ทรงสร้างความสุขสู่ปวงประชา นายจรัลธาดา กรรณสูตร องคมนตรีสนองพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงตั้งพระราชหฤทัย สืบสาน รักษา ต่อยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่พระราชทานไว้เพื่อประโยชน์สุขแก่ราษฎร โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้หน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องติดตามปรับปรุงพัฒนาให้เกิดประโยชน์แก่ราษฎรได้อย่างแท้จริงกว้างขวางเพื่อการพัฒนาอาชีพสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตมีความสุขอย่างยั่งยืนด้วยวิถีแห่งหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีความสุขอย่างยั่งยืน โดยเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมา ช่วงเช้านายจรัลธาดา กรรณสูตร องคมนตรีเดินทางไปติดตามขับเคลื่อนการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริใน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่10ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออันได้แก่โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.กกตูม อ.ดงหลวง จ.มุกดาหารและช่วงบ่ายเดินทางไปตรวจเยี่ยมติดตามการพัฒนาฝายห้วยไร่อันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต.กกมอน อ.เมือง จ.มุกดาหาร องคมนตรีกล่าวในครั้งนี้ว่าผลของการดำเนินงาน ติดตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ที่ทรงมี พระราชปณิธานสืบสาน รักษา ต่อยอด โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ดำเนินการโครงการที่ยังค้างอยู่ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 9 ให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ เพราะฉะนั้นตอนนี้สำหรับภาคอีสาน ที่รับผิดชอบอยู่กับท่านอำพล กิตติอําพล ก็แบ่งงานกันดูอยู่ก็พบว่าโครงการส่วนใหญ่จะสำเร็จลุล่วง ภายในประมาณ 3-4 ปีจากนี้ไป “สุดท้ายถ้าพูดถึงภาพรวม ของภาคอีสานที่ยังมีปัญหาอยู่นี่คือ เขตบริเวณโคราช ขอนแก่น กาฬสินธุ์ เพราะว่าเป็นเขตที่เป็นที่ราบไม่ค่อยมีภูเขา ฉะนั้นการสร้างอ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำใหญ่ๆโอกาสมันมีน้อยนะครับยกตัวอย่างว่าทั้งจังหวัดขอนแก่นก็มีแหล่งน้ำใหญ่ก็คือ เขื่อนอุบลรัตน์ ซึ่งเขื่อนอุบลรัตน์มีลักษณะแบน เก็บน้ำได้น้อยนะครับ ถึงแม้ว่าเราดูพื้นที่ผิวน้ำจะใหญ่โตนะครับแต่ว่าไม่นานน้ำก็จะหมดทั้งๆที่เพิ่งจะต้นฤดูแล้ง ก็จำเป็นที่จะต้องหาน้ำมาเติม โคราชก็ยังขาดน้ำเยอะนะครับโดยเฉพาะน้ำบริโภคก็มีเขื่อนลำตะคองเขื่อนลำตะคองนี่ก็เอาแน่เอานอนไม่ได้บางปีก็มีน้ำลงเยอะบางปีก็น้อย โดยเฉพาะน้ำลำตะคองมันไหลมาจากเขาใหญ่ เวลานี้รีสอร์ท ต่างๆโรงแรม แล้วก็บ้านเรือนไปอยู่ที่เขาใหญ่กันเยอะ แล้วก็ดูดน้ำไปใช้ตลอดทางก็ทำให้น้ำกว่าจะมาถึงปลายที่เขื่อนลำตะคองมันก็ได้รับน้ำน้อยเพราะฉะนั้นก็หมดเร็วในหลวงรัชกาลที่ 9 พระองค์ท่านทรงวางแผนไว้ 2 โครงการ ที่จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งถ้าเราทำที่นั่นแล้ว ก็จะสามารถส่งน้ำมาใช้ที่โคราชกับขอนแก่นนี้ได้นะครับ” นายจรัลธาดา กรรณสูตร องคมนตรีกล่าวต่อไปอีกว่าตอนนี้รัฐบาลอนุมัติ2 โครงการนี้แล้วถึงแม้ว่าเราจะต้องเสียค่าเวนคืนมากแต่จะเป็นอ่างขนาดใหญ่ทั้ง 2 อ่างก็คืออ่างเก็บน้ำลำสะพุงแล้วก็ อ่างเก็บน้ำลำชีบนคือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พระองค์ทรงศึกษาแผนที่ ท่านจะทรงดูรู้ว่าแหล่งน้ำที่จะส่งมาเลี้ยง