้ประกอบการที่ไม่มีนมดิบในมือยังได้โควตา นั้นยืนยันว่าไม่มีการเอื้อประโยชน์ให้รายใด ทั้งรมว.เกษตรฯไม่รับเงินแม้แต่สลึงเดียว หรือเรียกรับหัวคิวกล่องละ10-50สตางค์ จะไม่เกิดขึ้นอย่างเด็ดขาด ในครั้งนี้ทำทุกอย่างด้วยความโปร่งใส โดยการปฏิรูปนมโรงเรียนทั้งระบบใช้งบ 1.4 หมื่นล้านบาทต่อปี เป็นไปตามการเสนอแนะของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้แก้ปัญหาการทุจริต และมีผลประโยชน์ทับซ้อน จะเกิดปัญหาซ้ำรอยเหมือนโครงการจำนำข้าวได้ถ้าผู้มีหน้าที่รับผิดชอบละเลยไม่แก้ไข และจะต้องไม่มีผู้มีส่วนได้เสียนั่งเป็นคณะกรรมการบริหารโครงการนมโรงเรียน ทั้งนี้ นายกฤษฏา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เร่งรัดทำแผนปฏิรูปเสนอครม.ผ่านมติตั้งคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กแยะเยาวชน เพื่อแยกการบริหารจัดการนมโรงเรียน ออกจากคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม(มิลค์บอร์ด)ให้ทำหน้าที่ตรวจสอบ ซึ่งการจัดสรรโควตา จึงไม่ผ่านมิลค์บอร์ด โดยระบบใหม่นี้กระจายการจัดโควตาไปให้กับ5กลุ่มภูมิภาคที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานอนุกรรมการอาหารนมฯในพื้นที่มีเกษตกรเลี้ยงโคนมจำนวนมาก แทนการพิจารณาในมิลค์บอร์ด รวมทั้งรัฐธรรมนูญฉบับปี60 กำหนดให้การค้าเป็นธรรมไม่ผูดขาด “คณะกรรมการอาหารนมฯจัดสรรสิทธิยึดประโยชน์เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ป้องกันไม่ให้เกษตรกรเดือดร้อนจากนมดิบล้นและเด็กนักเรียนเป็นหลัก ซึ่งในเทอมนี้มีผู้ประกอบการได้โควตา 65 ราย ทุกรายได้โควตาลดลงเพราะจำนวนเด็กนักเรียนน้อยลงกว่าปีที่แล้ว ถึง 4.6 หมื่นคน พร้อมกับได้ทำความเข้าใจอย่างชัดเจนกับทุกกลุ่มก่อนจัดโควตาเพื่อจัดส่งนมให้ทันโรงเรียนเปิดเทอมเด็กทุกคนต้องได้ดื่มนม ตามข้อสั่งการของนายกฤษฏา ซึ่งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องบูรณาการร่วมกันอย่างเต็มที่ทำให้เด็กนักเรียนได้ดื่มนม95%ในวันเปิดเทอมและครอบ 100% ทั่งประเทศในวันนี้ (23พ.ค.62)โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ ได้รับนมแล้วแม้โรงเรียนอยู่บนเกาะต่างๆ นับว่าเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของนมโรงเรียน จากที่ผ่านมาล่าช้าหลายสัปดาห์กว่านมจะไปถึงมือเด็กในพื้นที่ห่างไกล”อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าว ก่อนหน้านี้ ได้ชี้แจงกับผู้ประกอบการ สหกรณ์โคนม ศูนย์รวบรวมนมดิบ และเกษตรกร ได้เข้าใจตามประกาศหลักเกณฑ์ใหม่ของคณะกรรมการอาหารนมฯอย่างชัดเจน โดยต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด7ข้อคุณสมบัติของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมจำหน่ายนมโรงเรียน คือ 1.มีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน 2.มีใบอนุญาตผลิตอาหาร 3.มีใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร หรือใบจดทะเบียนอาหาร 4.มีใบรับรอง GMP จาก อย. และมีผลผ่านการตรวจวิเคราะห์คุณภาพนมโรงเรียนจากกระทรวงสาธารณสุข 5.