ด้วยพันธกิจการทำงานที่จะต้องเข้าไปบริหารจัดการการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืนด้วยแนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยทำงานเชิงประสานและบูรณาการการทำงานร่วมกับทุกภาคี และ พัฒนาขีดความสามารถการท่องเที่ยวให้ทันต่อพลวัตการท่องเที่ยว ดังนั้น นาย ทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท.คนใหม่จึงสานต่อยุทธศาสตร์ชาติ ในการพัฒนาระบบบริหารจัดการการท่องเที่ยวที่นำไปสู่ความยั่งยืน เป็นไปตามเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก ของสภาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก ซึ่งมีแผนการดำเนินงานในปี 2562 ได้อย่างน่าสนใจ พัฒนาท่องเที่ยวโดยชุมชน ทั้งนี้ นาย ทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. กล่าวว่า ในปีนี้ ทางอพท.คงต้องดำเนินการในเรื่องการจัดทำแบรนด์ CBT Thailand ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการในการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ภายใต้การกำกับของคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ในนามคณะอนุกรรมการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่ประกอบด้วยหน่วยงานทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษาและภาคประชาชน โดยใช้เกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทย เป็นเครื่องมือในการพัฒนาตลอดจนส่งเสริมศักยภาพและใช้ฐานข้อมูลชุมชนร่วมกันในการส่งเสริมการพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำคือการส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยมียุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนแบรนด์ดังกล่าว ใน 3 ระยะ สำหรับ แผนระยะสั้นตั้งแต่ปี 2561-2562 เน้นการออกแบบตัวตนทั้งระบบ และสร้างการรับรู้จากบุคลากรภายในคณะอนุกรรมการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ให้รับรู้ว่า แผนระยะกลาง ปี 2563-2564 เน้นการสร้าง Subbrand ที่แข็งแกร่งขึ้นผ่านกิจกรรมการสื่อสารภายในที่สม่ำเสมอด้านการให้บริการและพัฒนาชุมชนท่องเที่ยว เสนอคุณค่าทางการท่องเที่ยวผ่านปัจจัยแห่งความสำเร็จชุมชนผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย พัฒนาฐานข้อมูลบนออนไลน์ แพลตฟอร์ม ซึ่งในระยะนี้จะมีการมอบรางวัลชุมชนท่องเที่ยวในประเภทต่างๆ ย่อยลงมาเพื่อนำเสนอทรัพยากรการท่องเที่ยวของแต่ละชุมชนที่โดดเด่นแตกต่างกัน เพื่อรวบรวมชุมชนเจ้าของรางวัลลงในไกด์บุ้คท่องเที่ยว ขณะที่แผนระยะยาว ปี 2564-2566 ขยายฐานการรับรู้แบรนด์ CBT Thailand ที่พร้อมเติบโต ในการรวบรวมผลงานและความสำเร็จของชุมชนนำไปสู่การเสนอสินค้าการท่องเที่ยวในวิถีชุมชนผ่านกิจกรรม CBT Festival ต่อไป ส่วน โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ กรีนโฮเต็ล ในปีงบประมาณ 2559 - 2561 สถานประกอบการที่พัก ซึ่งเข้าร่วมโครงการนี้ ในพื้นที่พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง ได้รับรางวัลรวม 49 แห่ง และ ปีงบประมาณ 2562 อพท.ได้ขยายพื้นที่ดำเนินการใน 4 จังหวัดคลัสเตอร์ในพื้นที่ชายหาด คือ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด เพื่อเป็นการขยายเครือข่ายโรงแรมให้มีการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และได้รับมาตรฐานระดับสากล ทำงานภายใต้กิจกรรมหลัก พร้อมกันนี้ นาย ทวีพงษ์ ยังกล่าวต่อว่า ในปีนี้ยังได้ดำเนินงานภายใต้ 13 กิจกรรมหลัก อาทิ พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อสนับสนุนการเป็นเมืองสร้างสรรค์ ในทุกพื้นที่พิเศษของ อพท. และเตรียมดำเนินการในพื้นที่พิเศษของ อพท. จำนวน 3 แห่ง ในพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร พื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน และพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง เพื่อเตรียมเสนอชื่อเพื่อในการเป็นเมืองสร้างสรรค์ รวมทั้งจัดทำคู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ : Creating Creative Tourism Toolkit โดยถอดจากบทเรียนผลการปฏิบัติงานจริงของ อพท. และความร่วมมือกับคณะทำงานการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ระดับนานาชาติ และพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 9 กิจกรรม ใน 9 พื้นที่ดำเนินการของ อพท. เป็นต้น โดยมีเป้าหมายการพัฒนาในปี 2562 คือ ได้ร่วมพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และเกิดมูลค่าเพิ่มทางสังคมด้วยการพัฒนากิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้และสัมผัสประสบการณ์จริง ผ่าน 15 กิจกรรมท่องเที่ยวชุมชนและกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ 22 ผลิตภัณฑ์และก่อให้เกิดรายได้เพิ่มจากการท่องเที่ยวใน 14 ชุมชนท่องเที่ยวของ อพท. นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาสถานประกอบการให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไม่น้อยกว่า 12 แห่ง ประเมินระดับการอยู่ดีมีสุข อีกทั้ง นาย ทวีพงษ์ กล่าวว่า ยังมีการประเมินระดับอยู่ดีมีสุขของประชาชนในพื้นที่พิเศษผ่านเกณฑ์ 85% และรายได้เสริมจากการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษ โดยรายได้รวมทุกชุมชนเพิ่มขึ้นในภาพรวม 20% โดยประเมินจาก 22 ชุมชน เป็น 14 ชุมชนเดิมที่ดำเนินการในปี 2561 และชุมชนใหม่จำนวน 8 แห่ง พร้อมกันนี้ได้ขยายผลการพัฒนาชุมชนต้นแบบในเขตพัฒนาการท่องเที่ยว จำนวน 40 ชุมชน ซึ่งรวมถึงการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งมีการพัฒนานวัตกรรม เช่น ระบบฐานข้อมูลการท่องเที่ยวในรูปแบบแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ในรูปแบบต่างๆ เช่น เกมส์ 3 มิติเกี่ยวกับข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์และโบราณสถานในอู่ทอง U-Thong The Revived Kingdom อู่ทอง: อาณาจักรคืนชีพ อย่างน้อย 5 แห่ง รวมไปถึงพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อสนับสนุนการเป็นเมืองสร้างสรรค์ ในทุกพื้นที่พิเศษของ อพท. และเตรียมดำเนินการในพื้นที่พิเศษของ อพท. จำนวน 3 แห่ง คือ พื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร พื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน พื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง และนำร่องระบบประเมินแหล่งท่องเที่ยวตามหลักเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลกหรือ GSTC Destination Assessment Program แหล่งท่องเที่ยว 6 แห่งในพื้นที่พิเศษของ อพท.