อีกหนึ่งความตื่นตาจากดาวพฤหัสฯ กับจินตนาการของมนุษย์ ที่สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ fan page ได้โพสต์เรื่องราวระบุ “โลมาท่ามกลางพายุปั่นป่วนบนดาวพฤหัสบดี โลมาต่างดาวตัวนี้ถูกบันทึกภาพไว้ได้เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2561 โดย #ยานสำรวจดาวพฤหัสบดี "จูโน" (#Juno) ขณะบินเฉียดเข้าใกล้ดาวพฤหัสบดีเป็นครั้งที่ 16 ภาพนี้แสดงถึงชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดีที่เต็มไปด้วยพายุปั่นป่วน แก๊สต่างชนิดที่แสดงสีสันแตกต่างกัน เกิดเป็นลวดลายต่าง ๆ บนชั้นบรรยากาศ รวมไปถึงโลมาตัวนี้ บริเวณแถบเมฆที่เกิดเป็นรูปโลมานี้เรียกว่า แถบเข็มขัดเขตอบอุ่นใต้ (South Temperate Belt: STB) เป็นแถบเมฆสีเข้มทางซีกดาวใต้ มีพายุขนาดใหญ่ชื่อว่า Oval BA ยานจูโนถูกส่งไปสำรวจดาวพฤหัสบดีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 เริ่มโคจรรอบดาวพฤหัสบดีเมื่อปี พ.ศ. 2559 และในเดือนกรกฎาคมปี พ.ศ. 2564 ยานจะค่อย ๆ ลดระดับวงโคจรลงเข้าสู่ดาวพฤหัสบดี เพื่อศึกษาชั้นบรรยากาศชั้นใน ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลครั้งสุดท้ายก่อนที่ภารกิจจูโนจะจบสิ้นลง เรียบเรียง : ธนกร อังค์วัฒนะ - เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สดร. อ้างอิง : [1] https://apod.nasa.gov/apod/ap190415.html… [2] https://en.wikipedia.org/wiki/Juno_(spacecraft)”