การลงประชามติต่อร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 นี้เป็นช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับอนาคตของประเทศไทยการรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญเป็นสิทธิส่วนบุคคลและเป็นสิทธิส่วนบุคคลอีกเช่นกันที่สามารถแสดงออกแจ้งบอกจุดยืนพร้อมเหตุผลต่อสาธารณะได้จึงนำมาซึ่งการจัดเวทีคนใต้รับหรือไม่รับ “ร่างรัฐธรรมนูญฉบับชิวๆ” ขึ้นที่มหาวิทยาลัยทักษิณในวันนี้ (2 สิงหาคม 2559) และจากความเห็นร่วมของ 30 องค์กรประชาชนภาคใต้รวมทั้งนักวิชาการอาจารย์ปัญญาชนนักพัฒนาเอกชนแกนนำภาคประชาชนในภาคใต้ต่างมีความเห็นที่ไปในทิศทางเดียวที่จะ “ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ” ด้วยหลากหลายเหตุผลอาทิ
1. มีการปิดกั้นการแลกเปลี่ยนการแสดงความคิดเห็นอย่างน่าเกลียดจนเกิดบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวขึ้นในสังคมอย่างกว้างขวางเมื่อไม่ให้ถกไม่ให้วิพากษ์ก็สมควรไม่รับร่าง 2. เป็นร่างรัฐธรรมนูญที่ประชาชนคนไทยรู้สาระเนื้อหาที่แท้จริงของรัฐธรรมนูญน้อยมากรับรู้แต่ย่อสาระสำคัญที่มีการโฆษณาชวนเชื่อเกินจริงเมื่อไม่รู้จะให้รับร่างได้อย่างไร 3. ร่างรัฐธรรมนูญนั้นมีสาระสำคัญที่ด้อยกว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 อย่างชัดเจนในเกือบทุกด้านโดยเฉพาะในด้านสิทธิชุมชนการสาธารณสุขการศึกษาการปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อมอีกทั้งสาระการปฏิรูปล้วนไม่ปฏิรูปจริงเพราะยังเลื่อนลอย “ให้เป็นไปตามที่กฏหมายกำหนด” 4. ร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวมีแก่นแกนของจุดยืนในการเพิ่มอำนาจรัฐราชการและลดอำนาจภาคประชาชนเจตนาสมยอมให้กลุ่มทุนและรัฐราชการร่วมกันยึดกุมการบริหารประเทศอย่างรวมศูนย์ไม่กระจายอำนาจไม่สร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนไม่ปกป้องสิทธิชุมชนและเหตุอันนี้จะนำมาสู่การล่มสลายของสังคมภายใต้การยึดกุมของกลุ่มทุน 5. ในบทเฉพาะกาลและคำถามพ่วงมีความชัดเจนให้มีการสานต่ออำนาจคสช.จากการให้อำนาจรัฐสภาในการเลือกนายกรัฐมนตรีเป็นเวลา 5 ปีซึ่งย่อมหมายถึง 2 รัฐบาลหรือแปลว่าคสช.สามารถสานต่ออำนาจได้ยาวนานถึง 8 ปี
ทั้งนี้ในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ก่อนลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559 ทางเครือข่าย 30 องค์กรภาคประชาชนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญขอเรียกร้องต่อคสช. เพียง 3 ประการคือ
1. ขอให้คสช.ประกาศอย่างชัดเจนเปิดกว้างให้ประชาชนสามารถวิพากษ์วิจารณ์ให้ความเห็นรณรงค์สร้างกระแสทั้งเห็นด้วยและเห็นต่างได้อย่างเต็มที่ในโค้งสุดท้ายล้างบาปความผิดพลาดในการปิดกั้นคุกคามที่ผ่านมาอันเป็นการเคารพเสียงประชาชนไม่ว่าจะผ่านหรือไม่ก็ตาม 2. ขอให้คสช.ประกาศต่อสาธารณะว่าหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านทางคสช.จะดำเนินการต่ออย่างไรทั้งนี้ทางเครือข่าย 30 องค์กรภาคประชาชนในภาคใต้เห็นว่าเมื่อประชาชนไม่รับคสช.ก็หมดความชอบธรรมในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับต่อไปขอให้นำรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ทั้งฉบับกลับมาใช้ใหม่ใส่บทเฉพาะการเรื่องการตั้งกลไกการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเข้าไปและจัดการเลือกตั้งโดยเร็วแล้วจึงค่อยพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต่อไปโดยกลไกของประชาชน 3. ขอให้คสช.ประกาศต่อสาธารณะว่าหากร่างรัฐธรรมนูญผ่านบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคสช.จะไม่ยุ่งเกี่ยวการเมืองหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญจะไม่ลงเลือกตั้งจะไม่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆและจะไม่เสียสัตย์เพื่อชาติอย่างเช่นพลเอกสุจินดาคราประยูรในครั้งการรัฐประหารรสช.
นี่คือ 5 เหตุผลที่ไม่รับร่างและ 3 ข้อเสนอให้คสช.ดำเนินการก่อนวันลงประชามติ 30 องค์กรภาคประชาชนในภาคใต้ 2 สิงหาคม 2559 รายชื่อ 26 องค์กรภาคประชาชนในภาคใต้ที่ร่วมจัดงานและร่วมออกแถลงการณ์
1. เครือข่ายพลเมืองสงขลา 2. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ (กป.อพช.ใต้) 3. มูลนิธิอันดามัน 4. สมาคมสมาพันธ์ประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย 5. สมาคมรักษ์ทะเลจะนะ 6. สงขลาฟอรั่ม 7. กลุ่ม Save Krabi 8. กลุ่มคนรุ่นใหม่ ใจอาสา 9. กลุ่มทนายไร้ตั๋ว 10. กลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำท่าสะท้อนและสิ่งแวดล้อม สุราษฎร์ธานี 11. เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมและองค์กรชุมชนภาคใต้ 12. เครือข่ายประชาชนปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สงขลา สตูล 13. เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน 14. เครือข่ายรักษ์ชุมพร 15. เครือข่ายพลเมืองพัทลุง
16. เครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน 17. เครือข่ายพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา รัตภูมิ 18. เครือข่ายประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ปกป้องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพ ( permatamas ) 19. เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล 20. เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ภาคใต้ 21. เครือข่ายนักวิชาการรับใช้สังคมลุ่มทะเลสาบสงขลา 22. ชมรมแพทย์ชนบทภาคใต้ 23. ศูนย์พลเมืองเด็ก 24. ศูนย์ข้อมูลชุมชน 25. ศูนย์สร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา(สจน.) 26. ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน จะนะ 27. สถาบันศานติธรรม 28. สภาทรัพยากรพันธุกรรมพื้นบ้านภาคใต้ 29. สภาประชาชนอำเภอรัตภูมิ 30. หน่วยวิจัยประชาธิปไตยชุมชนเพื่อการพัฒนา
กำหนดการ 13.00-13.20 น. พิธีเปิดและนำถกแถลงโดย รศ.ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ทักษิณ 13.20-15.20 น. ถกแถลงแสดงความเห็นโดยวิทยากรคนใต้บ้านเรา 20 ท่าน (ท่านละ 5 นาที) 15.20-16.30 น. แลกเปลี่ยน ถกแถลง แสดงความเห็นจากผู้เข้าร่วมสัมมนา 16.30-16.40 น. อ่านบทกวีโดย ไกรวิทย์ รัตนพันธ์ นิสิต ม.ทักษิณ 16.40-17.00 น. สรุปการสัมมนา และอ่านแถลงการณ์ โดยประสิทธิชัย หนูนวล