เสกสรร สิทธาคม [email protected] “1) มีทัศนคติที่ดีที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง 2) มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง 3) มีคุณธรรม และ 4) มีงาน มีอาชีพ สามารถเลี้ยงตนเองเลี้ยงครอบครัวได้และเป็นพลเมืองที่ดี” พระราโชบายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้านการศึกษามุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน 4 ด้าน เข้าเรื่องกล้วยไข่จังหวัดกำแพงเพชร ว่ากันว่าk“กล้วยไข่” เป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดกําแพงเพชร จนถึงว่ามีการพัฒนาพันธุ์เฉพาะคือพันธุ์กำแพงเพชรขึ้นมาเลยทีเดียว เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกกล้วยไข่พันธุ์กําแพงเพชร ผ่านมาจนวันนี้ยังคงใช้ปุ๋ยเคมีอยู่มากทีเดียว ส่วนที่ได้รับองค์ความรู้สู่การปฏิบัติเป็นชีวิตประจำวันตามหลักคิดแล้วนำสู่การปฏิบัติคือหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอันเนื่องมาจากพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรโดยน้อมนำหลักทฤษฎีใหม่แนวพระราชดำริอีกเช่นกันไปปรับประยุกต์ใช้แล้วองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญคือใช้ปุ๋ยอินทรีย์กับความเจริญงอกงามกล้วยไข่พันธุ์กำแพงเพชร จากข้อมูลว่าใช้มูลไก่และกากชานอ้อย อัตรา ไร่ละ 1,000 กิโลกรัมผลผลิตที่ออกมาไม่ได้แพ้ปุ๋ยเคมีในทุกทางทั้งความเจริญเติบโตของต้น อายุให้ปลีออกเป็นเครือก็พอกัน ผลใหญ่และปริมาณไม่ต่างกันแต่ค่าใช้จ่ายลดลง แต่ที่เกษตรกรส่วนใหญ่น้อมนำองค์ความรู้และวิถีปฏิบัติตามแนวพระราชดำริเกษตรทฤษฎีใหม่นอกจากลดค่าใช้จ่าย โดยใช้วัสดุไร้ค่าในพื้นที่มาพัฒนาให้เกิดประโยชน์แล้วยังได้มีส่วนสืบสานรักษาฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติตามแนวพระราชดำริที่ว่าทรงชี้ให้เห็นถึงปัจจัยสำคัญต่อความเจริญงอกงามของสรรพชีวิตโดยเฉพาะการเกษตรหนึ่งเลยคือแหล่งน้ำ พืชพันธุ์ ป่าไม้ ดินที่เกื้อกูลกันอย่างไม่อาจขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้แม้ประกอบอาชีพอื่นปัจจัยที่ว่าทั้งหมดก็สำคัญไม่แพ้กัน ผลผลิตเป็นรูปธรรมที่น่าสนใจจากโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชรกลุ่มที่เกริ่นถึงมาแต่ตอนที่แล้ว ได้ค้นคว้าหาสูตรปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้กับกล้วยไข่พันธุ์กำแพงเพชรเป็นสำคัญจากการจุดประกายความคิดของครูอาจารย์ที่ปรึกษา โดยการสนับสนุนของผู้บริหารวิทยาลัยอย่างผอ.ดร.ทองคำ ตินะลา นำสู่การลงมือศึกษาค้นคว้าจริงจังต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี2560 เป็นต้นมาคือ “การใช้ชนิดของปุ๋ยอินทรีย์”ที่ใช้มูลสัตว์ 3 ชนิดคือวัว สุกรและไก่ ใช้พิสูจน์การปลูกกล้วยไข่ จนที่สุดก็ได้สูตรที่ลงตัวได้ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์ที่หาได้ในท้องถิ่นพัฒนาความเจริญงอกงามของต้นกล้วย ผลผลิต ไปจนถึงกำหนดค่าสีและความหวานได้จริงเป็นสีและความหวานที่อยู่ในค่านิยมผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่นิยมรับประทานกล้วยไข่ ดร.