เกษตรฯ จ่อตั้งเกณฑ์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง ร้อยละ 3-6 ต่อเดือน คุมสหกรณ์ออมทรัพย์-เครดิตยูเนี่ยน 2 พันแห่ง และชุมนุมสหกรณ์ พร้อมกันเงินสำรองหนี้สูญทุกรายประกันความเสี่ยงแก่สมาชิก เมื่อวันที่ 15 พ.ค.62 นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นประธานเปิดเวทีรับฟังความเห็นต่อร่างกฏกระทรวง 13 เรื่องในเกณฑ์กำกับใหม่ สำหรับการดำเนินธุรกรรมการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ที่มีทุนดำเนินการมากกว่าและต่ำกว่า 5 พันล้านบาท เกือบ 2 พันแห่ง พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอร์เรนจากทั่วประเทศ เพื่อนำมาปรับปรุงก่อนออกกฏกระทรวง และทยอยบังคับใช้ภายใน 2 ปีนี้ โดยเบื้องต้น มีเกณฑ์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง ต้องปราศจากภาระผูกพันทุกรายการ ตามประกาศที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯกำหนด อาทิ ตั๋วสัญญา รวมทั้งอัตราดำรงสินทรัพย์สหกรณ์ ร้อยละ3รายเดือน ของเงินฝากทั้งหมด และชุมนุมสหกรณ์ ร้อยละ6 ภายใน3ปีของยอดเงินฝากทุกประเภท ส่วนเกณฑ์เงินลงทุน ในสหกรณ์ทุกประเภททั้งขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ มาตรา62(7)ต้องไม่เกินทุนเรือนหุ้นสหกรณ์ พร้อมออกเกณฑ์ธรรมมาภิบาล ให้สหกรณ์ทุกขนาดเปิดเผยข้อมูล ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องแจ้งผลประโยชน์ ที่ได้รับจากสหกรณ์ ข้อมูลสวัสดิการสมาชิกได้รับ เปิดเผยผลการประชุม เปิดเผยงบดุลแบบย่อเป็นรายเดือน และป้องกันการขัดกันของผลประโยชน์ ให้สหกรณ์ทุกขนาด ทำธุรกรรมใด ไม่ขาย ให้เช่า รับซื้อจากบุคคลใดที่เกินเงื่อนไขนายทะเบียนกำหนด พร้อมกับห้ามกรรมการสหกรณ์ มีพฤติกรรมส่วนร่วมกับสมาชิก ในการให้ธุรกรรม ปล่อยเงินกู้ ซึ่งจะมีถ้อยคำเขียนไว้ให้รัดกุมอีกครั้ง รวมทั้งเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดการบริการทางการเงินให้สมาชิกเข้าใจง่ายครบถ้วน การจัดชั้นความเสี่ยง เพื่อการกันเงินสำรอง อย่างเพียงพอ รองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับสินทรัพย์ แบ่งลูกหนี้ชั้นพิเศษ สำรองหนี้ไว้10% ชั้นปานกลาง20- 30% หนี้สงสัย50 % หนี้สงสัยจะสูญ100% ในบทเฉพาะกาลให้ตั้งเงินสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญทุกรายภายใน5ปี ให้เปิดเผยงบการเงินสหกรณ์ทุกขนาด เงินรอตรวจสอบ การจ่ายเงินไม่มีเอกสาร ที่ดินแทนการชำระหนี้รอขาย คำนวนมูลค่าหุ้นกรณีสหกรณ์ขาดทุนสะสม ให้ตั้งผู้ติดตามฐานะการดำเนินงาน การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง และกำหนดอัตราเงินปันผล สอดคล้องกันเกณฑ์ตลาดปัจจุบันไม่เกินร้อยละ8ต่อปี ด้าน นายสุรัตน์ จันทร์วันเพ็ญ ตัวแทนสหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานไทยคูราโบ จำกัด กล่าวว่า การมีเกฑณ์กำกับสถานะการเงิน สภาพคล่องเป็นเรื่องที่ดี แต่เกณฑ์ทั้งหมดจะนำไปใช้กับทุกสหกรณ์ ไม่ได้ เพราะจะคนมาเป็นกรรมการ ต้องไหว้วานกันมา และบางแห่ง นายจ้าง ก็อยากให้เลิกสหกรณ์ ยิ่งถ้ามีกฏเกณฑ์มากขึ้นทำให้วัตถุประสงค์ของสหกรณ์ที่ตั้งมาเพื่อช่วยเหลือกัน ทำไม่ได้ ถ้าต้องมีผู้เชี่ยวชาญไม่มีนายจ้างที่ไหนให้หยุดงานไปอบรม อีกทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายลงทะเบียน นอกจากนี้ การห้ามกรรมการ เข้าพิจารณาให้กู้ ถามว่าไปตั้งคนอื่นมาจะรู้เรื่องภายในสหกรณ์ หรือไม่ ถ้าต้องตั้งอนุกรรมการเพิ่มขึ้นอีก จากเดิมมีกรรมการ9คน เราต้องการประหยัดแต่กลับมาเพิ่มค่าใช้จ่าย รวมทั้งยังห้ามนำเงินฉาปนกิจ เงินประกันชีวิต มาพิจารณา เป็นการดำรงสินทรัพย์ จะเกิดเป็นปัญหาทุกแห่ง ดังนั้นการปรับปรุงกฏหมายสหกรณ์ ไม่ใช่มาควบคุมอย่างเดียว ต้องมองว่าทำอย่างไรให้สหกรณ์เดินไปได้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกดีขึ้น