นายภุชพงค์ โนดไธสง ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่า โครงการระบบการจัดเก็บข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานระดับพื้นที่ เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน ในลุ่มน้ำทั่วประเทศจำนวน 25 ลุ่มน้ำ (โครงการระยะที่ 1) นั้นเกิดขึ้นจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ปีพ.ศ.2557โดยการจัดตั้งให้มีคณะกรรมการกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ที่มีคณะอนุกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำพื้นที่ต่างๆ เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามสถานการณ์และแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำและคณะอนุกรรมการติดตามประเมินผล โดยศูนย์ข้อมูลน้ำแห่งชาติจะมีคลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ ทั้งนี้ เมื่อมีการตั้งคณะอนุฯ ด้านต่างๆ เรียบร้อย สสช.จะต้องดำเนินการ คือ 1.การคาดการณ์ลักษณะอากาศระยะสั้นระยะกลางและระยะยาว ,2.การบริหารจัดการน้ำพื้นที่ในเขตชลประทาน ,3.การบริหารจัดการน้ำพื้นที่นอกเขตชลประทาน ,4.การบริหารจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและอุตสาหกรรม ,5.การรักษาระบบนิเวศและคุณภาพน้ำ ,6.การเตือนภัยและบริหารจัดการภัยพิบัติ ,7.ปริมาณน้ำเพื่อการผลิตพลังงานไฟฟ้า และ 8.กอบการวางแผนพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมก้าวระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบข้อมูล โดยพระราชบัญญัติสถิติพ.ศ.2550 ได้กำหนดให้สสช. เป็นหน่วยงานกลางของรัฐในการดำเนินการเกี่ยวกับสถิติตามหลักวิชาการ พร้อมกำหนดให้มีอำนาจและหน้าที่จัดทำสำมะโนหรือการสำรวจตัวอย่างหรืออำนวยการให้มีความให้มีการสำรวจด้านต่างๆ ของประเทศ ซึ่งจะมีการผลิตข้อมูลสถิติ มีการบริหารจัดการระบบสถิติและสารสนเทศและการให้บริการด้านสถิติ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงเรื่องสถานการณ์น้ำและความจำเป็นของโครงการมีความแปรปรวนของฝนเพิ่มขึ้นจาก 9% เป็น 24% ความต้องการน้ำเพิ่มขึ้น 35% ภายในปีพ.ศ.2567 โดยพฤติกรรมการใช้น้ำที่เปลี่ยนไป จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นทุกปีโดยประมาณ 30 ล้านคนต่อปี และมีการเพิ่มการลงทุนและการจ้างงานจากการกำหนดเขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นต้น โดยปัจจุบันมีหน่วยงานรัฐ-เอกชนที่ดูแลเรื่องน้ำราว 40 หน่วยงาน และจากข้อมูลจะเห็นว่าปี2560 ปริมาณน้ำไม่แตกต่างกับปี2554 เมื่อมีการบูรณาการข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเร็วจึงทำให้ไม่เกิดเหตุการณ์อุทกภัยขึ้นเหมือนปี2554 "สสช.ต้องสำรวจเพื่อจัดทำข้อมูลให้ครบด้าน เพื่อเป็นประโยชน์เชิงลึกกับประชาชนกว่า 20 ล้านครัวเรือน 2 ล้านสถานประกอบการ จึงจัดกิจกรรม 3 ด้านคือ 1.จ้างที่ปรึกษาราว 40 ล้านบาท ใน 8 มิติ 2.ซื้อแท็บเล็ตราวในงบประมาณราว 200 ล้านบาท และ 3.งบดำเนินงานราว 300 ล้านบาท รวมราว 500 กว่าล้านบาท" ในการจัดซื้อแท็บเล็ตนั้นสศช.ได้ซื้อแท็บเล็ตจำนวน 20,561 เครื่องโดยได้ลงนามในสัญญาจัดซื้อ เมื่อวันที่ 2 ธ.ค.2561 โดยการใช้เวลาประมาณ 1 เดือนใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล 3-4 เดือนก่อนจะนำมาประมวลผลและนำเสนอ ใน 10-12 เดือน โดยคาดว่า เดือนก.ย. 2562 เป็นต้นไปจะอยู่ระหว่างการเชื่อมโยงข้อมูลประเมินผลและรานงานผล เชื่อว่ากลางปีพ.ศ.2563 จะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) แนวทางดำเนินงานคือสำรวจข้อมูลทั่วประเทศจากประชากรที่อยู่จริงโดยใช้แท็บเล็ตสำรวจผ่านแอพพลิเคชั่นสอบถามพร้อมกับอบรมเจ้าหน้าที่ในการสำรวจข้อมูลประชาชนทั่วประเทศแล้วนำมาประมวลผลวิเคราะห์ข้อมูล ต่อคลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติตามดัชนีชี้วัดใน 8 มิติ ทั้งนี้ เมื่อได้ข้อมูลก็จะบูรณาการข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องทั้งที่มีอยู่และดำเนินการจัดเก็บข้อมูลที่ขาดหายไป มีการสนับสนุนและเชื่อมโยงกับคลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ และมีเครื่องมือที่มีคุณภาพประกอบการตัดสินใจด้านนโยบายและการจัดการน้ำ นายภุชพงค์ กล่าวว่า สสช.