ทรงสร้างประโยชน์สุขสู่ปวงประชา “1.มีทัศนคติที่ดีและถูกต้อง 2.มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงเข้มแข็ง 3.มีงานทำ มีอาชีพ 4.เป็นพลเมืองดีมีระเบียบวินัย” พระบรมราโชบายพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวด้านการศึกษาพื้นมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน ๔ ด้าน เกริ่นไว้ตอนที่แล้วว่ามีโครงการ “จัดฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือหลักสูตร วิชาผู้กำกับลูกเสือวิสามัญ ขั้นความรู้เบื้องต้น (R.B.T.C.) ผสมขั้นความรู้ทั่วไป”โดย สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ร่วมกับคณะกรรมการพัฒนากิจการลูกเสือ เนตรนารีวิสามัญอาชีวศึกษา (พ.ส.น.อ.) ภาคตะวันออกและกรุงเทพหานคร โดยสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3 วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา และสำนักงานลูกเสือจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีนายบุญลือ ทองเกตุแก้ว ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี เป็นประธานในพิธีเปิด ซึ่งจัดขึ้นเมื่อช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2562ที่ผ่านมา ณ ค่ายศรีกะอางแคมป์ อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก นายบุญลือ ทองเกตุแก้ว ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรีประธานอาชีวศึกษาภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า สอศ. จัดการฝึกอบรมบุคลากรทางการลูกเสือหลักสูตรวิชาผู้กำกับลูกเสือฯ ให้กับบุคลากรในสังกัด เพื่อส่งเสริม และพัฒนา ครูและบุคลากรอาชีวศึกษา ให้เป็นผู้ที่มีวินัย มีความรับผิดชอบ มีจิตอาสา รู้จักเสียสละรู้จักให้เพื่อประโยชน์สังคมส่วนรวม ตระหนักถึงการฝึกฝนคุณธรรมที่ดีงามให้เกิดขึ้นในสำนึกเพื่อนำถ่ายทอดสู่คนอื่นเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชน นักเรียนนักศึกษาสังกัดสถานศึกษาอาชีวะทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศเกือบพันแห่ง เป็นแบบอย่างที่ดีของเยาวชนของสังคมของคนทั่วไปในความเป็นต้นแบบความเป็นคนดี ซึ่งความเป็นคนดีนั้นจะก่อให้เกิดความก้าวหน้าในวิชาชีพ ในอาชีพในการดำเนินชีวิต อีกทั้งยังทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดความรู้ ความเข้าใจ ซึมซับในวัตถุประสงค์และวิธีการฝึกอบรมเยาวชนตามกระบวนการลูกเสือในการฝึกอบรมแบบใหม่ตามแนวสำนักงานลูกเสือโลก ซึ่งจะได้รับความรู้และประสบการณ์ในเรื่องต่าง ๆ เช่น การอยู่อาศัยร่วมกัน การทำงานเป็นทีม ความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อตนเอง และส่วนรวม การตรงต่อเวลา ความสามัคคี ความมีวินัย เป็นต้น สนองพระบรมราโชบายด้านการศึกษาสร้างพื้นฐานของผู้เรียนเพื่อสร้างคนให้บ้านเมืองในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นายบุญลือ ทองเกตุแก้วบอกอีกว่าผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องนำความรู้ ประสบการณ์ที่ได้รับกลับไปพัฒนาเยาวชนในสถานศึกษาตามกระบวนการลูกเสือในการฝึกอบรมแบบใหม่ตามแนวสำนักงานลูกเสือโลกแล้ว และยังต้องพัฒนาเยาวชนทั้งทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคม ให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ สร้างสรรค์สังคมให้สงบสุข ทำให้ประเทศชาติมีความมั่นคงและสร้างระเบียบวินัยอันก่อให้เกิดความสามัคคีของหมู่คณะ สร้างคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และร่วมกันจรรโลงกิจการอันทรงคุณค่านี้ให้ดำรงอยู่คู่กับชาติตลอดไป ในคราวนี้มีสถานศึกษา สังกัด สอศ. ภาครัฐเข้าร่วมโครงการ ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคนนทบุรี วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน วิทยาลัยการอาชีพวังน้ำเย็น วิทยาลัยการอาชีพพนมสารคาม วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ วิทยาลัยอาชีวศึกษาฉะเชิงเทรา วิทยาลัยสารพัดช่างนครหลวง วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี วิทยาลัยการอาชีพนครนายก วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง วิทยาลัยเทคนิคบางแสน วิทยาลัยเทคนิคพัทยา กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทอง วิทยาลัยเทคนิคชัยนาท วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา วิทยาลัยเทคนิคจันทบุรี วิทยาลัยสารพัดช่างปราจีนบุรี วิทยาลัยเทคนิคนครนายก วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยา และ วิทยาลัยเทคนิคจุฬาภรณ์ (ลาดขวาง) สถานศึกษาสังกัด สอศ. ภาคเอกชน ได้แก่ วิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการนวัตกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีเซนต์เทเรซาบริหารธุรกิจ และวิทยาลัยเทคโนโลยีปทุมธานี มีครูและบุคลากรเข้ารับการอบรมจำนวน 116 คน เข้าร่วมการอบรม เสกสรร สิทธาคม [email protected]