เอ่ยถึง “สิทธิมนุษยชน” ต้องถือว่า เป็นสิ่งที่มนุษย์เรา รณรงค์เมาทุกยุคทุกสมัย ดังปรากฏในเหตุการณ์ต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งเสรีภาพ อิสรภาพ ครั้งโบราณ แม้สืบมาจนถึงปัจจุบัน มนุษย์เราก็ยังคงรณรงค์เคลื่อนไหวเพื่อให้มาซึ่งสิทธิมนุษยชนอยู่อย่างต่อเนื่อง ด้วยในหลายพื้นที่ยังอยู่ท่ามกลางสถานการณ์กดขี่ คุกคาม ลามเลยไปจนถึงความรุนแรงต่างๆ ประดามีที่ยังบนโลกใบบูดๆ เบี้ยวๆ ใบนี้ นางมิเชลล์ บาเชเลต์ ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กล่าวเปิดงานการประชุม ถึงขนาดที่ ทาง “สหประชาชาติ” หรือ “ยูเอ็น” องค์กรระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดบนผืนพิภพแห่งนี้ แถมยังองค์กรที่ทำหน้าที่ “โลกบาล” พิทักษ์ปกป้องโลกสารพัด ก็ยังแสดงอาการความวิตกกังวลต่อสถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่กำลังถูกคุกคามในปัจจุบัน ล่าสุด “นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส” ผู้ดำรงตำแหน่ง “เลขาธิการแห่งสหประชาชาติ” ได้แสดงความเป็นห่วงกังวลข้างต้น ผ่านเวทีการประชุมสามัญประจำปี ครั้งที่ 40 ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งมีขึ้น ณ สำนักงานใหญ่ของคณะชำนัญพิเศษด้านนี้ ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่ระยะเวลาการประชุมเริ่มจากปลายเดือน ก.พ. ลากยาวไปถึงปลายเดือน มี.ค. หรือเกือบๆ 1 เดือนเต็มกันเลยทีเดียว นายอันโตนิโอ กูเตร์เรส เลขาธิการแห่งสหประชาชาติ หรือยูเอ็น กล่าวแสดงความวิตกกังวลต่อสถานการณ์สิทธิมนุษยชนทั่วโลกในที่ประชุม โดยนายกูเตอร์เรส กล่าวภายหลังจากที่ “นางมิเชลล์ บาเชเลต์ ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กล่าวเปิดงานว่า พื้นที่ของสิทธิมนุษยชนทั่วโลก ณ เวลานี้ ต้องนับว่า ถูกลดทอนลงไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนที่เป็นพลเมืองโลกทั่วทุกภูมิภาค หรือแม้กระทั่งในทุกซอกทุกมุมของโลกไซเบอร์ ออนไลน์ อินเตอร์เน็ต นับวันพื้นที่ของสิทธิมนุษยชนที่ว่านี้ เผชิญหน้ากับภาวะหดตัว หรือลดน้อยถอยลงไปทุกที เช่นเดียวกับ ในส่วนของการรณรงค์เคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน ตลอดจนบรรดาสื่อมวลชนด้านนี้ ก็เผชิญหน้ากับภาวะพื้นที่สิทธิมนุษยชนหดตัวอย่างรุนแรง จากการที่ตกเป็นเป้าหมายในการตรวจสอบ ถูกจับตาการสื่อสารด้วยข้อมูลที่ผิดพลาดบิดเบือนจากทางการ รวมถึงยังถูกข่มขู่ คุกคาม ตลอดจนประสบกับการถูกใช้ความรุนรงเป็นประการต่างๆ อย่างบ่อยครั้ง ใช่แต่เท่านั้น ยิ่งใน “ยุคแห่งข้อมูลมหาศาล” หรือ “บิ๊กดาตา (Big Data)” และการมาของ “เทคโนโลยีจดจำใบหน้า” ปรากฏว่า ทางการของหลายประเทศ กลับนำความล้ำสมัยเหล่านี้ มาใช้อย่างมิชอบธรรม หรืออย่างไม่เหมาะสม ต่อพวกนักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชน และบรรดาสื่อมวลชนที่รณรงค์ด้านนี้ เช่น การดำเนินการตรวจสอบ สอดส่อง อย่างมิชอบธรรม รวมถึงละเมิดสิทธิในการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีต่อกลุ่มบุคคลเหล่านี้ ซึ่งก็ส่งผลกระทบให้พื้นที่สิทธิมนุษยชนทั่วโลก ลดน้อยถอยลงไปตามที่กล่าวแล้วข้างต้น เลขาธิการแห่งยูเอ็น ยังเปิดเผยตัวเลขประมาณการของการสูญเสียผู้รณรงค์เคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนทั่วโลกด้วยว่า มากว่า 1,000 คน ของสื่อมวลชน และผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชน ต้องเสียชีวิตไปเพราะถูกสังหารตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมา หรือถ้ากล่าวในอัตราเฉลี่ยในแต่ละช่วงปี ก็ปรากฏว่า ทุกๆ สัปดาห์ จะมีนักเคลื่อนไหวทั้งสิทธิมนุษยชน และสิ่งแวดล้อม เสียชีวิตเพราะถูกสังหาร 4 ราย ซึ่งในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นชนพื้นเมือง หรือเป็นผู้มีถิ่นกำเนิดพักอาศัยอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ ไม่นับอีกจำนวนหนึ่งที่ถูกทั้ง ทรมาน ทารุณกรรม และลักพาตัว เป็นต้น เมียนมา หนึ่งในประเทศที่ทางยูเอ็น ระบุถึงด้วยความเป็นห่วงต่อสถานการณ์สิทธิมนุษยชน บิ๊กบอสของยูเอ็น ยังเตือนด้วยความเป็นห่วง ถึงเรื่องการใช้วาจาดูถูก ดูแคลน และประสงค์ร้ายต่อกัน หรือที่เรียกว่า “เฮท สปีช (Hate Speech)” ที่ครั้งหนึ่งถือเป็นเรื่องที่ผิดร้ายแรง แต่ปัจจุบัน กำลังจะกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดา ซึ่งเกิดขึ้นแม้กับประเทศที่มีสังคมเสรีนิยม และประชาธิปไตย โดยผู้นำทางการเมืองจำนวนไม่น้อย ได้พยายามเผยแพร่แนวคิดนี้ไปใช้ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ก็เป็นเหตุให้สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนอ่อนแอ เลวร้ายลงไปด้วย โดยผลพวงจากพื้นที่สิทธิมนุษยชนที่ลดน้อยถอยลงไปนั้น ก็จะกระทบคุกคามต่อทั้งสันติภาพ และความยุติธรรม ที่กลายเป็นความ “อยุติธรรม” ทางสังคม รวมไปจนถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพลเมืองโลกต้องประสบกับภาวะชะงักงัน ทั้งนี้ นายใหญ่ของยูเอ็นแห่งนี้ ก็ได้เรียกร้องให้นานาประเทศ ดำเนินมาตรการในอันที่จะพิทักษ์ปกป้องต่อกลุ่มบุคคลเหล่านี้ให้มากกว่าที่เป็นอยู่ เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของจีนแผ่นดินใหญ่ ลาดตระเวนในเมืองๆ หนึ่งของซินเกียง มณฑลที่พำนักของชาวอุยกูร์ ขณะเดียวกัน ทางด้านเวทีการประชุมสามัญด้านสิทธิมนุษยชนของยูเอ็น ยังได้ระบุชื่อประเทศที่จะต้องถูกหยิบยกพิจารณาเรื่องปัญหาสิทธิมนุษยชนตามที่หลายฝ่ายวิตกกังวลกัน ได้แก่ ซีเรีย เมียนมา บุรุนดี ซูดานใต้ อิหร่าน เกาหลีเหนือ ยูเครน เวเนซุเอลา และเยเมน เป็นต้น แต่ไม่มีการเอ่ยถึงจีนแผ่นดินใหญ่ ที่บรรดาผู้สันทัดกรณีเห็นว่า ละเมิดสิทธิมนุษยชนกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน โดยเฉพาะกับพวกอุยกูร์ ในมณฑลซินเกียง ถึงขนาดมีรายงานกล่าวอ้างว่า ทางการปักกิ่งตั้งค่าย ผุดแคมป์ ทรมาน ทรกรรมต่อชนกลุ่มน้อยกลุ่มนี้ ซึ่งมีกระเส็นกระสายออกมาว่า จีนแผ่นดินใหญ่ ล็อบบีอย่างหนัก เพื่อมิให้ถูกเชือดบนเวทีการประชุมสิทธิมนุษยชนที่กำลังดำเนินกันอยู่นี้