วันที่ 6 พ.ค.62 นิด้าโพล เผยผลสำรวจ เรื่อง “การขึ้นค่าโดยสารประจำทาง (รถเมล์)” ระหว่างวันที่ 29 เม.ย.– 2 พ.ค.2562 จากผู้ที่ใช้บริการรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กระจายทุกระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,258 หน่วยตัวอย่าง พบว่า เมื่อถามถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อสัปดาห์ จากการที่ ขสมก. และรถโดยสารเอกชนร่วมบริการเพิ่มค่าโดยสาร ผู้ใช้บริการรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) 87.20% ระบุว่า ไม่เกิน 100 บาท, 10.97% ระบุว่า 101 – 200 บาท, 1.59% ระบุว่า  201 – 300 บาท และ 0.24% ระบุว่า 301 บาทขึ้นไป ส่วนการปรับเปลี่ยนวิธีการเดินทางของผู้ใช้บริการรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) พบว่า ส่วนใหญ่ 46.74% ระบุว่า ขึ้นรถโดยสารประจำทางเท่าที่จำเป็นเท่านั้น, 16.69 % ระบุว่า ไม่มีการปรับเปลี่ยนวิธีการเดินทาง ยังคงใช้เหมือนเดิม, 13.35% ระบุว่า เปลี่ยนไปใช้รถตู้โดยสารแทน, 11.29% ระบุว่า ยอมเสียเวลาในการรอรถโดยสารประจำทาง ที่มีราคาถูกกว่า, 10.81% ระบุว่า เปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้าหรือใต้ดินแทน, 8.03% ระบุว่า เปลี่ยนไปใช้รถส่วนตัวแทน เช่น รถจักรยาน รถจักรยานยนต์ และรถยนต์, 3.82% ระบุว่า เปลี่ยนไปใช้เรือโดยสารแทน, 3.50% ระบุว่า เดินไปทำงาน/ทำธุระแทนการขึ้นรถประจำทาง และ 1.99% ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ใช้บริการรถโดยสารประเภทอื่นแทน เช่น รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถสองแถว รถแท็กซี่ และรถไฟ ทั้งนี้เมื่อถามถึงสิ่งที่อยากให้มีการปรับปรุงบริการของรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) โดยแยกประเภทรถ ดังนี้ รถ ขสมก. ผู้ใช้บริการ 54.87% ระบุว่า สภาพภายในของรถ เช่น ความสะอาด แอร์เย็น เบาะ หน้าต่าง ราวจับ, 46.02% ระบุว่า มารยาทของพนักงาน ทั้งการขับรถและการเก็บเงิน, 45.92% ระบุว่า ความเพียงพอของรถ เวลารอรถไม่นาน, 42.45% ระบุว่า สภาพภายนอกของรถ ปรับให้เป็นรถใหม่, 27.93% ระบุว่า การตรงต่อเวลาของการปล่อยรถ และ25.75% ระบุว่า การจอดรับ - ส่ง ให้ตรงป้ายรถเมล์ รถโดยสารเอกชนร่วมบริการ ผู้ใช้บริการ 55.76% ระบุว่า สภาพภายในของรถ เช่น ความสะอาด แอร์เย็น เบาะ หน้าต่าง ราวจับ รองลงมา 52.33% ระบุว่า มารยาทของพนักงาน ทั้งการขับรถและการเก็บเงิน, 42.82% ระบุว่า สภาพภายนอกของรถ ปรับให้เป็นรถใหม่, 41.67% ระบุว่า ความเพียงพอของรถ เวลารอรถไม่นาน, 31.11% ระบุว่า การจอดรับ - ส่ง ให้ตรงป้ายรถเมล์ และ27.31% ระบุว่า การตรงต่อเวลาของการปล่อยรถ