นายสุพจน์ อาวาส รองโฆษกพรรคประชาชาติ ระบุว่ารู้สึกตกใจที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา จู่ๆออกมาประกาศต่อสื่อมวลชนว่าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ต้องดูแลกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลังและกระทรวงคมนาคม รวมถึง ต้องการให้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นรองนายกและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพราะการกระทำ ข้างต้น ขัดกับมาตรา 92 (3) และ มาตรา 28 แห่ง พ.ร.ป.รัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ที่ระบุว่า"ห้ามมิให้พรรคการเมืองยินยอมหรือกระทำการอันใดทำให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่สมาชิกพรรคกระทำการอันเป็นการควบคุม ครอบงำ หรือ ชี้นำกิจกรรมของพรรคการเมืองในลักษณะที่ทำให้พรรคการเมืองหรือสมาชิกขาดความอิสระ ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม" เพราะคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) สามารถยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อสั่งยุบพรรคพลังประชารัฐ ได้ หรือ พลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา อาจพลั้งเผลอและยังแยกไม่ออกว่า ขณะนี้ต้องเล่นบทอะไรที่ให้เหมาะกับสถานการณ์ " เรื่องนี้น่าจะมีมูลและเข้าข่ายควบคุม ครอบงำ หรือ ชี้นำ พปชร. เพราะในเวลาต่อมา คสช.ออกมาแก้เกี้ยวและระบุว่า พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา แค่เป็นห่วงและไม่มีนัยอะไรแอบแฝง" เข้าลักษณะโยนหินถามทางเพื่อดูว่าพรรคร่วมต่างๆจะมอง หรือ สะท้อนต่อท่าทีของพลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา ในฐานะผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีของ พปชร.อย่างไร" นาย สุพจน์ อาวาส กล่าวในที่สุด นอกจากนี้ นาย สุพจน์ อาวาส ยังกล่าวว่า (1) ความเป็นนายกรัฐมนตรีตามที่ได้รับการเสนอชื่อยังไม่เกิดแถมยังไม่มีการเลือก (2) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชายังมิได้เป็นสมาชิก พปชร. (แต่ถ้าเป็นก็ยิ่งน่าตกใจและแสดงว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมามีการใช้อำนาจรัฐหนุนเสริม พปชร.และส่งผลให้การเลือกตั้งหมิ่นเหม่ไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม หรือ เอื้อและอำนวยต่อ พปชร.) และ (3) หน้าที่ในการพิจาณาและเสนอชื่อ หรือ ฟอร์ม (form) ทีมฝ่ายบริหารเป็นหน้าที่ของหัวหน้าและกรรมการบริหาร รวมถึง สมาชิกพรรค ดังนั้น การที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกมาพูดภายใต้กรอบเวลาที่ไม่เหมาะสมและไม่อยู่ในสถานะที่ต้องพูด จึงไม่เห็นจะเป็นประโยชน์อะไร หรือ ว่าคุ้นชินและถือปฏิบัติเป็นปกติวิสัย