NIA เปิดเวทีแข่งขัน STARTUP THAILAND League 2019 ลุยส่งท้ายภูมิภาคที่แดนล้านนา เฟ้นหาสุดยอดสตาร์ทอัพภาคเหนือก่อนกลับเข้ากรุง ลุ้นแชมป์สุดยอดสตาร์ทอัพลีคระดับประเทศปลายเดือนหน้า ที่ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. เดินหน้าต่อขึ้นภาคเหนือมุ่งล้านนา ส่งท้ายจัดการแข่งขันสตาร์ทอัพไทยแลนด์ลีก ประจำปี 2562 (STARTUP THAILAND League 2019) สำหรับนิสิตนักศึกษา ในระดับอุดมศึกษา เพื่อเฟ้นหาสุดยอดสตาร์ทอัพภูมิภาคสุดท้าย มาร่วมชิงชัยรอบสุดท้าย ชิงแชมป์สุดยอดสตาร์ทอัพลีกระดับประเทศ ในงาน STARTUP Thailand 2019 พร้อมโอกาสต่อยอดธุรกิจเชิงพาณิชย์ ที่จะจัดขึ้นช่วงปลายเดือนกรกฎาคมนี้ สำหรับพิธีเปิดการแข่งขันโดยรองศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ สิงหราชวราพันธ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับ นายปริวรรต วงษ์สำราญ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวเปิดงาน นายปริวรรต วงษ์สำราญ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า การแข่งขันสตาร์ทอัพลีกเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบายพัฒนาความเป็น “มหาลัยแห่งการประกอบการ” (Entrepreneurial University) และมุ่งเน้นการสร้างภาวะความเป็นผู้ประกอบการ พัฒนาศักยภาพของอาจารย์ นักศึกษาและบุคลากรในรั้วมหาวิทยาลัย โดยในปีนี้เราเปิดรอบคัดเลือกใน 4 ภูมิภาค ที่ภาคอีสาน จ.นครราชสีมา ภาคใต้ จ. สงขลา ภาคกลางและตะวันออก จ.นครปฐม และภาคเหนือ จ. เชียงใหม่ ตามลำดับ และจะไปจบการค้นหาสุดยอดสตาร์ทอัพลีกระดับประเทศ ที่งาน STARTUP Thailand 2019 ระหว่างวันที่ 23-27 กรกฎาคม 2562 ที่กรุงเทพฯ พร้อมเผยว่าการแข่งขันสตาร์ทอัพไทยแลนด์ลีก 2562 มีทีมส่งผลงานเข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 474 ทีม โดยภูมิภาคนี้ได้ทำสถิติใหม่ มีนักศึกษาสมัครมากที่สุดในปีนี้ โดยมียอดทีมของนักศึกษาเข้าร่วมประกวดแข่งขันทั้งสิ้น 150 ทีม จาก 25 มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นทีมจากภาคเหนือ 49 ทีม และผู้ชนะเลิศในเวทีนี้จะได้เข้าร่วมชิงแชมป์ระดับประเทศต่อไป และกล่าวย้ำว่า เวทีของ STARTUP Thailand คือกลไกหนึ่งของภาครัฐในการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศ ผ่านการสนับสนุนกลุ่มสตาร์ทอัพ โดยเฉพาะในกลุ่ม TECH Startup ในสาขาต่างๆ นอกจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จะมุ่งสร้างกลุ่มสตาร์ทอัพใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นแล้ว ยังหวังให้กลุ่มสตาร์ทอัพเหล่านี้สามารถเติบโตและพัฒนาได้อย่างยั่งยืน มีศักยภาพและเป็นกำลังสำคัญที่สามารถสนับสนุนการพัฒนายกระดับกลุ่มผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสาขาต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมหลักของประเทศด้วย ซึ่งจะส่งผลโดยรวมต่อการยกระดับอุตสาหกรรมของไทยทั้งระบบ และส่งเสริมการสร้างรายได้ และการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเศรษฐกิจไทย สำหรับ ผลประกาศรางวัล STARTUP THAILAND LEAGUE 2019 ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ รางวัลชนะเลิศ ทีม Palalamp มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Sector: เกษตรและอาหาร (AgriTech/ Food Startup) เครื่องสร้างปุ๋ยจากการอากาศ ด้วยเทคโนโลยีพลาสมา เป็นเครื่องที่อาศัยหลักการที่พัฒนามาจากปรากฏการณ์ฟ้าผ่าทางธรรมชาติ เมื่อเกิดปรากฏการณ์ฟ้าผ่า พลังงานที่ส่งออกมาในรูปของพลังงานไฟฟ้าจะไปกระตุ้นให้ก๊าซในอากาศซึ่งมีก๊าซไนโตรเจนอยู่เป็นจำนวนมากเกิดการดิสชาร์จแตกตัวเป็นไอออนสร้างอนุมูลไนเตรทและไนไตรท์ลงสู่พื้นดิน การทำงานของเครื่องสร้างปุ๋ย เริ่มจากการป้อนอากาศเข้ามาในหลอดพลาสมา จากนั้นป้อนแรงดันไฟฟ้าไฮโวลต์ เข้ามายังระบบ ให้อากาศเกิดการดิสชาร์จแตกตัวเป็นไอออน สร้างอนุมูลไนเตรทและไนไตรท์ และนำมาตรึงลงในน้ำโดยใช้เวนตูรี่ น้ำที่ได้สามารถนำไปปลูกพืชได้โดยตรง นอกจากนี้ยังได้พัฒนาให้ก๊าซในอากาศซึ่งมีอ๊อกซิเจนเป็นองค์ประกอบเกิดการดิสชาร์จแตกตัวสร้างอนุมูลโอโซน ที่มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียในระบบน้ำ ซึ่งจะช่วยลดโอกาศการเกิดโรคของพืชได้ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม RoboNurse มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Sector: การแพทย์และสาธารณสุข (MedTech/ Health Tech) เป็นการวิจัยเพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องควบคุมความดันในช่องท้องทางอ้อม ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ ความดันโลหิตสูงภายในช่องท้อง และภาวะกลุ่มอาการของช่องท้อง โดยจะพบได้ในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บในช่องท้องหรือมีภาวะเลือดออกภายในช่องท้อง สามารถลดภาระของพยาบาล และแก้ปัญหาของการเกิดอันตรายกับผู้ป่วยเนื่องจากการอุดตันในสายยางที่ เกิดจากการกายสภาพของ ของเหลวในสายยางกลายเป็นของเหลวที่มีความหนืดสูง รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2ทีม I'rice มหาวิทยาลัยศิลปากร Sector: พาณิชยกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) “I'rice” เป็นแพตฟอร์มและถังข้าว IOT ที่ใช้ในการจัดส่งข้าวอย่างครบวงจร ด้วยระบบที่ครอบคลุม ทั้งในด้านการเช็คต๊อกข้าวภายในร้าน รวมถึงการจัดส่งข้าวที่ต้องการถึงหน้าร้านอาหารหรือแม้แต่บ้านของ ลูกค้าเอง ระบบการดำเนินบนแพลตฟอร์มที่แสดงรายการขายข้าวและการให้บริการจัดส่งอย่างเป็นระบบโดย ระบบจะทำการบันทึกคำสั่งซื้อและรวบรวมออเดอร์ สามารถแจ้งเตือนด้านสต๊อกสินค้า ให้กับแพลตฟอร์มของเราหรือร้านค้า สามารถตั้ง ให้การสั่งซื้อเป็นแบบอัตโนมัติและจัดส่งอัตโนมัติ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในเรื่องของการขาดแคลน หรือส่งสินค้าล่าช้า ระบบการจัดส่งสินค้า