กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดงานประชุมวิชาการและนิทรรศการ สวทช.ภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 8-9 กุมภาพันธ์ ประจำปี 2562 โดยมี ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. เป็นประธาน และ นายวิรุฬ พรรณเทวี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ให้การต้อนรับ ภายในงานได้นำทัพผลงานวิจัยและนวัตกรรมของ สวทช. และพันธมิตรมาจัดแสดง พร้อมการบรรยายพิเศษ การเสวนาเพื่อถ่ายทอดแนวคิดประสบการณ์การพัฒนาด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) รวมถึงการมอบรางวัลผญาดีศรีล้านนาประจำปี 2562 เพื่อเป็นการยกย่องบุคคลต้นแบบผู้นำเอา วทน. ไปเป็นเครื่องมือในการคิดค้นหรือต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 600 คน ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า การดำเนินงาน 1 ปีที่ผ่านมาของ สวทช.ภาคเหนือ ได้สนับสนุนทุนวิจัยพัฒนาและวิศวกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาท้องถิ่นทางด้านไบโอเทคโนโลยีและเทคโนโลยีดิจิทัลจำนวน 9 ทุน การถ่ายทอดเทคโนโลยีจากงานวิจัยสู่เกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือรวม 80 หมู่บ้าน มีเกษตรกรได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีไม่น้อยกว่า 2,329 คน พัฒนาบุคลากรทั้งเกษตรกรแกนนำ เจ้าหน้าที่ส่งเสริม และผู้ประกอบการกว่า 181 ราย ให้การสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีภาคอุตสาหกรรม ผ่านโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ ITAP จำนวน 78 โครงการ กิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 6 ค่าย และเกิดมูลค่าการลงทุนรวมถึงผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมทั้งในภาคชุมชนและภาคอุตสาหกรรมกว่า 250 ล้านบาทจากการเก็บข้อมูล 92 โครงการ วิรุฬ พรรณเทวี ด้าน นายวิรุฬ พรรณเทวี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า จังหวัดเชียงใหม่และพื้นที่ภาคเหนือ ได้เห็นและได้ใช้ประโยชน์จากการทำงานของ สวทช. ภาคเหนือ ที่มาร่วมบูรณาการเชิงรุกในพื้นที่ให้ภาควิจัย ภาคชุมชน ภาคอุตสาหกรรม รวมถึงเด็กและเยาวชนได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ใช้งานได้จริงในวงกว้างและเป็นรูปธรรม ผสานการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน มีบทบาทสนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ความต้องการ และแก้ปัญหาของชุมชน ยกระดับความสามารถในโครงการหลักต่างๆ ของเชียงใหม่และภาคเหนือเป็นอย่างดี อาทิ โครงการ เชียงใหม่เมืองกาแฟ ลานนาคอฟฟี่ฮับ เชียงใหม่สมาร์ทซิตี้ รวมทั้งการแก้ปัญหาหมอกควันและไฟป่า เป็นต้น และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สวทช.ภาคเหนือ จะเป็นกำลังสำคัญในการนำพาภาคเหนือให้ก้าวสู่การเป็นสังคมที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม มีการนำด้วยงานวิจัยที่เข้มแข็ง เสริมแกร่งศักยภาพของภาคเหนือต่อไป งานประชุมประจำปี 2562 สวทช. ภาคเหนือ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “BCG ระบบเศรษฐกิจหลัก: อันได้แก่ B (Bioeconomy) เศรษฐกิจชีวภาพ C (Circular&Creative Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียนและรวมถึงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และ G (Green Economy) เศรษฐกิจสีเขียว ที่เป็นทุนที่มีศักยภาพในพื้นที่ภาคเหนือ รวมทั้งเป็นเป้าหมายในการใช้งานวิจัยมาเสริมแกร่ง ผ่านกิจกรรมหลักในงาน 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1. การมอบรางวัลผญาดีศรีล้านนาประจำปี 2562 เพื่อเป็นการยกย่องคุณงามความดี เชิดชูนวัตกรรมชาวบ้าน ที่มีการต่อยอดภูมิปัญญาด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้นแบบที่ดีในการขยายผลโดยตัวแทนในชุมชน โดยแบ่งเป็น 2 สาขา คือ ปรีชา ศิริ  - ทองเพียร ศรีสว่าง - สาขาเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ นางทองเพียร ศรีสว่าง ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านแควแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร อ.สารภี จังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้พัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาในการแปรรูปสินค้าเกษตรส่งข่ายทั่วประเทศ เพื่อเป็นทางออกและทางเลือกในการแก้ปัญหาราคาพืชผลเกษตรตกต่ำและล้นตลาด - สาขาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ นายปรีชา ศิริ วีรบุรุษรักษาป่าแห่งชุมชนปกาเกอญอ เป็น 1 ใน 5 ของโลกที่ได้รับรางวัล “วีรบุรุษผู้รักษาป่า (Forest Hero) ในฐานะผู้แทนทวีปเอเชีย ผลงานสำคัญคือ การช่วยให้คนชาติพันธุ์พื้นเมืองในลุ่มน้ำโขง เอาชนะความยากจนได้ เป็นแหล่งเรียนรู้การบริหารจัดการป่า มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีวิถีที่ยั่งยืนด้วยพลังสามัคคีและสำนึกรับผิดชอบ นอกจากนี้ ยังมีการมอบโล่ให้แก่เครือข่ายพันธมิตรที่ได้ร่วมจัดค่ายวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างความตระหนักแก่เยาวชนให้สนใจในเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการอนุญาตให้บริษัทเอกชนใช้สิทธิผลงานวิจัย 2. กิจกรรมการบรรยายพิเศษ เพื่อนำเสนอศักยภาพของพื้นที่โดยเฉพาะในด้าน BCG ความต้องการในการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย และกลไกบริการของ สวทช. สำหรับภาคนักวิจัย ภาคชุมชน ภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3. นิทรรศการเปิดบ้านเทคโนโลยี สวทช. ภาคเหนือ การคัดสรรเทคโนโลยีจากงานวิจัยกว่า 30 ผลงานที่พิสูจน์แล้วว่านำมาใช้แก้ปัญหาในท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง รวมทั้งสามารถขยายผลสู่การร่วมเสริมแกร่งภูมิภาคในพื้นที่อื่นๆ อาทิ EECi การแสดงผลงานจากตัวอย่างเกษตรกร ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่นำ วทน. ไปทดลองปฏิบัติ พัฒนาต่อยอดจนสำเร็จ และเสริมสร้างเป็นอาชีพของชุมชนหรือตนเองได้อย่างยั่งยืน รวมถึงผลงานจากเยาวชนค่ายวิทยาศาสตร์จากโครงการ Big Rock กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาทิ โครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม Fabrication Lab หรือ FabLab โครงการสื่อการสอนโปรแกรมมิ่งในโรงเรียน หรือ KidBright ที่มีการต่อยอดในพื้นที่ภาคเหนือ ค่ายวิทยาศาสตร์ด้านเกษตร อาหาร STEM รวมทั้งการจำหน่ายสินค้าและหนังสือจากการวิจัยผ่านกิจกรรมศูนย์หนังสือสัญจรและตลาดชาววิทย์