ทรงสร้างประโยชน์สุขสู่ปวงประชา “1.มีทัศนคติที่ดีและถูกต้อง 2.มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงเข้มแข็ง 3.มีงานทำ มีอาชีพ 4.เป็นพลเมืองดีมีระเบียบวินัย”พระบรมราโชบายพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวด้านการศึกษาพื้นมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน ๔ ด้าน กิจกรรมลูกเสือมีวัตถุประสงค์สรุปอย่างย่อก็เพื่อจะพัฒนาเยาวชนที่เข้ามาสู่รั้วสถานศึกษา โดยการอบรม ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้เป็นแม่แบบความเป็นคนดีเป็นพลเมืองดี ผ่านวิถีปฏิบัติในชีวิตประจำวันในหน้าที่รับผิดชอบถ่ายทอดรูปธรรมความดี คือมีความรับผิดชอบ รู้จักให้ รู้จักเสียสละ มองประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ปลูกฝังความรักความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ให้กันและกันอย่างต่อเนื่องรุ่นแล้วรุ่นเล่า เพื่อผลิตบุคคลคนดีมีคุณธรรม เป็นกำลัง ช่วยสร้างสรรค์สังคมประเทศชาติ ให้เป็นคนดีของครอบครัวของชุมชน เป็นพลังร่วมสร้างให้มีความเจริญก้าวหน้าตามวิถีชีวิตวัฒนธรรมประเพณีไทยที่ดีงามยึดเดินตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร พระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรสนองพระบรมราโชบายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานไว้เพื่อเป็นรากฐานการน้อมนำสู่การปฏิบัติเพื่อนำปลูกฝังหล่อหลอมอบรมบ่มนิสัยบุลากรครูอาจารย์นักเรียนนักศึกษาในสังกัดอันได้แก่สถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาพัฒนาให้เป็นประชากรเป็นเยาวชนคนดีของบ้านเมือง 4 ด้าน “1.มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง ข้อนี้มีคำขยายว่า ต้องมีความรู้ความเข้าใจที่มีต่อชาติบ้านเมือง ยึดมั่นในศาสนา มั่นคงในสถาบันพระมหากษัตริย์ และมีความเอื้ออาทรต่อครอบครัวและชุมชนของตน 2.มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม ข้อนี้มีคำขยายว่า ให้รู้จักแยกแยะสิ่งที่ผิด-ที่ถูก สิ่งชั่ว-สิ่งดี เพื่อปฏิบัติแต่สิ่งที่ชอบที่ดีงาม ปฏิเสธสิ่งที่ผิดที่ชั่ว เพื่อสร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง 3.มีงานทำ มีอาชีพ ข้อนี้มีคำขยายว่า ต้องให้เด็กรักงาน สู้งาน ทำงานจนสำเร็จ อบรมให้เรียนรู้การทำงาน ให้สามารถเลี้ยงตัวและเลี้ยงครอบครัวได้ 4.เป็นพลเมืองดี ข้อนี้มีคำขยายว่า การเป็นพลเมืองดีเป็นหน้าที่ของทุกคน สถานศึกษาและสถานประกอบการต้องส่งเสริมให้ทุกคนมีโอกาสทำหน้าที่พลเมืองดี การเป็นพลเมืองดีหมายถึงการมีน้ำใจ มีความเอื้ออาทร ต้องทำงานอาสาสมัคร งานบำเพ็ญประโยชน์ “เห็นอะไรที่จะทำเพื่อบ้านเมืองได้ก็ต้องทำ” ผ่านโครงการอบรมลูกเสือของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เมื่อช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2562ที่ผ่านมา ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นต้นแบบทั้งการอบรมลูกเสือในคราวนี้และทุกคราวในโอกาสต่อไปโดยผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการดำเนินงาน คือ ผู้กำกับลูกเสือและรองผู้กำกับลูกเสือในสถานศึกษาทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งจะเป็นผู้ทำหน้าที่ฝึกอบรมลูกเสือและร่วมอบรมไปพร้อมกันด้วย ดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายและนโยบายที่กำหนด รวมทั้งผู้ที่จะทำหน้าที่ผู้อำนวยการฝึกอบรม หรือ วิทยากรให้การฝึกอบรมจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ในกระบวนการโดยเฉพาะการเน้นย้ำคุณธรรมจริยธรรมลูกเสืออย่างแท้จริง เสกสรร สิทธาคม [email protected]