ทองคำ ตินะลาผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชรและครูที่ปรึกษาทีมค้นคว้าปุ๋ยอินทรีย์บอกย้ำว่าการให้โอกาสเยาวชนค้นคว้าหาความรู้ปูทางสู่การยึดเป็นอาชีพกิจกรรมนอกหลักสูตรมุ่งให้เกิดผลผลิตนวัตกรรมที่เกิดประโยชน์แก่ท้องถิ่น ประโยชน์ส่วนรวมได้น้อมนำเอาหลักการดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯเพราะจะทำให้นักศึกษาเติบโตก้าวสู่การสร้างครอบครัวอย่างเข้มแข็งมีความสุขยั่งยืนที่สำคัญเป็นอาชีพด้วย ส่วนรวมได้ประโยชน์ด้วย ที่มุ่งเน้นอย่างนี้ด้วยตระหนักว่าสถานศึกษาเองได้สนองพระราโชบายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงใส่พระราชหฤทัยการศึกษาของเยาวชนพระราชทานพระราโชบายพื้นฐานด้านการศึกษา 4 ข้อด้วยพระราชหฤทัยสืบสาน รักษา ต่อยอดพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร อย่างที่รู้กันว่าคนไทยไม่น้อยนิยมรับประทานกล้วยไข่แล้วกล้วยไข่เองก็มีคุณค่าทางโภชนาการเชิงสมุนไพร กล้วยไข่เป็นผลไม้ที่กำหนดให้รับใช้เทศกาลหนึ่งของไทยคือช่วงสาทไทยที่ชาวท้องถิ่นในอดีตต่างพร้อมใจประกอบบุญทานด้วยขนมชนิดหนึ่งคือกระยาสาทต้องรับประทานคู่กับกล้วยไข่สืบสานมาแต่โบราณกาล กล้วยไข่กำแพงเพชรก็มักได้การพูดถึงอยู่ตลอด จึงเกิดโครงการวิทยาศาสตร์คิดค้นสูตรปุ๋ยอินทรีย์กับกล้วยไข่รองรับเกษตรกรของวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชรขึ้น ครูพิมลพรรณ พรหมทอง ครูที่ปรึกษาคนหนึ่งของเด็กๆซึ่งสนใจศึกษาเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่องจุดประกายแนวคิดลูกศิษย์ที่รวมตัวกันสามคน ศึกษา ค้นคว้าทดลองปุ๋ยหมักโดยนำมูลสัตว์ 3 ชนิดมาทดลองคู่กันไป คือมูลไก่ มูลสุกรและมูลวัวตั้งแต่แบบสด แบบแห้งและแบบแห้งจัด ทดลองหาข้อพิสูจน์ว่าแบบไหนและเป็นมูลสัตว์อะไรที่ให้ผลตรงตามต้องการของกล้วยไข่พันธุ์กำแพงเพชรคือโตเร็ว ผลผลิตมากลูกใหญ่ ประหยัดต้นทุน ไปจนถึงได้ค่าสีเปลือกและรสหวานตามความนิยมผู้บริโภคส่วนใหญ่ โดยมีผู้เชี่ยวชาญในฐานะตัวแทนผู้บริโภคเห็นพ้องต้องกัน โครงงานวิทยาศาสตร์ของนักศึกษากว่าจะได้ผลชัดเจนในเบื้องต้นใช้เวลาศึกษา ค้นคว้า ทดลองเป็นปีทีเดียวซึ่งต้องดำเนินชีวิตบนพื้นฐานความเพียร อดทน ไม่ตั้งอยู่ในความโลภ พึ่งพากันเกื้อกูลกัน นางสาวปรายฟ้า เป็นสุข นางสาวอรสา แย้มเยื้อนและนายสุรศักดิ์ พรมเอ๋วสามเยาวชนที่ทำโครงงานภายใต้การจุดประกายของครูที่ปรึกษาคือครูพิมลพรรณ พรหมทองและครูวันเฉลิม คำสุข ที่ดร ดร.ทองคำ ตินะลา ในนามผู้บริหารให้การสนับสนุนทำโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง “การศึกษาการใช้ชนิดของปุ๋ยอินทรีย์เพื่อกำหนดค่าสีและความหวานของกล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร”ต่อยอดจากที่ทำมา ได้ผลแน่ชัดถึงประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์ดังกล่าวอย่างแน่ชัดเป็นรากฐานเบื้องต้นทั้งด้านการเจริญเติบโต การให้ผลผลิต ตามแต่ละชนิดของปุ๋ยอินทรีย์ดังกล่าว แล้วยังมีค่าใช้จ่ายลดลงด้วย รวมถึงมีแนวโน้มผลพลอยได้ใช้ประโยชน์กับพืชชนิดอื่นอีก บทสรุปเบื้องต้นในองค์ความรู้ทางวิชาการว่า ปุ๋ยอินทรีย์ “มูลวัวแบบแห้ง” มีความเหมาะสมในการนำไปใช้เป็นปุ๋ยให้กับต้นกล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชรเพื่อให้มีค่าสีของเปลือกกล้วยไข่ที่สวยงาม และได้ค่าความหวาน รสชาติอร่อยมากกว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดอื่นๆ ที่สำคัญปุ๋ยอินทรีย์ชนิด “มูลวัวแบบแห้ง” ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อยอดในการเพิ่มค่าสีและค่าความหวานให้กับผลไม้ชนิดอื่นๆ ของประเทศไทยได้อีกมากมาย