ระทึกอก ตระหนกใจ กันไปทั่วทั้งภูมิภาคตะวันออกกลาง สำหรับ การปรากฏโฉมของกองเรือรบ พร้อมฝูงบินทิ้งระเบิดโจมตี แห่งกองทัพสหรัฐอเมริกา เจ้าของฉายาพญาอินทรี ณ ลำน้ำอ่าวเปอร์เชีย น่านน้ำสำคัญของภูมิภาคข้างต้น เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ โดยกองเรือรบ พร้อมฝูงบินเพชเฆาต ที่ปรากฏว่า ก็มิใช่สักแต่ว่า เป็นกองเรือนาวี และฝูงบินทางทหารธรรมดาๆ ทว่า เป็นหน่วยยุทโธปกรณ์ทางน้ำ และฝูงนกเหล็กพิฆาต ที่ทรงประสิทธิภาพระดับแถวหน้าเบอร์ต้นๆ ของโลกกันเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น “ยูเอสเอส อับราฮัม ลินคอล์น” เรือบรรทุกเครื่องบิน ชั้นนิมิทคลาสส์ เรือรบพิฆาตระดับพระกาฬ ที่บรรดาผู้สันทัดกรณีในยุทธจักรนาวีทั้งหลาย ต่างประจักษ์แจ้งใจกันเป็นอย่างดี เรือบรรทุกเครื่องบิน “ยูเอสเอส อับราฮัม ลินคอล์น” แห่งกองทัพสหรัฐฯ ที่ถูกส่งมายังอ่าวเปอร์เชีย น่านน้ำของอิหร่าน นอกจาก เรือบรรทุกเครื่องบินมหากาฬแล้ว ทางการวอชิงตัน ก็ยังส่งฝูงนกเหล็กประจัญบาน บินมาประกบเคียงข้างอีกต่างหากด้วย ซึ่งกอปรด้วยทั้งฝูงบินขับไล่ และเครื่องบินทิ้งระเบิด ที่มีเทคโนโลยีอันล้ำสมัย โดยทั้งหมด ทั้งปวง ต่างพากันกรีธาพลเข้ามายังอ่าวเปอร์เชีย น่านน้ำที่มีความสำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจ และยุทธศาสตร์แห่งภูมิภาคตะวันออกกลาง เครื่องบินขับไล่แบบเอฟ-35 ที่อยู่บนเรือบรรทุกเครื่องบิน “ยูเอสเอส อับราฮัม ลินคอล์น” อย่างไรก็ตาม การปรากฏโฉมของชุดเครื่องจักรสังหารที่ว่า ก็มีขึ้นท่ามกลางความฉงนสงสัยของประชาคมโลกที่มีต่อสหรัฐอเมริกา พญาอินทรี ข้างต้น เครื่องบินรบชนิดต่างๆ ที่มากับเรือบรรทุก “ยูเอสเอส อับราฮัม ลินคอล์น” ในปฏิบัติการเตรียมความพร้อมที่อ่าวเปอร์เชีย ขณะที่ ทางอิหร่านเอง ซึ่งเป็นประเทศในน่านน้ำของอ่าวเปอร์เชียนั้นแทบจะไม่ต้องพูดถึง เพราะถือเป็นประเทศที่ต้องบอกว่า รู้ซึ้งถึงบรรยากาศการเผชิญหน้ากับบรรดายุทโธปกรณ์สำหรับการประจัญบานข้างต้นนั้นได้อย่างมิต้องสงสัย และก็ต้องกล่าวว่า เป็นไปตามความรู้สึกนั้นของทางอิหร่าน เมื่อปรากฏว่า “นายจอห์น โบลตัน” ผู้ดำรงตำแหน่ง “ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ” ใน “ทำเนียบขาว” กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ออกมากล่าวว่า นายจอห์น โบลตัน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ ขณะแถลงข่าวเรื่องการส่งกองเรือรบไปยังอ่าวเปอร์เชีย การที่ทางการวอชิงตัน ส่งทั้งเรือรบ และฝูงบินขับไล่ ตลอดจนกองกำลังทิ้งระเบิดเหล่านั้น ไปยังอ่าวเปอร์เชียนั้น ก็เพื่อส่งสัญญาณไปถึง “เตหะราน” รัฐบาลอิหร่านว่า หากผลประโยชน์ใดๆ ประดามีของสหรัฐฯ และเหล่าชาติพันธมิตรของสหรัฐฯ ถูกกองทัพพิทักษ์ปฏิวัติอิสลามอิหร่าน หรือกองกำลังติดอาวุธต่างๆ ที่เป็นตัวแทนของอิหร่านมาโจมตี ทางเรือรบ ฝูงบินขับไล่ และกองกำลังทิ้งระเบิดของสหรัฐฯ ซึ่งเชื่อมสัญญาณสั่งการจากศูนย์บัญชาการกลางสหรัฐฯ ก็พร้อมที่จะเปิดฉากจู่โจมตอบโต้ทันที อย่างไรก็ตาม ทางนายโบลตัน