สืบเนื่องจากปัญหาการเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ มียอดร้องเรียนมากเป็นอันดับ 1 เพราะบริษัทประกันไม่ยอมจ่ายค่าขาดประโยชน์ ประชาชนขาดความรู้ หรือมีการจ่ายในอัตราที่ต่ำ จึงเป็นสาเหตุให้ต้องมีการปรับเกณฑ์ใหม่ดังกล่าว กระทั่งทำให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ระบุว่า คปภ. ได้ปรับปรุงความคุ้มครองของค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ให้แก่เจ้าของรถยนต์ที่ทำประกันและอยู่ระหว่างนำรถไปเคลมซ่อมแล้ว โดยกำหนดจ่ายเป็นสามกลุ่ม ได้แก่ รถยนต์ส่วนบุคคลขนาดไม่เกิน 7 ที่นั่ง อัตราไม่น้อยกว่าวันละ 500 บาท ,รถยนต์รับจ้างสาธารณะขนาดไม่เกิน 7 ที่นั่ง อัตราไม่น้อยกว่าวันละ 700 บาท และรถยนต์ขนาดเกินกว่า 7 ที่นั่ง อัตราไม่น้อยกว่าวันละ 1,000 บาท แหล่งข่าวจากวงการประกันภัย เปิดเผยว่า ในเร็วๆวันนี้สมาคมประกันวินาศภัยไทยจะได้ทำการหารือกับสมาคมอู่ซ่อมรถฯ เพื่อกำหนดมาตรฐานในการซ่อมรถยนต์ให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน เนื่องจากทุกวันนี้ไม่มีมาตรฐานกำหนด จึงทำให้อู่ซ่อมรถแต่ละแห่งใช้เวลาซ่อมแผลรถยนต์ที่เสียหายจากการชนเป็นระยะเวลาแตกต่างกันออกไป ดังจะเห็นความลักลั่นในการซ่อมว่า แผลๆหนึ่งที่เสียหายในวงความเสียหายเดียวกัน อู่แห่งหนึ่งใช้เวลาซ่อม 7 วัน ขณะที่อีกอู่หนึ่งใช้ระยะเวลาซ่อม 10 หรือ 15 วัน หรือระยะเวลาเกินเลยไปกว่านั้นก็มี หรือบางครั้งต้องรออะไหล่นำเข้า หรืออะไหล่ขาดตลาด ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวส่งผลกระทบต่อบริษัทประกันภัยเป็นอย่างมากในเวลานี้ เพราะหากระยะเวลาการซ่อมของลูกค้าถูกทอดยาวนานออกไป บริษัทประกันฯยิ่งต้องจ่ายค่าขาดประโยชน์เพิ่มขึ้นตาม ทั้งนี้จะแตกต่างจากอดีตที่ผ่านๆมาบริษัทแทบจะไม่ค่อยได้จ่ายค่าขาดประโยชน์ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถเลย​ หรือหากมีการเรียกร้อง​ ก็จ่ายให้ในวงเงิน300บาทหรือ400บาทต่อวันเท่านั้น​ ซึ่งให้น้อยให้มาก​ ก็แตกต่างไปตามนโยบายของแต่ละบริษัทประกันแต่ละบริษัทประกัน​ กระทั่งมาระยะหลังมีผู้ร้องเรียนว่ามีการจ่ายไม่เท่าเทียมกัน จนเป็นที่มาทางสำนักงานคปภ.จึงได้ออกประกาศให้มีการปรับปรุงกฏระเบียบในการจ่ายใหม่เป็นบรรทัดฐานเดียวกันและมีผลบังคับใช้ต้นปี2562​ กระทั่งทำให้บริษัทต่างแบกภาระการจ่ายค่าขาดประโยชน์จากใช้รถสูงขึ้น​ จึงเป็นเหตุผลให้ล่าสุดบริษัทต้องหาทางยริหารจัดการในการนำรถเข้าซ่อมอู่ทั้งในอู่ในเครือและอู่นอกเครือบริษัทประกันใหม่​ โดยพยายามแก้ปัญหาด้วยการลดจำนวนรถที่นำเข้าจอดแช่รอคิวการซ่อมในอู่ต่างๆลง​ เพราะบริษัทประกันจะคิดค่าประโยชน์จากการใช้รถโดยนับแต่วันที่รถถูกนำเข้าซ่อมในอู่ซ่อมนั้นๆ​ ดังนั้นหากบริษัทประกันรายไหนไม่ปรับกลยุทธ์ในการบริหารจัดการจุดนี้​ บริษัทประกันรายนั้นๆก็อาจต้องแบกภาระจ่ายขาดประโยชน์จากการใช้รถเพิ่มสูงขึ้นหลายเท่าตัวทีเดียว​ ภายใต้กฎระเบียบการจ่ายค่าขาดประโยชน์จากใช้รถที่คปภ.