จากเป้าหมายของ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ ในการกระตุ้นนักเดินทางไมซ์ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งสิ้น 35,982,000 คน สร้างรายได้ 221,500 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2562 นั้น ได้กำหนดเป็น นักเดินทางกลุ่มไมซ์ต่างประเทศ 1,320,000 คน สร้างรายได้ 100,500 ล้านบาท และนักเดินทางชาวไทยที่เดินทางเข้าร่วมงานไมซ์ในประเทศ 34,662,000 คน สร้างรายได้ 121,000 ล้านบาท โดยจะะเห็นได้ว่าในส่วนของ นักเดินทางไมซ์ในประเทศ มีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2561 ซึ่งมีนักเดินทางจำนวน 33,011,322 ราย มีค่าใช้จ่ายต่อคนต่อทริป 3,553 บาท ก่อให้เกิดรายได้ในระบบเศรษฐกิจ 117,301 ล้านบาท ถือว่ามีการเติบโตเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2560 คิดเป็นสัดส่วน 28.89% ซึ่งเป็นผลมาจากความแข็งแกร่งทางด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยอันเกิดมาจากการขยายตัวของการส่งออกและการท่องเที่ยวในระดับสูง ทำให้ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนมีความมั่นใจที่จะใช้จ่ายมากขึ้น รวมทั้งนโยบายส่งเสริมจากภาครัฐในการออกมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวและอบรมสัมมนาใน 55 เมืองรองให้สามารถลดหย่อนภาษีค่าใช้จ่ายจากการจัดประชุมสัมมนาได้ 100% พัฒนาพื้นที่ดึงดูดนักเดินทาง อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมไมซ์ โดยเฉพาะกลุ่มการประชุม ยังมีความจำเป็นต้องสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อดึงดูดนักเดินทางไมซ์คุณภาพเข้าสู่เมืองต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความต้องการจัดงานไมซ์ในประเทศและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของไมซ์ในประเทศ ดังนั้นทางทีเส็บ จึงริเริ่มโครงการศึกษาและวิเคราะห์ศักยภาพเส้นทางไมซ์ภายในประเทศ เพื่อส่งเสริมศักยภาพของอุตสาหกรรมไมซ์ภายในประเทศ หรือ Thailand 7 MICE Magnificent Themes มาตั้งแต่ปี 2559 เพื่อค้นหาเส้นทางใหม่ ๆ และพัฒนาสถานประกอบการและชุมชนสำหรับการจัดงานไมซ์ทั่วประเทศ สราญโรจน์ สุทัศน์ชูโต ทั้งนี้ นายสราญโรจน์ สุทัศน์ชูโต ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมตลาดในประเทศ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวเริ่มต้นจากการวิจัยศึกษาเมืองที่มีศักยภาพรองรับนักเดินทางไมซ์ ศึกษาต้นทุนทางวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ วิเคราะห์ศักยภาพและความสามารถทั้งด้านพื้นที่ สถานประกอบการ และชุมชน รวมถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคที่มีศักยภาพในการรองรับกลุ่มไมซ์และพัฒนาเป็นเส้นทางไมซ์ใหม่ ผ่าน 7 มุมมองที่วิจัยมาแล้วว่าเป็นแนวคิดเส้นทาง Top Hits ของกลุ่มไมซ์ทั้งนานาชาติและในประเทศ (Thailand 7 MICE Magnificent Themes) ได้แก่ 1.ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม 2.การผจญภัย 3.การสร้างทีมเวิร์ค 4.กิจกรรมซีเอสอาร์ และการประชุมเชิงอนุรักษ์ 5..กิจกรรมบรรยากาศชายหาด 6 การจัดงานและกิจกรรมหรูหรามีระดับ 7.การนำเสนออาหารไทยในทุกการจัดงานที่หลากหลาย รับพฤติกรรมองค์กรยุคใหม่ ซึ่งล่าสุด ฝ่ายส่งเสริมตลาดในประเทศ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือทีเส็บ ได้กำหนดแผนงานเพื่อสอดรับนโยบายดังกล่าว โดยร่วมกับ สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) จัดกิจกรรม สัมมนารอบกรุง โครงการสร้างการรับรู้สินค้าและบริการไมซ์ (โดเมสติก แฟม ทริป ) ประจำปี 2562 พร้อมนำผู้บริหารด้านทรัพยากรมนุษย์ (HR) จากองค์กรต่าง ๆ รวม 25 ราย เข้าร่วมโครงการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเองรูปแบบใหม่ในเส้นทางจังหวัดฉะเชิงเทรา ภายใต้แนวคิด Empower Yourself With A New Philosophy In The Global World กิจกรรมปั้นดิน อย่างไรก็ตาม นายสราญโรจน์ ยังกล่าวถึงการจัดกิจกรรมสัมมนารอบกรุงครั้งนี้ นอกจากจะเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางไมซ์ใหม่ แล้ว ยังเป็นการต่อยอดโครงการก้าวตามรอยพ่อ ประชุมเมืองไทย อิ่มใจตามรอยพระราชดำริ ตามโมเดลการจัดประชุมสัมมนาในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ด้วยแนวคิด 3พอ (พอเพียง เพิ่มพูน พัฒนา) เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้หน่วยงานภาคเอกชนจัดงานประชุมสัมมนาในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยนำศาสตร์พระราชาที่เป็นประโยชน์ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาบุคลากร หน่วยงาน องค์กร และอุตสาหกรรม ก่อให้เกิดการพัฒนาและกระจายรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่นมากขึ้น บ้านเมล่อน สำหรับสัมมนารอบกรุงครั้งนี้เลือก จังหวัดฉะเชิงเทราเป็นพื้นที่การจัดกิจกรรม เนื่องจากเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ใกล้กรุงเทพฯ สามารถเดินทางไปเช้า-เย็นกลับ และร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้ภายในหนึ่งวัน สอดรับกับพฤติกรรมคนรุ่นใหม่และองค์กรยุคปัจจุบันที่เริ่มค้นหาและเลือกสรรสถานที่จัดงานประชุมสัมมนาด้วยตนเองมากขึ้น มีความเหมาะสมสำหรับองค์กรต่าง ๆ ที่ต้องการจัดการประชุม และการท่องเที่ยวเพื่อรางวัล หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา อีกทั้งการจัดกิจกรรมสัมมนารอบกรุง ครั้งนี้เน้นผู้ร่วมโครงการ คือ ผู้บริหารด้านทรัพยากรมนุษย์ (HR) จากองค์กรต่าง ๆ เพราะถือเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญต่อการจัดโครงการประชุมและอบรมสัมมนาบุคลากรภายในองค์กร โดยนำบุคลากรออกมาเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ นอกสถานที่ ซึ่งเป็นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ ๆ ทั้งยังถือเป็นการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาในการนำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ ทั้งชีวิตประจำกัน การทำงาน และอื่น ๆ