ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 07.30 น.วันที่ 25 เมษายน 2562 ที่หอประชุมวิถีอีสาน หน้าศาลากลางจังหวัดยโสธร นายนิกร สุกใส ผุ้ว่าราชการจังหวัดยโสธร เป็นประธานในพิธีวางพวงมาลาดอกไม้สดเนื่องในโอกาสวันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พร้อมกล่าวถวายราชสดุดีสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยมีข้าราชการร่วมพิธีอย่างพร้อมเพียง โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 07.30 น.หน่วยงานราชการทุกกระทรวงทุกสังกัดได้เริ่มวางพวงมาลาที่ด้านหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จากนั้นเวลา 08.39 น. นายนิกร สุกใส ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ประะธานในพิธีเดินทางมาถึงพร้อมทั้งได้วางพวงมาลาดอกไม้สดจากนั้นได้ถวายความเคารพและจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อย จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธรได้กล่าวถวายราชสดุดีสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพระราชสมภพ ณ พระราชวังจันทร์ เมื่อปีพุทธศักราช 2098 พระองค์ทรงเป็นพระวีรกษัตริย์ ที่ทรงพระปรีชาสามารถอย่างล้ำเลิศมีพระอัจฉริยภาพและฝีพระหัตถ์ในทางการรบและเชี่ยวชาญในอาวุธทุกชนิดทรงตรากตรำพระวรกายในการทำศึกสงครามตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์โดยมิได้ว่างเว้นนับตั้งแต่มีพระชนมายุ 16 พรรษา ทรงสามารถขับไล่กองทัพพระยาจีนจันตุจนพ่ายแตก และในปีพุทธศักราช 2124 ทรงแสดงแสนยานุภาพในการยกกองทัพเข้าตีเมืองคังที่ตั้งอยู่บนเขาสูงได้เปรียบทางยุทธภูมิแต่ด้วยพระปัญญาอันล้ำลึกก็ได้ชัยชนะอย่างง่ายดายจนถึงปีพุทธศักราช 2127 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงประกาศอิสรภาพของชาติไทยที่เมืองแครงว่านับตั้งแต่บัดนี้ กรุงศรีอยุทยาตัดขาดทางไมตรีกับกรุงหงสาวดีทรงรวบรวมคนไทยกลับกรุงศรีอยุทยา ในปีพุทธศักราช 2129 พระเจ้านันทบุเรง ยกทัพใหญ่มาล้อมกรุงศรีอยุทธยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ทรงใช้วิจารณญาณอันล้ำเลิศวางแผนตั้งรับป้องกันเมืองโดยจัดกองโจรออกตัดการลำเลียงเสบียงและตีปล้นข้าศึก พม่าได้ล้อมกรุงศรีอยุทธยาถึง 5 เดือนแต่ไม่สามารถเข้าตีได้จึงล่าทัพกลับไป กรุงศรีอยุทธยาว่างศึดอยู่เพียงสามปี จวบจนล่วงถึงปีพุทธศักราช 2133 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงขึ้นครองราชย์พระเจ้านันทบุเรงจึงยกทัพเข้าตีกรุงศรีอยุทธยาอีกครั้งในครั้งนี้สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ทรงเปลี่ยนยุทธวิธีการรบจากการตั้งรับมาเป็นฝ่ายรุกและหลอกล่อให้กองทัพพม่าลุกไล่เข้าไปในวงล้อมที่พระองค์วางทัพรออยู่โดยผลของการรบครั้งนั้นพระยาพุกามตายในที่รบ พระยาพะสิมถูกจับเป็นเฉลยส่วนพระมหาอุปราชาถอยทัพหนี และเมื่อวันที่ 18 มกราคม ปีพุทธศักราช 2135 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำสงครามยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราขาจนได้รับชัยชนะทำให้พระบรมเดชานุภาพแผ่ไพศาลไปทั่วปฐพี นอกจากนี้ทรงปราบปรามหัวเมืองมอญฝ่ายใต้ ได้เมืองตะนาวศรี มะริด และทวาย ในปีพุทธศักราช 2138 และ 2142 ทรงกรีฑาทัพไปตีเมืองหงสาวดี ได้เมืองเมาะลำเลิงแล้วยกทัพไปถึงเมืองหงสาวดีและเมืองตองอูจนหัวเมืองไทยใหญ่ทั้งปวงยอมขึ้นต่อกรุงศรีอยุทธยา กระทั้งปีพุทธศักราช 2148 พระเจ้าอังวะมีอำนาจขึ้นจึงขยายอาณาเขตมาทางแคล้วนไทยใหญ่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพไปยังเมืองห้างหลวงและประชวนหนักจนเสด็จสวรรคต เมื่อเดือน 6 ขึ้น 8 ค่ำ ปีมะเส็ง พุทธศักราช 2148 พระชนมายุ 50 พรรษาอยู่ในราชสมบัติ 15 ปี ราชการสงครามในสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งของชาติไทยพระองค์ได้ทรงกอบกู้เอกราชปราบปรามอริราชศัตรูและทรงแผ่ขยายอำนาจของราชอาณาจักรไทยออกไปอย่างไพศาลพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ทั้งสิ้นของพระองค์เป็นไปเพื่อประโยชน์ของบ้านเมืองและคนไทยทั้งมวล ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ จะอยู่ในสนามรบและในชนบทโดยตลอดมิได้ว่างเว้น แม้แต่เมื่อเสด็จสวรรคตก็เสด็จสวรรคตในระหว่างเดินทางไปปราบศัตรูของชาติไทยนับว่าได้ทรงสละพระองค์เพื่อชาติบ้านเมืองอย่างแท้จริง