ประกาศใช้ใหม่ปีนี้อย่างแน่นอน แหล่งข่าวรายดังกล่าว ยังกล่าวอีกว่า ยิ่งช่วงเทศกาลสงกรานต์หรือช่วงวันหยุดยาวที่จะมาถึงนี้ แต่ละบริษัทประกันฯเวลานี้ก็มีการปรับกลยุทธ์หนีตายต่างๆกันออกไป​ เพื่อล้างปริมาณหรือลดจำนวนรถที่ค้างในอู่ซ่อมให้น้อยที่สุด​ เหลือไว้เฉพาะรถที่เสียหายหนักและขับไม่ได้เท่านั้น​ เพื่อไม่ให้ตกค้าง​ หรือบางอู่ลักลั่น​ เพราะกลัวเสียลูกค้า​ เลยปล่อยให้มีการนำรถจองคิวเข้ามาซ่อมกันมาก โดยรถบางคันเจ้าของรถที่มีประกันบางทีก็นำรถมาจอดทิ้งรอการซ่อมไว้ข่วงวันหยุดยาวนี้​ เพื่อตัวเองจะได้เดินทางไปพักผ่อนหรือท่องเที่ยวตามต่างจังหวัดหรือในต่างประเทศ หรือไม่ก็เดินทางกลับภูมิลำเนาบ้านเกิด ซึ่งเป็นเรื่องปกติในแต่ละทุกปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ หรือปีใหม่ ก็ยังปฎิบัติกันอยู่ โดยอู่และลูกค้าต่างยินยอม ซึ่งที่ผ่านมาเรื่องค่าขาดประโยชน์ยังไม่แพร่หลายหรือมีคนรู้กันมาก​ บริษัทประกันจ่ายบ้าง​ หรือไม่จ่ายบ้าง​ ก็สุดแล้วแต่กรณีไป​ ก็ยังไม่เจ็บตัวเสียเท่าไหร่​ ทว่า ในปี 2562 ตั้งแต่ทางคปภ.กำหนดเกณฑ์การจ่ายขั้นต่ำสำหรับค่าขาดประโยชน์มีอย่างน้อยตั้งแต่ 500 บาท ,700 บาท และ1,000 บาท ทำให้บริษัทประกันต่างพากันแบกรับภาระการจ่ายค่าขาดประโยชน์ดังกล่าวไม่ไหว จนเป็นที่มาให้ล่าสุดต้องออกมาตรการควบคุมเรื่องนี้กัน โดยเฉพาะในช่วงหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ปีนี้น่าจะเป็นปีแรกประเดิมปรับตัวของบริษัทประกัน โดยคาดว่าแต่ละแห่งน่าจะสั่งการให้อู่ในเครือกำหนดเกณฑ์ระยะเวลาการซ่อมแผลต่างๆออกมาว่า แผลต่างๆใช้ระยะเวลาการซ่อมกี่วันกันแน่ เพื่อจะได้มีความชัดเจน อย่างเช่น แผลรถชนหนึ่งแผลจุดนี้ใช้เวลา 10 วันในการซ่อม หากอู่ในเครือทำการซ่อมแล้วยืดเยื้อหรือเกินกว่าระยะเวลาที่ตกลกเอาไว้​ อู่ในเครือบริษัทประกันนั้นๆก็ต้องรับภาระค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถให้กับลูกค้าในส่วนที่เกินมานั้นๆแทนบริษัทประกันไป บางบริษัทประกันฯก็มีการสั่งอู่ในเครือห้ามรับ สำหรับกรณีรถคันใดที่จะทำการซ่อม แต่รถยังสามารถขับเคลื่อนหรือยังขับเคบื่อนต่อไปได้ ก็ให้ผุู้เอาประกันขับหรือใช้รถที่เสียหายไปก่อน หลังผ่านพ้นสงกรานต์ไป จึงค่อยนำรถเข้ามาทำการซ่อม ดีกว่าจะนำรถมาจอดแช่ไว้ในอู่ อีกทั้งเป็นการป้องกันอู่นั่นๆรู้เห็นเป็นใจกับลูกค้าในการให้ได้รับสิทธิประโยชน์ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถอีกทางหนึ่งด้วย แต่หากเป็นอู่นอกเครือหรือที่ลูกค้าเลือกนำรถเข้าซ่อม ก็จะมีการประเมินจำนวนวันที่ทำการซ่อม​ โดยบริษัทประกันจะให้อู่ในเครือเช่นกัน โดยบริษัทประกันจะให้อู่ที่ลูกค้าเลือกนำรถเข้าซ่อมระบุระยะเวลาในการทำการซ่อมที่ชัดเจน จากนั้นบริษัทประกันก็จะให้อู่ในเครือพิจารณาดู หากอู่ในเครือเห็นว่า ใช้ระยะเวลาซ่อมสั้นลงหรือสั้นกว่า ทางลูกค้าก็ต้องรับผิดชอบจำนวนวันที่ซ่อมเกินมา เพราะถือว่า ลูกค้าเป็นฝ่ายเลือกอู่นอกเครือที่จะทำการซ่อมรถเอง อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งเงื่อนไขต่างๆจุดนี้น่าเป็นกังวลอย่างย่ิ่งสำหรับเจ้าของรถที่มีประกันแล้วจะนำรถเข้าซ่อมในระหว่างคาบเกี่ยววันหยุดยาวสงกรานต์ปีนี้เป็นอย่างยิ่ง เกรงว่าจะไม่ได้รับความสะดวก หากบ้ริษัทประกันออกมาตรการเข้มงวดมาคุมเข้มอู่ซ่อมรถในเครือกันเป็นแถว เพื่อหนีตายจากผลกระทบการเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถใหม่ที่คปภ.ระบุนำออกมาใช้ตั้งแต่ต้นปี 2562