จะเป็นศูนย์กลางข้อมูลสถิติและสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจของประเทศโดยมีหน้าที่หลัก 3 ด้าน คือ 1. จัดทำข้อมูลสถิติ โดยจัดทำข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ คือ การจัดทำสำมะโน คือ สำมะโนประชากรและเคหะ สำมะโนการเกษตร และดารสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม การจัดทำสำรวจตัวอย่าง อาทิ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านความคิดเห็น 2. การบริหารจัดการระบบสถิติและสารสนเทศของประเทศโดยจัดทำแผนแม่บท ระบบสถิติของประเทศคือจัดทำฐานข้อมูลสถิติของประเทศเพื่อการตัดสินใจจัดทำแผนพัฒนาข้อมูลสถิติโดยการประเมินคุณภาพและจัดทำมาตรฐานสถิติ การบูรณาการและแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลสถิติ และ 3. การบริการด้านสถิติตัวชี้วัดโดยสสช.ผลิตเองและรวบรวมจากแหล่งงานอื่น ให้คำปรึกษาด้านวิชาการสถิติจัดอบรม/ดูงานด้านสถิติ ด้านคอมพิวเตอร์ และให้ความร่วมมือในการดำเนินงานทางเศรษฐกิจทางสถิติทั้งในและต่างประเทศ สำหรับบทบาทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนนั้น สสช.จะให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่มีคุณภาพเป็นระบบยั่งยืนและต่อเนื่องสำหรับใช้ในการวางแผนและกำหนดนโยบายของรัฐบาล ทั้งนี้ สสช.จะทำแผนแม่บทระบบสถิติของประเทศ โดยทำฐานข้อมูลสถิติของประเทศเพื่อการตัดสินใจในสาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยจัดทำแผนพัฒนาข้อมูลสถิติโดยการประเมินคุณภาพข้อมูลสถิติที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโดยจัดทำมาตรฐานสถิติ และการบูรณาการและแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลสถิติเพื่อจัดทำระบบฐานข้อมูลกลาง สำหรับวัตถุประสงค์ของโครงการนั้น เพื่อสร้างระบบการจัดเก็บข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคมในระดับพื้นที่ย่อยเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรในลุ่มน้ำต่างๆ ทั้งพื้นที่ในเขตชลประทานพื้นที่นอกเขตชลประทานและพื้นที่ในเขตเมืองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เพื่อการนำเข้าข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่แล้วระหว่างหน่วยงานและข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานที่ดำเนินการจัดเก็บใหม่เพิ่มเติมในระดับพื้นที่ย่อยให้พร้อมเชื่อมโยงเข้าสู่คลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ เพื่อสร้างดัชนีชี้วัดเชิงระบบและเชิงพื้นที่ในด้านต่างๆที่สนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และเพื่อให้หน่วยงานด้านการวางแผนกำหนดยุทธศาสตร์และหน่วยงานด้านการดูแลงบประมาณมีข้อมูลสนับสนุนการดำเนินการ ทั้งนี้ ดัชนีชี้วัดการจัดการน้ำมี 8 ข้อ คือ 1.ต้นทุนทรัพยากรน้ำทั้งน้ำผิวดินน้ำบาดาล ,2.การจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ครัวเรือนสถานที่ราชการ ,3.วันความมั่นคงของน้ำเพื่อการพัฒนาเพื่อใช้ในการเกษตรอุตสาหกรรมบริการและพลังงาน ,4.ความสมดุลของน้ำต้นทุนและการใช้น้ำ ที่วัดจากต้นทุนน้ำผิวดินต้นทุนน้ำบาดาลการใช้น้ำอุปโภคบริโภคการใช้น้ำเพื่อการเกษตรการใช้น้ำสากรรมการใช้น้ำบริการและการใช้น้ำรักษาระบบนิเวศ ,5.การจัดการคุณภาพน้ำและสิ่งแวดล้อม ,6.การจัดการภัยพิบัติที่เกิดจากน้ำท่วม น้ำแล้ง และน้ำเสีย ,7. การจัดการและอนุรักษณ์ป่าต้นน้ำ และ 8. การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ในการดำเนินโครงการ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการคณะทำงานด้านต่างๆ ของคณะคือ 1.คณะกรรมการกำกับโครงการระบบการจัดเก็บข้อมูล ,2.คณะทำงานดำเนินการจัดอบรม ,3.คณะทำงานเก็บรวบรวมข้อมูล ,4.คณะทำงานระบบเทคโนโลยีในการเก็บรวบรวมข้อมูลและสนับสนุน ,5.คณะทำงานประชาสัมพันธ์ และ 6.คณะทำงานกำหนดหลักเกณฑ์ค่าตอบแทนในการดำเนินงาน สำหรับวัตถุประสงค์ของการอบรมนั้นเพื่อชี้แจงภาพรวมของโครงการ เพื่อทำความเข้าใจการใช้ระบบจัดเก็บข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานระดับพื้นที่เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำต่างๆ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องรับทราบและเข้าใจหน้าที่และความรับผิดชอบในการเก็บรวบรวมข้อมูลในแต่ละระดับเพื่อฝึกปฏิบัติการให้การใช้งานแท็บเล็ตในการรวบรวมข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการสสช.จะนำแท็บเล็ตส่งให้กับหน่วยงานต่างๆ เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป ดดยจัดให้กรมการพัฒนาชุมชน 7,162 ชุด, สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ 6,355 ชุด, กรมทรัพยากรน้ำ 3,624 ชุด, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 1,000 ชุด และสสช. 2,420 ชุด เชื่อว่าเมื่อประเทศไทยมีข้อมูลเรื่องน้ำครบถ้วน จะมทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง 40 หน่วยงาน ได้นำเอาข้อมูลไปต่อยอดเพื่อเป้าหมายในอนาคตต่อไป.