นายกเล็ก ท่าอุเทน โวย เรือดูดผิดกฎหมาย เกลื่อน กระทบชุมชน เสนอจังหวัด ทำงานชัดเจน เปิดช่องนายทุน โกยผลประโยชน์ ทิ้งปัญหาให้ท้องถิ่น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (1 พ.ค.62) นายกานต์ แก้วมาตย์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลท่าอุเทน จ.นครพนม พร้อมเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง นำสื่อมวลชน ลงพื้นที่ตรวจสอบ กรณีมีชาวบ้าน ร้องเรียน เกี่ยวกับปัญหาผู้ประกอบการดูดทราย ในพื้นที่ อ.ท่าอุเทน มีการฉวยโอกาส ลักลอบดูดทรายผิดกฎหมาย ส่งผลชกระทบต่อชาวบ้าน ในพื้นที่ ทั้งปัญหาทำลายทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึง สร้างมลภาวะหมอกควัน ฝุ่น ของรถบรรทุกหินทราย รวมถึงมีการบรรทุกน้ำหนักเกิน ส่งผลให้ ถนนหนทางในชุมชน ได้รับความเสียหาย โดยเคยเรียกร้องให้ หน่วยงานเกี่ยวข้อง รวมถึง จังหวัดนครพนม ดำเนินการตรวจสอบแก้ไข แต่ไม่มีความชัดเจน จึงต้องการสะท้อนปัญหาไปยังรัฐบาล รวมถึงกระทรวงมหาดไทย ให้ตรวจสอบจริงจังวางแนวทางปฏิบัติที่มาตรฐานในการดำเนินกิจการของผู้ประกอบการท่าทราย ป้องกันการฉวยโอกาสช่องว่างทางกฎหมาย กอบโกยผลประโยชน์ ของกลุ่มนายทุน แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่มีส่วนในการตรวจสอบกำกับดูแล รวมถึงไม่มีแนวทางการจัดเก็บรายได้เข้าท้องถิ่น ที่ชัดเจน แต่ปล่อยให้เกิดผลกระทบกับชุมชน โดยจากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า ปัจจุบันพื้นที่ อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม เป็นโซนนิ่ง ที่ยังเปิดให้มีการดำเนินการกิจการดูดทราย ภายใต้ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการอนุญาต ให้ดูดทราย พ.ศ.2546 รวมถึง การอนุญาต ให้ดูดทราย ตามมารา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2556 โดยผ่านการพิจารณาของ กพด.หรือ คณะอนุกรรมการพิจารณาอนุญาตให้ดูดทราย ซึ่งยังคงมีผู้ประกอบการ รวมประมาณ 20 ราย แต่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา ตรวจสอบ ต่อใบอนุญาต ในปี 2562 แต่ปล่อยให้สามารถดำเนินการดูดทราย จนกว่า จะมีการพิจารณาแล้วเสร็จ จากส่วนกลาง ขณะเดียวกันในพื้นที่ อ.ท่าอุเทน ส่วนใหญ่ ปัจจุบัน มีการดำเนินการก่อสร้างเขื่อนกั้นตลิ่งตามแนวแม่น้ำโขง ทำให้ ผู้ประกอบการที่ขออนุญาต ต้องปิดตัวลง ด้วยเงื่อนไขของกฎหมาย มาตรา 9 ที่ห้ามให้มีการดูดทราย ในระยะทางใกล้เขื่อนป้องกันตลิ่งแม่น้ำโขง ในรัศมี ตามแนวเขื่อนประมาณ 1 กิโลเมตร แต่มีช่องว่างกฎหมาย สามารถขออนุญาต นำเข้าทรายจากประเทศเพื่อนบ้านได้ โดยยกเว้นมาตรา 9 แต่ต้องมีการขออนุญาต จาก ศุลกากรพื้นที่รับผิดชอบ ซึ่งจากการตรวจสอบข้อมูล ทางศุลกากรจังหวัดนครพนม ยืนยัน ยังไม่มีการขออนุญาต นำเข้าทรายถูกต้องตามกฎหมาย เพราะจะต้องมีการปฏิบัติตามระเบียบขั้นตอนการนำเข้าที่ถูกต้อง ซึ่งปัจจุบันการนำเข้าส่วนใหญ่ ถือว่าขัดกฎหมาย แต่มีการปล่อยปะละเลย เป็นช่องว่างให้ ผู้ประกอบการบางรายฉวยโอกาส แสวงประโยชน์ ทางธุรกิจ ในช่วงมีการต่อใบอนุญาต ของ อพด. ส่งผลกระทบ ต่อการสร้างปัญหาความเดือดร้อน กับชุมชน และสร้างความเสียหายต่อภาครัฐ ไม่สามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียม และภาษี ตามระเบียบกฎหมายได้ ด้าน นายกานต์ แก้วมาตย์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลท่าอุเทน จ.นครพนม ระบุว่า ปัจจุบันการกำกับดุแลผู้ประกอบการท่าทราย ยังไม่มีความชัดเจนในการดำเนินการ รวมถึงไม่มีการบังคับใช้กฎหมายที่แน่นอน ทั้งระเบียบปฏิบัติ ขั้นตอนการอนุญาต ทำให้ ผู้ประกอบการบางราย ฉวยโอกาสกอบโกยผลประโยชน์ ซึ่งจากการตรวจสอบ พบว่าปัจจุบัน ผู้ประกอบการไม่สามารถดำเนินการได้ ตามมาตรา 9 ของ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2556 ทำให้ผู้ประกอบการหันไปใช้ช่องว่าง ในการ ขออนุญาตนำเข้าแทน แต่ไม่มีการดูแล ของศุลกากร รวมถึงหน่วยงานเกี่ยวข้อง ปล่อยให้ดำเนินการตามความพอใจ สร้างความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึง ทิ้งปัญหาให้ท้องถิ่น ในส่วนของเทศบาลตำบลท่าอุเทน ไม่มีส่วนในการดูแล รวมถึงการจัดเก็บภาษี แต่คอยแก้ปัญหาความเดือดร้อนผลกระทบกับชุมชน สุดท้ายฝากไปยัง รัฐบาล กระทรวงมหาดไทย เร่งแก้ไขปัญหา ปล่อยให้กอบโกยผลประโยชน์มหาศาล และทิ้งปัญหาให้ชุมชน วอนขอความชัดเจน ทั้งจังหวัด หน่วยงานที่ดิน กรมเจ้าท่า และศุลกากร ต้องมาตรวจสอบดูแล มี่อยากให้ปล่อยปะละเลย แบบนี้