เนื่องจากที่ชัยภูมิต้นน้ำเป็นเขา เป็นภูเขาเยอะ เพราะฉะนั้นก็มีแหล่งน้ำ มีน้ำที่จะไหลพอเพียงที่จะลงมาใส่อ่างเก็บน้ำไว้ได้ ซึ่งอันนี้ก็เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์มาก ต่อไปเราจะได้ใช้น้ำ 2 อ่างนี้ ภาคอีสานตอนกลางเป็นส่วนที่มีโครงการชลประทานน้อยซึ่งเราจะต้องพัฒนาต่อไป “โครงการวันนี้ (โครงการปรับปรุงร่องชักน้ำอุโมงค์ผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยไผ่ฯลงพื้นที่พัฒนาลุ่มน้ำลำพะยัง) เป็นโครงการที่จะส่งน้ำไปช่วยกาฬสินธุ์ ระหว่างชายแดนของกาฬสินธุ์ กับมุกดาหารซึ่งมีภูเขากั้น ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ไปสร้างอ่าง เพื่อใช้สำหรับการเกษตรกรรม เพราะตรงนั้นมันเป็นที่ราบ ค่อนข้างกว้างใหญ่ นะครับ ก็จำเป็น ถ้าเรามองจากแผนที่ อีกฝั่งหนึ่งของภูเขามีอ่างเก็บน้ำหนองไผ่ ซึ่งเป็นของมุกดาหาร และที่มุกดาหารมีอ่างเก็บน้ำหลายอ่างจึงพอใช้แล้วก็เหลือ ซึ่งน้ำเหลือก็จะส่งไปช่วย กาฬสินธุ์ได้ เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าจะแพงหน่อย เราก็เห็นว่ารัฐบาลควรจะต้องลงทุนเพราะว่าเราจะช่วยประชาชนได้เป็นหมื่นไร่ทางฝั่งโน้นนะครับ เพราะฉะนั้นเราก็ลงทุนสร้างอุโมงค์ลอดใต้ภูเขาเพื่อจะให้ผันน้ำจากทางนี้ไปที่ลำพะยังก็จะเป็นประโยชน์กับจังหวัดกาฬสินธุ์แล้วก็ประชาชนทางนี้ก็ไม่เดือดร้อนนะครับเพราะว่าในยุคสมัยใกล้ๆนี้ก็ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะขาดน้ำทางนี้ วันนี้ที่มาดูเนี่ยเพราะว่า เออทางปากอุโมงค์ด้านนี้ที่จะส่งน้ำไปเนี่ยมีปัญหาเรื่องการตื้นเขินแล้วก็มีการพังทลายของดินทำให้น้ำที่จะส่งลงอุโมงค์มันไปได้ลำบาก จะต้องมีการก่อสร้างเพิ่มเติม จะต้องใช้งบประมาณเพิ่มเติมอีกหน่อยนึงนะครับ ซึ่งอันนี้ก็ คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาในเรื่องของของบประมาณ ซึ่งทางกปร. ก็รับทราบแล้ว นะครับ อันนั้นก็เป็นอีกแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ตะวันออกสุดของอ่างเก็บน้ำนี้ เมื่อกี้ที่ประชุมกันนี้ก็พูดถึงอีกเรื่องนึง ก็คือเรื่องของหนองหาร หนองหารเมื่อปีที่แล้วโดนพายุเซินกาแล้วก็ทำให้น้ำท่วมจังหวัดเป็นอาทิตย์เพราะว่าหนองหารนี้ เป็นพื้นที่รับน้ำที่รับน้ำไหลเวลาฝนตกมากๆ น้ำจากภูพานก็จะไหลลงหนองหาร มาตั้งสี่ห้าสาย ที่ลงหนองหารมารวมที่เดียว นะครับ แล้วหนองหารนี้มีทางออก ที่จะออกไปลงแม่น้ำโขง มีอยู่เส้นเดียวก็คือน้ำก่ำ น้ำ ก่ำนี้ก็ คดเคี้ยวมาก เป็นลำน้ำธรรมชาติเดิม เพราะฉะนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ท่านทรงวางแผนไว้ ทรงมองเห็นการณ์ไกล นะครับก็ ทรงรู้ว่าอันนี้มันต้องตัดคลอง เพื่อจะช่วยระบายเวลาน้ำมาก ก็ระบายออก เวลาน้ำน้อยเราก็ปิดประตูไว้ก็รักษาน้ำไว้ได้ เพราะว่าหนองหารนี้ก็ใช้น้ำสำหรับเป็นน้ำ City Water น้ำประปาเหมือนกันนะครับแล้วก็ เออตรงนั้นนี่ ก็จะมีคลอง 2 หรือ 3 คลองซึ่งตอนนี้เริ่มสร้างคลองแรกแล้ว ก็คิดว่ารัฐบาลทราบวัตถุประสงค์แล้ว คงจะอนุมัติงบต่อๆไปจากนี้ก็จะช่วยระบายน้ำเวลาเรามี พายุเข้าจากอ่าวตังเกี๋ย มักจะมาหมดแรงตอนถึงสกลนครนะพอหมดแรงแล้วมันก็อยู่กับที่ พออยู่กับที่มันหอบเอาเมฆ มาเท่าไหร่มีก็จะเทลงมาตรงนั้นนะครับ ปีที่แล้วมันทำให้หัวเขื่อนห้วยทรายขมิ้นพัง ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นห่วงแล้วก็ รับสั่งให้ซ่อมแซม ให้ดีต่อไป”นายจรัลธาดา กรรณสูตร องคมนตรีกล่าวสรุป เสกสรร สิทธาคม [email protected]