ปัจจุบันอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะด้านท่องเที่ยวต่างต้องพึงพาเทคโนโลยี นวัตกรรมในรูปแบบดิจิตอลที่ถูกสร้างขึ้นมาอำนวยความความสะดวกสแก่ผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้หน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนต่างเดินหน้าพัฒนาเครื่องมือ เพื่อสามารถรวบรวมข้อมูลอัจฉริยะ ผสานการวิเคราะห์ ไว้ตอบโจทย์ลฟ์สไตล์การบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ตอบโจทย์นักธุรกิจ ซึ่ง นางศุภวรรณ ตีระรัตน์ รองผู้อำนวยการ สายงานพัฒนาและนวัตกรรม สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ กล่าวว่า ทางทีเส็บได้ดึงการใช้ข้อมูลอัจฉริยะ (Intelligence) ผสานการวิเคราะห์ (Data Analytics) ตอบโจทย์พฤติกรรมนักธุรกิจไมซ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยนำ 6 ยุทธศาสตร์ และแผนงาน 16 โครงการ มาพัฒนาธุรกิจไมซ์ ผ่านนวัตกรรมและข้อมูลตลอดระยะ 3 ปี (2562-2564) ซึ่งเวลานี้ได้เปิดตัวฐานข้อมูลธุรกิจไมซ์ผ่านทางเว็บไซต์ (MICE Intelligence & Resource Center) ให้บริการทุกกลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจ นักศึกษาและประชาชน ร่วมขับเคลื่อนธุรกิจไมซ์ด้วยข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ หวังกระตุ้นผู้ประกอบการไมซ์ไทย โดย นางศุภวรรณ ยังกล่าวถึง การเปิดตัวเปิดตัวฐานข้อมูลธุรกิจไมซ์ผ่านทางเว็บไซต์ (MICE Intelligence & Resource Center) ให้บริการทุกกลุ่มเป้าหมาย ถือเป็นการรองรับพฤติกรรมความต้องการของนักเดินทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การจัดงานมุ่งเน้นการผสมผสานครบวงจรภายในงาน ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมงานที่มีเวลาเข้าร่วมงานน้อยแต่ต้องการผลลัพธ์สูงสุดได้เป็นอย่างดี ช่วงที่ผ่านมาอุตสาหกรรมไมซ์ในประเทศไทยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 5-10% ซึ่งหากมีเครื่องมือทางนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาขับเคลื่อน น่าจะมีโอกาสเติบโตได้ถึงปีละ 20% ขณะเดียวกันเทคโนโลยีจะเป็นสิ่งที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมไมซ์ทุกกลุ่มได้เข้าถึงข้อมูลอย่างเท่าเทียมกัน อีกทั้งการสร้างพันธมิตรที่มีความแข็งแกร่ง ขยายจากผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเดิม สู่สตาร์ทอัพหรือกลุ่มธุรกิจอื่นที่ใช้ไมซ์เป็นแพลทฟอร์ม จะช่วยทำให้วงจรของธุรกิจไมซ์กว้างและเข้มแข็งขึ้น สร้างโอกาสทางธุรกิจ การแลกเปลี่ยนความรู้และการต่อยอดอุตสาหกรรมให้ดียิ่งขึ้น นำไปสู่ความสามารถทางการแข่งขันที่ยั่งยืนต่อไป เพิ่มการบริการพิเศษ ด้าน นางพิทยา วรปัญญาสกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจบัตรเครดิตเคทีซี หรือบริษัท บัตรกรุงไทย กล่าวว่าการเติบโตด้านออนไลน์ เป็นการเปลี่ยนไปตามพฤติกรรมของลูกค้า ทั้งในเรื่องท่องเที่ยว และการใช้อื่นๆ ซึ่งภาพรวมของยอดท่องเที่ยวผ่านออนไลน์มีประมาณ 40% เมื่อเทียบกับยอดออนไลน์ทั้งหมด จากเดิมที่มีประมาณ 50%++ แต่เนื่องจากในช่วงหลังเมื่อผู้บริโภคเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ จากเดิมที่ไปช็อปปิ้งตามสถานที่ต่างๆ มาเป็นช็อปปิ้งออนไลน์ จึงทำให้หมวดใช้จ่ายอื่นๆ ที่ผ่านออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ หมวดท่องเที่ยวของธุรกิจบัตรเครดิตเคทีซี เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ของการทำตลาดมาเป็นเวลาหลายสิบปี เพราะฉะนั้นในแต่ละปีจะมีความแตกต่างมากขึ้น ทั้งในเรื่องการบริการที่เคทีซีได้เดินหน้าขยายจำนวนพันธมิตรในหมวดท่องเที่ยว เพื่อหาสิทธิพิเศษที่โดนใจสมาชิก รวมถึงเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และบริการด้านการท่องเที่ยวซึ่งมาจากข้อมูลจากด้านต่างๆ โดย เฉพาะข้อมูลทางด้านออนไลน์ที่มีประโยชน์เป็นอย่างมาก เพราะสามารถนำไปจัดกิจกรรม เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การท่องเที่ยวที่แตกต่างของสมาชิก โดยการนำเสนอรูปแบบการท่องเที่ยวทางเลือก อาทิ การท่องเที่ยวที่เหมาะกับช่วงอายุ หรือไลฟ์สไตล์ความชอบที่แตกต่างกัน เช่น แนวศิลปและวัฒนธรรม แบบแนวธรรมชาติ การท่องเที่ยวแบบลำพังคนคนเดียว เที่ยวกับกลุ่มเพื่อนฝูง หรือท่องเที่ยวแบบครอบครัว เป็นต้น ปรับตัวสู่ยุคดิจิตอล ขณะที่ นางสาว พิมพ์ปวีณ์ นพกิจกำจร ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารการตลาด เอ็กซ์พีเดีย กรุ๊ป กล่าวว่า ได้เปิดตัวสองฟีเจอร์ใหม่ในเว็บไซต์เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยเหลือโรงแรมพาร์ทเนอร์ที่ไม่คุ้นเคยกับการนำเสนอห้องพักออนไลน์ให้ปรับตัวสู่โลกยุคดิจิตอลได้ง่ายขึ้น ซึ่งจากผลการวิจัย พบว่า นักเดินทางจำนวนมากกว่าครึ่งใช้ตัวแทนท่องเที่ยวออนไลน์ (โอทีเอ) ในการวางแผนการเดินทาง โดยเป็นช่องทางที่ทำยอดจองได้มากที่สุดเมื่อเทียบกับช่องทางการจองอื่นๆ ดังนั้นทั้งสองฟีเจอร์ที่เปิดใช้งานใน เอ็กซ์พีเดีย กรุ๊ป พาร์ทเนอร์ เซ็นทรัล จะช่วยให้โรงแรมต่างๆ สามารถจัดการกับธุรกิจ ดึงดูดนักเดินทาง และเพิ่มรายรับได้อย่างเต็มที่ สำหรับ โค-เบราซ์ (Co-Browse) คือเครื่องมือแก้ไขปัญหาที่โรงแรมพาร์ทเนอร์พบขณะใช้งานเมนูต่างๆ ในแพลตฟอร์มพาร์ทเนอร์ เซ็นทรัลของเอ็กซ์พีเดีย กรุ๊ป ส่วน อะแด็พทีฟ แลนดิ้ง เพจ จะแสดงเนื้อหาและคำแนะนำสำหรับโรงแรมพาร์ทเนอร์แต่ละแห่งโดยเฉพาะที่โฮมเพจพาร์ทเนอร์ เซ็นทรัล โดยอ้างอิงจากความต้องการและความคุ้นเคยกับเครื่องมือต่างๆ ใน Partner Central ในขณะนั้น เพื่อให้โรงแรมพาร์ทเนอร์เข้าใจวิธีใช้เครื่องมือสำคัญและงานที่ต้องจัดการให้ทันเวลา