ทุกชีวิตต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยในการดำเนินชีวิต มนุษย์ พืช สัตว์ ทุกชีวิตจำเป็นต้องพึ่งพาสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา รวมถึงอากาศ เมื่ออากาศสะอาดแล้ว คุณภาพชีวิตเราก็จะดีมากยิ่งขึ้น ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่พวกเราจะร่วมช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อมกันแบบจริงๆ จังๆ เพื่อเก็บไว้ให้ลูกหลานได้เห็น เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติมีอย่างจำกัด และอากาศสะอาดเราสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิต และทำให้เราทุกคนมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน และด้วยวันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก และในปีนี้องค์การสหประชาชาติได้ให้ความสำคัญกับประเด็นปัญหามลพิษอากาศ สำนักโรคฯ จึงได้จัดโครงการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ “Clean Air for Health อากาศสะอาดเพื่อสุขภาพที่ดี” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงปัญหามลพิษอากาศ และหันมาใส่ใจ ดูแลสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม และยั่งยืน มลพิษทางอากาศ คือ ภาวะอากาศที่มีสารเจือปนอยู่ในปริมาณที่สูงกว่าระดับปกติเป็นเวลานานพอที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์ สัตว์ พืช หรือทรัพย์สินต่าง 1. เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ฝุ่นละอองจากลมพายุ ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว ไฟไหม้ป่า 2.เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ มลพิษจากท่อไอเสียของรถยนต์จากโรงงานอุตสาหกรรมจากขบวนการผลิตจากกิจกรรมด้านการเกษตรจากการระเหยของก๊าซบางชนิด ซึ่งเกิดจากขยะมูลฝอยและของเสีย เป็นต้น แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศที่สำคัญของประเทศไทย แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้ 1.แหล่งกำเนิดจากยานพาหนะ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน สารตะกั่วและก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 2. แหล่งกำเนิดจากโรงงานอุตสาหกรรม เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงและกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพอากาศในบรรยากาศและอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชนผลกระทบจากมลพิษอากาศ เกิดการเจ็บป่วยแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง เช่น โรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจส่วนต่างๆ โรคหลอดเลือดในสมอง โรคปอดอุดกั้นเรื้องรัง โรคหัวใจขาดเลือด เกิดความระคายเคืองของอวัยวะสัมผัสต่างๆ เช่น ตา หู จมูก ปาก เป็นต้น และอาจสร้างความเดือดร้อนรำคาญ กลุ่มเสี่ยงมลพิษทางอากาศเด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ตำรวจจราจรการป้องกันกรณีอยู่ในพื้นที่เสี่ยงมลพิษอากาศสวมหน้ากากที่ได้มาตรฐาน เลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงที่ค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน อยู่เหนือลมขณะหุงต้มอาหารที่ใช้หินและถ่านเราสามารถร่วมกันลดมลพิษอากาศได้ โดยการไม่เผาขยะ เผาป่า หรือเศษวัสดุทางการเกษตร หลีกเลี่ยงการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ร่วมกันใช้รถยนต์โดยสารสาธารณะ ที่มา: คลังความรู้อากาศ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, GREENPEACE, แผ่นพับความรู้เรื่องฝุ่น PM2.5 สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม