ม.44 งานนี้ต้องถือว่ารัฐบาลเสียสละ เพื่อรักษาอุตสาหกรรมไว้ ยอมเป็นตำบลกระสุนตกเพื่อช่วยอุตสาหกรรมทีวีดิจิตอล และโทรคมนาคมที่ประมูลคลื่นกันในราคาสูง ตามอุปสงค์และอุปธาน ณ.วันเวลานั้น และต่อมาไม่นานก็เกิด Technology Disrupt (สภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้เกิดรูปแบบธุรกิจขึ้นมาใหม่ โดยนวัตกรรมและเทคโนโลยีรูปแบบใหม่เหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อมูลค่าของผลิตภัณฑ์และบริการที่มีอยู่ในอุตสาหกรรมเดิม) โดยพวก OTT เข้ามาทำให้อุตสาหกรรมทีวีพังทลาย โฆษณาหนีไปลงใน Social network FB YouTube Line TV ภาพยนตร์ดูผ่านInternet ได้ ไม่ต้องมีกล่องใดๆ และ Internet TV ได้กลายมาเป็นคู่แข่งกับ Digital TV ที่รัฐเปิดประมูล! เกือบทุกช่องขาดทุน บางช่องถึงกับล้มเลิกกิจการ พนักงานตกงานกันมากมาย! ส่วนในอุตสาหกรรมสื่อสารผู้ให้บริการทั้งBroadbands และ Mobile มีต้นทุนเพิ่ม อย่างมากมายตามการขยายตัวของ OTT ที่ทำให้ปริมาณการใช้งานผ่าน Mobile มีเพิ่มขึ้น จนคลื่นที่ได้มาจากการประมูลราคาแพงทั้ง 2100Mhz, 1800Mhz.และ 900Mhz.ไม่เพียงพอในระยะอันไกล้นี้ แต่การจัดเก็บรายได้กลับไม่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังมีเทคโนโลยีทางโทรคมนาคมใหม่ที่เราเรียกว่า 5G ก็กำลังจะเข้ามามีส่วนสำคัญที่จะผลักดันให้ประเทศเราก้าวไปข้างหน้า เป็น Infrastructures ทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่รัฐบาลและองค์กรกำกับอย่าง กสทช.มองเห็นถึงปัญหา และทางแก้ จึงได้แก้ไขเพื่อให้ผู้ประกอบการทั้งทีวี และสื่อสาร สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างมีคุณภาพ มีการแข่งขันสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนและประเทศชาติ โดยเพื่อให้การช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว ไม่ต้องรอการแก้ข้อสัญญา และขั้นตอนระเบียบทางกฏหมายมากมาย ผ่าน ม.44 เพื่อแก้ปัญหาเป็นการเร่งด่วน ซึ่งไม่ได้ใช้เงินงบประมาณของแผ่นดิน โดยใช้เงินจากการประมูลคลื่นในอนาคตมาแก้ปัญหาทั้ง2อุตสาหกรรม! แต่ได้มีผู้บริหารระดับสูงขององค์กรที่เรียกตัวเองว่า NGO ท่านหนึ่งได้ออกมาโจมตีเรื่องดังกล่าวว่าเป็นการช่วยเหลือนายทุน กลุ่มทุน ทำให้ประเทศเสียรายได้ โจมตีให้องค์กรอิสระอย่าง กสทช.ว่าอยู่ใต้อำนาจนายทุน รวมถึงข้อมูลที่นำเสนอก็บิดเบือนความจริง เพียงเพื่อสร้างชื่อเสียงให้ตนเอง จึงเป็นเรื่องที่น่าเศร้าต่อบรรยากาศการลงทุนที่ควรจะส่งผลดีต่อประเทศกลับต้องหยุดชะงักเพราะบุคคลนี้!