กรมฝนหลวงฯ เร่งขึ้นทำฝนช่วยเหลือพื้นที่เกษตรขาดน้ำ ระบุมีฝนตกหลายจังหวัดภาคกลาง อีสานและภาคใต้ตอนบน เมื่อวันที่ 10 เม.ย.62 นายปนิธิ เสมอวงษ์ รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ด้านปฏิบัติการ เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ (9 เม.ย. 2562) หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง 6 หน่วยฯ ได้แก่ หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.ลพบุรี กาญจนบุรี อุดรธานี นครราชสีมา จันทบุรี และหัวหิน ได้ขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง เพิ่มความชุ่มชื้นให้พื้นที่ป่าไม้ และยับยั้งความรุนแรงของพายุลูกเห็บ ทำให้มีฝนตกบริเวณพื้นที่การเกษตรบางแห่งของ จ.ลพบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครราชสีมา สุรินทร์ ตราด ประจวบคีรีขันธ์ และพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ โดยแผนปฏิบัติการฝนหลวง การตรวจวัดอากาศของสถานีเรดาร์สัตหีบ จ.ชลบุรี พบว่ามีความชื้นที่ระดับการเกิดเมฆ 76% ความชื้นที่ระดับการพัฒนาตัวของเมฆ 61% และค่าดัชนีการยกตัวของอากาศ -4.8 หน่วยปฏิบัติการฯ จ.จันทบุรี จึงตัดสินใจขึ้นปฏิบัติการขั้นตอนที่ 1 (ก่อเมฆ) โดยมีเป้าหมายช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร อ.โป่งน้ำร้อน อ.สอยดาว จ.จันทบุรี พื้นที่ภาคเหนือ คุณภาพอากาศส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ขณะที่บริเวณ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ยังอยู่ในเกณฑ์ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และจากผลการตรวจสภาพอากาศของสถานีเรดาร์ร้องกวาง จ.แพร่ และสถานีเรดาร์อมก๋อย จ.เชียงใหม่ พบว่ามีความชื้นที่ระดับการเกิดเมฆ 41% (ร้องกวาง) 38% (อมก๋อย) ความชื้นที่ระดับการพัฒนาตัวของเมฆ 39% (ร้องกวาง) 20% (อมก๋อย) และค่าดัชนีการยกตัวของอากาศ -1.1 (ร้องกวาง) 2.6 (อมก๋อย) หน่วยปฏิบัติการฯ จ.พิษณุโลก และหน่วยฯ จ.เชียงใหม่ จึงขอติดตามสภาพอากาศระหว่างวัน หากมีความเหมาะสมจะวางแผนช่วยเหลือพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาฝุ่นละอองและพื้นที่การเกษตรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกณฑ์คุณภาพอากาศเริ่มดีขึ้นในหลายจังหวัด โดยที่ จ.ขอนแก่น และเลยอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ส่วน จ.อุบลราชธานี อยู่เกณฑ์เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และจากผลการตรวจอากาศของสถานีเรดาร์บ้านผือ จ.อุดรธานี และสถานีเรดาร์พิมาย จ.นครราชสีมา พบว่ามีความชื้นที่ระดับเกิดเมฆ 48% (บ้านผือ) 60% (พิมาย) ความชื้นที่ระดับการพัฒนาตัวของเมฆ 39% (บ้านผือ) 71% (พิมาย) และค่าดัชนีการยกตัวของอากาศ -1.1 (บ้านผือ) -3.0 (พิมาย) หน่วยปฏิบัติการฯ จ.นครราชสีมา จึงตัดสินใจขึ้นปฏิบัติการภารกิจที่ 1 ขั้นตอนที่ 1 (ก่อเมฆ) บริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ อ.ปราสาท ทิศตะวันตก อ.บัวเชด จ.สุรินทร์ โดยมีเป้าหมายเป็นพื้นที่การเกษตรและพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคบางแห่งของ จ.สุรินทร์ และภารกิจที่ 2 ขั้นตอนที่ 1 (ก่อเมฆ) บริเวณทิศใต้ อ.ภูสิงห์ ทิศใต้ อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ มีเป้าหมายช่วยเหลือพื้นที่ที่ประสบภัยแล้ง อ.ภูสิงห์ อ.ขุขันธ์ อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ ด้านหน่วยฯ จ.อุดรธานี ยังขอติดตามสภาพอากาศระหว่างวัน หากมีความเหมาะสมจะวางแผนขึ้นปฏิบัติการบริเวณพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบทันที และพื้นที่ภาคใต้ด้วยยังติดตามสภาพอากาศ