ใช้น้ำนมโคจากศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบที่ผ่าน GMP จากกรมปศุสัตว์และน้ำนมโคต้องมีคุณภาพตามมาตรฐานที่หลักเกณฑ์ฯ กำหนด 6.มีสัญญาซื้อขายระหว่างเกษตรกรกับศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ และสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ประกอบการกับศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ และ7.ต้องส่งแผนและคำรับรองในการบริหารจัดการน้ำนมโค ที่มีแผนการตลาดรองรับปริมาณน้ำนมโคของศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบคู่สัญญาและของตนเอง และรับผิดชอบน้ำนมโคของศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบคู่สัญญาตลอด 365 วัน โดยผู้ประกอบการทุกรายต้องปฏิบัติตามสัญญาที่ได้รับโควตาไปแล้ว ประเด็นสำคัญทั้งสหกรณ์โคนม ผู้ประกอบการ ศูนย์รวบรวมนมดิบ จะต้องมีแผนล่วงหน้าในการบริหารนม หากนำนมมาเททิ้ง จะตรวจสอบว่านำนมมาจากแหล่งใด ผ่านคุณภาพหรือไม่ อาจโดนตัดสิทธิ เพราจะผิดสัญญาในเงื่อนไขคุณสมบัติที่เข้ารับโควตานมโรงเรียนทันที โดยสหกรณ์ต้องพัฒนาศักยภาพสามารถนำน้ำนมดิบไปเข้าตลาดนมพาณิชย์ได้ เพิ่มโอกาสช่องทางจำหน่ายนอกจากการส่งนมโรงเรียนด้วย และการรับซื้อน้ำนมดิบจากแหล่งที่มีคุณภาพดีผ่านการรับรองของกรมปศุสัตว์ ได้ตลอดทั้งปีจากเกษตรกรในมาตรการป้องกันนมดิบล้นตลาด โดยเด็กนักเรียนกว่า 7.4 ล้านคน ได้ดื่มนมทุกวันผลิตจากนมโคแท้ๆ260วันเป็นหัวใจหลักของโครงการนมโรงเรียน นอกจากนี้ในปี2568 ภาษีนำเข้านมผงเป็นศูนย์ จากมาตรการเปิดเอฟทีเอ ไทย-ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นสิ่งที่ท้าทายที่ทุกฝ่ายทั้งรัฐและเอกชนต้องร่วมมือสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนกับเกษตรกรไทย ในอดีตมีปัญหานมตกเกรด โควตาลม ซึ่งการบริหารรับซื้อนมจากเกษตรกรต้องครบ 365วัน รวมทั้งเด็กนักเรียนลดลงทุกปี จึงมาปฏิรูประบบนม อีกทั้งปปช.ทำเป็นหนังสือระบุโครงการนมโรงเรียนไม่โปร่งใส การขนส่งมีปัญหา ถ้าไม่แก้ไขจะเป็นกรณีโครงการจำนำข้าว และต้องไม่มีผู้ประกอบการ ตัวแทนกลุ่มสหกรณ์ เกษตรกร ไม่มานั่งเป็นคณะกรรมการ ได้ปรับแก้ใช้กฏหมายพันธะสัญญามีบทลงโทษชัดเจนเพื่อป้องกันการจดแจ้งปริมาณนมเท็จ จากเมื่อก่อนใช้เพียงเอ็มโอยู ในการรับซื้อนมระหว่างสหกรณ์ กับผู้ประกอบการ และใช้ปริมาณรับซื้อนมดิบไปแลกโควตานำเข้านมผงในอัตราภาษีต่ำ “น้ำนมดิบทั้งประเทศ 3.3 พันตันต่อวัน แบ่งเป็น 3 กอง เข้านมโรงเรียนกว่า 1.1พันตัน ที่เหลือเข้านมพาณิชย์ และบริษัทใหญ่รับซื้อนมดิบเพื่อนำไปแลกโควตานำเข้านมผง มีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมกว่า 2 หมื่นราย โคนมกว่า6แสนตัว มาที่ศูนย์รวบรวม น้ำนมดิบ มี200ศูนย์ ทั่วประเทศ ผ่านรับรองจีเอ็มพี และผ่านตัวรับรอง คุณภาพน้ำนม กรมปศุสัตว์ สุ่มตรวจทั่วประเทศ เดือนละ 1 ครั้ง ส่วนโครงนมโรงเรียนรัฐให้งบ7บาทเฉลี่ยต่อหัวเด็กนักเรียน/กล่อง/ถุง ผู้ประกอบการนมโรงเรียน ต้องมีสัญญากับศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ รับซื้อจากเกษตรกร”นายสัวตแพทย์สรวิศ กล่าว