ก็ยังออกโรงป้องถึงปฏิบัติการส่งมหายุทโธปกรณ์ทางนาวี และทางอากาศมายังอ่าวเปอร์เชีย ในครั้งนี้ว่า หาได้มาเพื่อ “ก่อสงคราม” กับ “ระบอบปกครองอิหร่าน” แต่ประการใด ทว่า บรรดานักวิเคราะห์ ล้วนแสดงทรรศนะว่า การส่งเรือบรรทุกครื่องบินอย่าง “อับราฮัม ลินคอล์น” พร้อมด้วยฝูงบินขับไล่ ตลอดจนป้อมบินทิ้งระเบิด มายังอ่าวเปอร์เชีย น่านน้ำหน้าหาดของอิหร่านเยี่ยงนี้ ก็ไม่ผิดอะไรกับการส่งสารสัญญาณ แกมข่มขู่ ต่อรัฐบาลเตหะรานของอิหร่าน กันแบบิมอาจตีความเป็นได้ ด้วยเหตุปัจจัยต่างๆ ที่สั่งสมกันมาก่อนหน้า ไล่มาตั้งแต่การเริ่มความขัดแย้งระหองระแหงกันระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่าน ภายหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ นำพาสหรัฐฯ ถอนตัวออกจาก “แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วม” หรือ “ข้อตกลงร่วมว่าด้วยแผนปฏิบัติการครอบคลุม (เจซีพีโอเอ) หรือที่มักเรียกกันติดปากว่า “พีห้าบวกหนึ่ง (P5+1)” อันเป็นความตกลงระหว่างประเทศ เพื่อการแก้ไขวิกฤตินิวเคลียร์อิหร่าน ประกอบด้วยชาติผู้เกี่ยวข้องสำคัญ 5 ประเทศ ด้วยกัน ได้แก่ สหรัฐฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย จีน และเพิ่ม หรือบวกเยอรมนีเข้าไปอีกหนึ่งประเทศ โดยทั้ง 5 ประเทศ ถือเป็นชาติสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือยูเอ็นเอสซี นอกจากนี้ ยังมีสหภาพยุโรป หรืออียู มาร่วมด้วย ช่วยกันแก้ไขวิกฤตินิวเคลียร์กับอิหร่าน ซึ่งได้ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อปี 2558 ยุค “บารัก โอบามา” ถอนตัวไม่ถอนตัวเปล่า แต่ประธานาธิบดีทรัมป์ ยังมีคำสั่งให้คว่ำบาตร หรือแซงก์ชัน เศรษฐกิจของอิหร่าน เพื่อกดดันอิหร่าน ยอมทำข้อตกลงฉบับใหม่ที่สหรัฐฯ ต้องการ แบบให้อิหร่านยอมรับเงื่อนไขที่มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งได้แก่ การที่ต้องการให้อิหร่านยุติโครงการพัฒนาขีปนาวุธด้วย มิใช่เพียงละเลิกโครงการพัฒนานิวเคลียร์เท่านั้น และนอกจากนี้ ก็ยังรวมความต้องการให้อิหร่านลดการขยายบทบาทในภูมิภาคตะวันออกกลางลง อย่างไรก็ดี ทางการอิหร่าน หายอมไม่ ก่อนเกิดวิวาทะเป็นประการต่างๆ ระหว่างกัน ถึงขนาดที่รัฐบาลระหว่างทั้งสองประเทศ คือ ทางการวอชิงตันของประธานาธิบดีทรัมป์ และทางการเตหะราน ซึ่งอยู่ภายใต้การนำของสภาการ์เดียน หรือสภาผู้พิทักษ์ปฏิวัติอิสลามของอิหร่าน อีกชั้นหนึ่งนั้นได้ ประกาศขึ้น “บัญชีดำ” กองทัพของอีกฝ่าย เป็น “องค์กรก่อการร้าย” โดยอิหร่าน ตราหน้าสหรัฐฯ ว่า คือ ผู้นำการก่อการร้ายโลกตัวจริง กล่าวถึงการส่ง “กองรบ” ทั้งทางนาวี และทางอากาศ มาอ่าวเปอร์เชียหนนี้ บรรดานักวิเคราะห์ แสดงทรรศนะแบบอ่านใจที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ คนปัจจุบัน ซึ่งได้รับการระบุว่า เป็น “สายเหยี่ยว” สงครามของสหรัฐฯ รายหนึ่งว่า มีหมุดหมายแบอำพราง นั่นคือ การพยายามที่จะเซาะบ่อนทำลาย เป้าหมายที่จะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของอิหร่านในอนาคต อย่างสุดน่าสะพรึงที่โลกต้องจับตาจ้องมองอีกประเทศหนึ่ง