เมื่อนึกถึงงานหัตถกรรมผ้าทอมือที่เลื่องชื่อของล้านนา “บ้านหนองเงือก อ.ป่าซาง จ.ลำพูน” คือแหล่งผลิตใหญ่ที่ผู้นิยมผ้าฝ้ายพื้นเมืองต่างรู้จักกันดี แต่น้อยคนนักที่จะทราบว่าที่ผ่านมากลุ่มผ้าทอฯ ประสบกับปัญหาผ้าฝ้ายแข็งกระด้าง ทำให้ผู้บริโภคบางส่วนไม่นิยมนำไปสวมใส่ ผ้าทอส่วนใหญ่จึงถูกนำไปใช้เป็นหัตถกรรมสิ่งทอในครัวเรือน ด้วยเหตุนี้ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) หน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีจากงานวิจัย เพื่อสร้างจุดเด่นให้แก่ผ้าทอล้านนา ตั้งแต่กระบวนการผลิตเส้นฝ้ายสู่ผ้าทอมือพื้นเมืองคุณภาพ โดยเมื่อเร็วๆนี้ได้นำสื่อมวลชน ลงพื้นที่ติดตามผลงานผู้ประกอบการกลุ่มผ้าทอ จ.ลำพูน ที่ได้รับการถ่ายทอดผลงานวิจัย ภายใต้โครงการ “การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม สำหรับสิ่งทอพื้นเมือง” ณ บ้านก้อทุ่ง ต.ก้อ อ.ลี้ และ บ้านหนองเงือก ต.แม่แรง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน วิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ วิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการ สวทช. ในฐานะผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. เปิดเผยว่า การลงพื้นที่ครั้งนี้ สืบเนื่องจากโครงการสร้างผู้นำชุมชน เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์สิ่งทอนาโนภาคเหนือ ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง ซึ่งครอบคลุม 6 จังหวัดในภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำปาง น่าน พะเยา และ ลำพูน โดย สวทช. ต้องการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ผู้นำชุมชนเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นเมือง ได้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถที่จะนำไปถ่ายทอดต่อให้กับชุมชนหรือเครือข่ายของตนเองได้อย่างถูกต้อง พร้อมทั้งเป็นเครือข่ายแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ระหว่างกลุ่มได้ ซึ่งในแต่ละจังหวัดจะมีผู้นำชุมชนที่ได้เข้าร่วมโครงการจำนวน 20-25 คนต่อจังหวัด เยี่ยมชมผลงานในศูนย์การเรียนรู้ บ้านหนองเงือก ต.แม่แรง อ.ป่าซาง จ. ลำพูน วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผ้าทอมือ-ผ้าฝ้ายนาโน ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สวทช. กล่าวอีกว่า พื้นที่จังหวัดลำพูนถือเป็นหนึ่งในพื้นที่เป้าหมาย ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจาก สวทช. และมีพื้นที่ประสบความสำเร็จแล้ว 2 พื้นที่ ในการนำงานวิจัยไปขยายผล ได้แก่ บ้านหนองเงือก อ.ป่าซาง โดยผู้นำกลุ่มได้เข้าร่วมโครงการสร้างผู้นำถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านนาโนเทคโนโลยี กับ สวทช. เพื่อแก้ปัญหาผ้าฝ้ายที่แข็งกระด้าง ให้นุ่มลื่น ช่วยป้องกันสีซีดจาง ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองให้เป็นผ้าฝ้ายที่มีคุณสมบัติพิเศษ ทั้งสะท้อนน้ำ กันยูวี ป้องกันสีซีดจาง และเนื้อผ้านุ่มลื่นขึ้น ช่วยแก้ไขปัญหาผ้าฝ้ายได้ตรงจุด เยี่ยมชมผลงานในศูนย์การเรียนรู้บ้านก้อทุ่ง ต.ก้อ อ.ลี้ จ.ลำพูน สำหรับอีกพื้นที่เป็นพื้นที่ขยายผลจากชุมชนต้นแบบบ้านหนองเงือก ซึ่งที่ สวทช. ได้หารือร่วมกับ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดลำพูน เพื่อต้องการจะพัฒนาชุมชนเป้าหมายในจังหวัดลำพูนนั้น คือ บ้านก้อทุ่ง อ.ลี้ โดย สท. ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร เช่น ศูนย์ประสานงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำภูมิภาค ภาคเหนือตอนบน (ศวภ.1) และ ศูนย์วิชาการเทคโนโลยีสิ่งทอพื้นบ้าน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาร่วมถ่ายทอดเทคโนโลยีจากเรื่องการปรับเส้นใยฝ้ายทอมือ ให้มีขนาดที่เล็กลง และทำให้เส้นฝ้ายมีหลายสีผสมกัน อีกทั้งยังได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนาโนเข้ากับผลิตภัณฑ์ผ้าทอยกดอกฝ้ายสีธรรมชาติให้มีคุณสมบัติพิเศษเพื่อเป็นทางเลือกให้กับกลุ่มทอผ้าฯ เส้นฝ้ายมีหลายสีผสมกัน สิ่งที่เราวางแผนไว้คือการสร้างความเข้มแข็งให้แก่กลุ่มต่างๆ อย่างเช่น 'บ้านหนองเงือก' อาจจะเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่สำคัญในการบ่มเพาะเทคโนโลยีตลอดกระบวนการผลิต เพื่อให้เป็นศูนย์เรียนรู้ที่จะกระจายความรู้ไปยังกลุ่มอื่นๆ อย่าง 'บ้านก้อทุ่ง' ก็ถือว่าเป็นกลุ่มที่เชื่อมโยงนำความรู้จากบ้านหนองเงือกไปขยายผลต่อ ซึ่งจากความเข้มแข็งตรงนี้ เราจะทำงานเพื่อให้เกิดความเข้มข้นในศูนย์เรียนรู้ โดยเชื่อว่าหากสร้างกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งให้มีความเข้มแข็งแล้ว กลุ่มนั้นก็จะสามารถกระจายความรู้ออกไปยังกลุ่มต่างๆได้เอง” วิราภรณ์ กล่าวทิ้งท้าย
ความน่าสนใจของการของการประยุกต์ใช้งานวิจัยในครั้งนี้อยู่ที่ การถ่ายทอด 3 เทคโนโลยี ให้แก่กลุ่มผ้าทอในจังหวัดลำพูน
เพื่อต่อยอดการผลิตผ้าทอล้านนาจากภูมิปัญญาที่มีเอกลักษณ์ลวดลายเฉพาะตัว ซึ่งแต่ละเทคโนโลยีมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน กล่าวคือ 1.เทคโนโลยีเอนไซม์ - สามารถลอกแป้งและกำจัดสิ่งสกปรกบนผ้าฝ้ายได้ ในขั้นตอนเดียวช่วยประหยัดเวลา ประหยัดพลังงาน ลดต้นทุนในการผลิต และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม อีกทั้งช่วยถนอมคุณภาพของผ้าฝ้ายให้คงคุณภาพสูง ผ้าไม่ถูกทำลายเหมือนการใช้สารเคมี 2. เทคโนโลยีพิมพ์สกรีนผ้าด้วยสีธรรมชาติ - สามารถพัฒนาสีธรรมชาติ ให้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการพิมพ์บนผ้าทอ แทนการใช้สีเคมี ด้วยการคิดค้นวิธีการเตรียมสีให้อยู่ในรูปสารละลายเข้มข้นหรือผงพร้อมใช้ และ 3. เทคโนโลยีสิ่งทอนาโน - เพิ่ม 5 คุณสมบัติพิเศษให้แก่ผ้าทอพื้นเมือง ได้แก่ ช่วยให้ผ้านุ่มลื่น ป้องกันสีซีดจาง สะท้อนน้ำ ยับยั้งแบคทีเรีย และมีกลิ่นหอมติดทนนาน คุณสมบัติสะท้อนน้ำ อย่างไรก็ตามในการดำเนินงานดังกล่าว สวทช.ได้ให้บริการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรแบบครบวงจร (One Stop Service) โดยการทำงานร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดการปฏิรูปภาคเกษตรด้วยเทคโนโลยีและพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ เชื่อมโยงสู่เศรษฐกิจสู่ชุมชน จนเกิดผลสัมฤทธิ์สร้างรายได้ให้กลุ่มผ้าทอ จ.ลำพูน เพิ่มขึ้นเท่าตัว ช่วยส่งเสริมอาชีพในท้องถิ่นให้เข้มแข็งขึ้น นอกจากนี้ด้าน สำนักงานพาณิชย์จังหวัดลำพูน ยังได้เตรียมสนับสนุนตราสินค้า “ลำพูน แบรนด์” (Lamphun Brand) เพื่อให้ผ้าทอพื้นเมืองลำพูนที่ผสมผสานนวัตกรรมวิจัยสุดล้ำให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่เชิงพาณิชย์อีกด้วย .. อีกหนึ่งความมุ่งมั่นชอง สวทช. ในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญา จนเป็นนวัตกรรมผ้าทอที่ร่วมสมัย และยังคงไว้ซึ่งมรดกทางวัฒนธรรมของล้านนา ..