เสกสรร สิทธาคม [email protected] “...เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิตรากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน  เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง   สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม  แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็มและลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป...”  พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร  จากวารสารชัยพัฒนา 1) มีทัศนคติที่ดีที่ถูกตองตอบานเมือง 2) มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง 3) มีคุณธรรม และ 7) มีงาน มีอาชีพ สามารถเลี้ยงตนเองเลี้ยงครอบครัวไดและเปนพลเมืองที่ดี พระราโชบายดานการศึกษา มุงสรางพื้นฐานใหแกผูเรียน 4 ดาน ในสมเด็จพระเจาอยูหัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ที่ทรงสืบสานพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในการสรางคนดีของบานเมือง ช่วงวันที่ 8-11 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มอบหมายให้ศูนย์พัฒนา ส่งเสริม ประสานงาน กิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษ ให้มีการประชุมดำเนินโครงการอบรมขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอันเนื่องมาจากพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ปลูกฝังให้เกิดความรู้ความเข้าใจแล้วลงมือปฏิบัติในชีวิตประจำวันเป็นแบบอย่างแก่คณะครูที่ปรึกษาแก่นักเรียนนักศึกษาที่เรียนอยู่ในวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี(วษท.)ทั่วประเทศที่ได้รับเลือกให้เป็นผู้นำองค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย(อกท.)ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เพื่อหล่อหลอมปลูกฝังอบรมบ่มนิสัยผ่านการอบรมอย่างเข้มข้นในโครงการอบรมขับเคลื่อนหลักการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯดังกล่าวแล้วขยายผลการเรียนรู้ปฏิบัติต่อเนื่องผ่านสถานการศึกษาสายวิชาชีพสังกัดสอศ.ทั่วประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศเกือบ 1,000 แห่งสนองพระราโชบายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานด้านการศึกษษมุ่งสร้างพื้นฐานแก่ผู้เรียน 4 ข้อ ด้วยทรงตั้งพระราชหฤทัย สืบสาน รักษา ต่อยอด แนวพระราชดำริให้สถานศึกษาสร้างคนดีให้บ้านเมือง คณะครูปี่ปรึกษาอกท.ฯที่เข้าร่วมโครงการฯมีราวครึ่งร้อยท่าน นศ.แกนนำพร้อมคณะทำงานรวมแล้วประมาณ 100 ชีวิตเข้าร่วมอบการขับเคลื่อนหลักการดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริดังกล่าวไปพร้อมๆกันนำโดยนายราชิน ธารวาวแววที่ปรึกษาอกท.หน่วยแพร่ วษท.แพร่ มีดร.ชาติชาย เกตุพรหมผู้อำนวยการวษท.ร้อยเอ็ดในฐานะประธานกรรมการอำนวยการอกท.เป็นประธานการประชุม มีดร.ภริดา ภู่ศิริหัวหน้างานฝึกอบรมโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาเป็นวิทยากร ทุกท่านมีส่วนสำคัญในการเพิ่มพูนองค์ความรู้หลักการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯผ่านการปฏิบัติจริงด้วยอาชีพเกษตรกรที่น้อมนำหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ฯปฏิบัติทั้งขณะที่เรียนสายอาชีวะและหลังจบยึดอาชีพเกษตรกรอย่างจริงจัง รวมถึงได้รับการถ่ายทอดทั้งครูที่ปรึกษา คณะแกนนำที่ยังเป็นนศ.ของแต่ละวิทยาลัยวษท.ทั่วประเทศนำปฏิบัติเป็นแบบอย่างและขยายผลไปยังเพื่อนๆ น้องๆนศ.ในวษท.ที่ตนสังกัด ขยายผลไปยังเกษตรกรในพื้นที่ต่อไปอย่างกว้างขวางด้วย นโยบายการจัดให้มีการอบรมหลักการประกอบอาชีพตามเกษตรทฤษฎีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริบนพื้นฐานการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯผู้บริหารสอศ.ได้เน้นให้ทุกสถานศึกษามุ่งสืบสานพระราชปณิธานและสืบสานพระราโชบาย ให้สถานศึกษาสังกัดอาชีวะน้อมนำ เพื่อรวมพลังหล่อหลอมคนดีมีความรู้ความสามารถเป็นกำลังของชาติบ้านเมือง ของครอบครัว สืบสานพระราชปณิธานถวายเป็นพระราชกุศล เฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนที่ศึกษาสายอาชีวะเกษตรและเทคโนโลยีเป็นต้นที่เตรียมตัวเป็นยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ในวิถีแห่งการดำเนินชีวิตจริงนักเรียนนักศึกษาสายเกษตรและเทคโนโลยี(วษท.)และวิทยาลัยการอาชีพเป็นต้นได้รับการอบรมบ่มนิสัยในการศึกษาด้านการเกษตรกรรมผ่านการเรียนรู้และปฏิบัติทุกสายวิชาชีพทั้งด้านพืช ด้านปศุสัตว์ ด้านประมง นอกจากการปูรากฐานแห่งภูมิปัญญาไทยแล้ว ยังได้ศึกษาหลักวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการเกษตร สร้างนวัตกรรมนำสนองภูมิปัญญาดั้งเดิมโดยน้อมนำหลักคิดเกษตรทฤษฎีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริมาเป็นตัวขับเคลื่อน ศึกษาเรียนรู้และลงมือปฏัติด้วยเข้าใจลึกซึ้งตั้งแต่ปัจจัยสำคัญคือสร้างแหล่งน้ำที่เหมาะสมกับพื้นที่ อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ พัฒนาดิน ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯที่อบรมบ่มนิสัยตัวเองไม่ให้ตั้งอยู่ในความโลภ มีความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันพึ่งพาอาศัยกัน เพื่อเป้าหมายคือความสุขอย่างยั่งยืนพออยู่พอกินช่วยเหลือตัวเองได้ด้วยการนำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือเชื่อมโยงภูมิปัญญา นศ.เกษตรฯกลุ่มที่เกริ่นข้างต้นจากทุกวิทยาลัยเกษตรฯซึ่งได้รับเลือกให้เป็นผู้นำ องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย(อกท.)ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เป็นแกนนำกลุ่มตัวแทนสมาชิกทั่วประเทศและรวมถึงสมาชิกจากวิทยาลัยเกษตรในกลุ่มประเทศอาเซียนอีกหลายประเทศ ที่เข้าร่วมอบรมครั้งนี้เป็นแกนนำมวลสมาชิกซึ่งเป็นนักเรียนนักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่วิทยาลัยวษท.วิทยาลัยการอาชีพเป็นต้น รวมถึงเชื่อมโยงอดีตมวลสมาชิกที่เรียนจบวษท.ไปแล้ว ขยายผลหลักการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯผ่านการประกอบอาชีพเกษตรกรรมตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ องค์ความรู้เทคโนโลยที่มาเชื่อมโยงภูมิปัญญาไทยไปยังเกษตรกรรุ่นพ่อแม่ ลุงป้าน้าอา โดยมุ่งเน้นพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ที่มีโอกาสนำนวัตกรรมอันเกิดจากเทคโนโลยีไปสร้างผลผลิตที่ปลอดภัยต่อการดำเนินชีวิตท่ามกลางการฟื้นฟูรักษาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม โดยวิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี ดำเนินโครงการพัฒนาแกนนำ อบรมขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯ ร่วมกับองค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดขึ้น ณ วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(เลขาธิการกอศ.) เปิดเผยว่า การขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อปลูกฝังให้เกิดงอกงามในสำนึกแห่งภูมิสติปัญญาเป็นหลักในนักเรียนนักศึกษาสายอาชีวะเพื่อเติบโตเป็นพลเมืองดีผ่านหลักคุณธรรมจริยธรรมตามพระราชดำริ ซึ่งคือศาสตร์พระราชาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำรัส แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมากว่า 40 ปี โดยทรงเน้นย้ำว่าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยแก้ไขปัญหาเพื่อให้รอดพ้นจากทุกข์และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมั่นคงและมีความสุขยั่งยืน เป็นแนวทาง การดำเนินชีวิตและปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับ บนพื้นฐานของความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัว เสริมสร้างความเข้มแข็งสู่ความยั่งยืนของชุมชน ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร มีพระบรมราโชบายด้านการศึกษาที่มุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน คือการมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง การมีงานทำมีอาชีพ และการเป็นพลเมืองดี รวมทั้งการทรงเดินตามแนวพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 เลขาธิการกอศ. กล่าวอีกว่า เพื่อเป็นการสืบสาน รักษา และต่อยอด และดำเนินงานสนองพระราชดำริและพระราโชบายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงน้อมนำพระราชกระแสรับสั่งต่างๆหรือศาสตร์พระราชา สู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ผ่านการจัดการอาชีวศึกษา ตั้งแต่ถ่ายทอดความรู้ ถ่ายทอดฝีมือความชำนาญทางอาชีพผ่านการลงมือทำจนเกิดความชำนาญ ถ่ายทอดความรู้ด้านการจัดการ การคิดผลิตนวัตกรรม การตลาด ไปจนกระทั่งการพัฒนาอุปนิสัย สร้างความสำนึกรับผิดชอบในหน้าที่ สร้างความเป็นพลเมืองที่ดี ไม่โลภ รู้จักให้ มีความเพียร รักสามัคคีด้วยมีเมตตาต่อกันปลูกฝังให้เกิดขึ้นกับนักเรียน นักศึกษา ซึ่งปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการพัฒนาในทุกๆ ด้าน รวมทั้งใช้ในการเตรียมความพร้อมของคน ให้มีทุนทางปัญญาอย่างยั่งยืน มีศักยภาพในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่เรียนรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม รู้จักสิทธิหน้าที่ของตนเองและผู้อื่น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ครูและนักเรียน นักศึกษาเพื่อให้สามารถนำไปปรับใช้ในเรียนการสอน และการดำเนินชีวิตได้จริง “ เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน โดยมุ่งเน้นพัฒนาสถานศึกษาในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯไปจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อปลูกฝังให้เด็ก เยาวชน และประชาชนมีคุณลักษณะ "อยู่อย่างพอเพียง" โดยได้มีการประกาศนโยบายการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯภาคการศึกษา เพื่อให้องค์กรหลัก หน่วยงานและสถานศึกษา ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องซึ่งโครงการดังกล่าวจะพัฒนาครูที่ปรึกษา อกท. ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบกระบวนการเรียนรู้เพื่อจัดกิจกรรม อกท.ฐานพอเพียง เพื่อส่งเสริมและปลูกฝังให้แกนนำ นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอันเนื่องมาจากพระราชดำริไปปรับใช้ในการดำเนินกิจกรรม อกท. และเป็นพลังในการขับเคลื่อนหน่วย อกท. เศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ โดยผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจและใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินกิจกรรม อกท. และทักษะการจัดกิจกรรม การทำงานเป็นทีมจนสามารถนำความรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯไปขับเคลื่อนการดำเนินงานของหน่วย อกท. เศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบขยายผลสู่สมาชิกและเกษตรกรในวงกว้างได้อย่างมีประสิทธิภาพในฐานะยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ต่อไป”ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์เลขาธิการกอศ.กล่าวทิ้งท้าย