กรมส่งเสริมสหกรณ์ ระดม 2 วันเปิดเวทีรับฟังผลกระทบ จ่อผ่อนคลายกฏกระทรวง 13 ฉบับ ในพรบ.สหกรณ์ใหม่ ออกเกณฑ์กำกับการเงิน สหกรณ์ออมทรัพย์-เครดิตยูเนี่ยน กว่า 2 พันแห่ง กังวล เงินล้นระบบ คุมจำกัดสินเชื่อ ทั้งระยะเวลาผ่อนชำระสั้นลง ผลักสมาชิกส่วนใหญ่ยังหาเช้ากินค่ำ หนีไปกู้นอกระบบ เมื่อวันที่ 14 พ.ค.62 นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นการจัดทำร่างกฎกระทรวงตาม มาตรา 89/2 ของพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2562 ซึ่งมีผู้แทนจากสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนขนาดใหญ่ ที่มีสินทรัพย์ตั้งแต่ 5พันล้านบาทขึ้นไป จำนวน 154 แห่ง ส่วนวันที่15 พ.ค.จะประชุมรับฟังจากสหกรณ์ที่มีสินทรัพย์ต่ำกว่า5พันล้านบาท โดยทั้งสองประเภทรวมทั่วประเทศกว่า2พันแห่ง พร้อมทั้งผู้แทนชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตยูเนี่ยน และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ ด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสีย ได้ร่วมกันพิจารณาตัวร่างก่อนออกกฏกระทรวง13ฉบับ มากำกับสหกรณ์ โดยหลักการเกี่ยวข้องกับสถานะของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนและออมทรัพย์ ที่ปัจจุบันมีสินทรัพย์ในระบบจำนวนมากกว่า 3ล้านๆบาท จึงต้องสร้างหลักเกณฑ์ดูแลให้สมาชิกเกิดความมั่นใจ ทั้งผู้ฝาก และผู้กู้ยืม เนื่องจากจะมีเงินที่เหลือจากการให้กู้ยืม ซึ่งจะนำไปลงทุนในตลาดทุน ดังนั้นจะมีเกณฑ์กำกับเพื่อป้องกันความเสี่ยง กำหนดเพดานไว้แล้วในเรื่องการลงทุน รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่าสหกรณ์ยังกังวล ในส่วนการปล่อยสินเชื่อจะทำได้น้อยลง ซี่งมีสมาชิกส่วนใหญ่ เป็นคนงานในโรงงาน คนขับรถรับจ้าง ดังนั้นในเรื่องการให้กู้ ถ้าเกณฑ์ต่างๆออกมาดึงเกินไป จะเป็นผลักให้ไปกู้นอกระบบ โดยผ่อนคลายระยะเวลาจ่ายชำระหนี้ ถ้าสั้นไป ทำให้กำลังในการส่งงวดชำระหนี้ของสมาชิก ทำไม่ได้ เพราะมีภาระอื่นด้วย “ทางเราจะช่วยดูตรงนี้น่าเห็นใจ สมาชิกสหกรณ์ คือคนที่ยังลำบาก จะเป็นภาระมาก ซึ่งสหกรณ์ ตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือกันเอง ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ เงินปันผลเฉลี่ยคืน ได้รับผลประโยชน์อัตราเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ในข้อจำกัดให้สินเชื่อสมาชิก จะมีเงินเหลือในระบบมากขึ้น ตรงนี้เป็นปัญหาใหญ่ของสหกรณ์ไม่รู้นำเงินไปทำอะไร เกิดปัญหาในการบริหารเงินได้ โดยประเด็นที่รับความคิดเห็นนำไปปรับหลายเรื่อง เพราะการปรับตัวต้องอาศัยหลักวิชาการ เมื่อฟังจากสหกรณ์ ก่อนออกกฏกระทรวง ทะยอยออกไปเรื่อยในเวลา2ปี เรื่องไหนคุยตกผลึก จึงออกเป็นกฏกระทรวง อาจออกเป็นบทเฉพาะกาลไปก่อน โดยจะขอความเห็นจากอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ หากเรื่องไหนยังไม่ตกผลึก จะเปิดรับฟังความคิดเห็นอีก เพื่อให้ดำเนินการสหกรณ์ มั่นคง เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งอุดมการณ์สหกรณ์ยังเหมือนเดิม แต่ในกฏเกณฑ์ของสถาบันการเงิน บางเรื่องนำมาใช้กับสหกรณ์ เพราะสถานะการเงินขยายมากขึ้น นำเงินไปลงทุน ประมาณ 4 แสนล้านบาท ในรูปหุ้นกู้ พันธบัตร ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ สำหรับผู้กู้จะต้องเข้าระบบตรวจสอบเครดิตบูโร ก่อนปล่อยกู้ จึงเป็นข้อกังวลด้วย โดยสหกรณ์ได้ใช้วิธีตรวจสอบดูแลกันเอง เพราะกรรมการ กับสมาชิก รู้จักกัน ใครฐานะการเงินเป็นอย่างไร เป็นหนี้ที่ไหนบ้างจึงไม่เห็นความจำเป็น ที่สมาชิกต้องมีค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบเครดิตบูโร”นายวิศิษฐ์ กล่าว