นางศุภวรรณ ตีระรัตน์ รองผู้อำนวยการ สายงานพัฒนาและนวัตกรรม สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ กล่าวว่า จากการเติบโตของอุตสาหกรรมไมซ์ในเอเชียอย่างก้าวกระโดด ทำให้หลายประเทศยังขาดแคนบุคลากรไมซ์ สำหรับประเทศไทยอุตสาหกรรมไมซ์มีโอกาสต้อนรับนักเดินทางไมซ์ทั่วประเทศและนานาชาติ 35 ล้านคนต่อปี สร้างรายได้ 2 แสนล้านบาทการกระจายรายได้สู่ภูมิภาค เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์และบุคลากร เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญในการเตรียมความพร้อม คือการเดินหน้าขับเคลื่อนการพัฒนาศักยภาพไมซ์ระดับภูมิภาค ตั้งคลัสเตอร์เครือข่ายการศึกษาเชื่อมศูนย์กลางองค์ความรู้ไมซ์ประจำภูมิภาค โชว์ผลงานสร้างคน สร้างมาตรฐาน สร้างรายได้ และสร้างการรับรู้ไมซ์บูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วน เพื่อสร้าง Ecosystem ให้ธุรกิจไมซ์ไทยก้าวสู้เป้าหมายศูนย์กลางไมซ์ในอาเซียน สำหรับ บุคลากรไมซ์ ถือเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ไทย อีกหนึ่งยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาที่สำคัญของธุรกิจไมซ์ คือ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรไมซ์ โดยเฉพาะการกระจายโอกาสการพัฒนาบุคลากรไมซ์ไปสู่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อปั้นบุคลากรไมซ์มืออาชีพเข้าสู่ตลาดยกระดับธุรกิจไมซ์อย่างยั่งยืน ทีเส็บจึงริเริ่มโครงการ ศูนย์เครือข่ายด้านการศึกษาไมซ์ในภูมิภาค หรือ MICE Academic Cluster ขึ้นโดยจับมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษาผ่านกลยุทธ์การสร้างไมซ์อีโคซิสเต็ม (MICE Ecosystem) สร้างความร่วมมือเต็มรูปแบบทั้งระดับส่วนกลางและพื้นที่ดำเนินงานพัฒนาบุคลากรตามยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ไมซ์ระดับภูมิภาคทั้ง 5 เขต ซึ่งทั้ง 5 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกและตะวันตก เพื่อเชื่อมโยงกิจกรรมพัฒนาศักยภาพบุคลากร เอื้อประโยชน์ในภูมิภาคและท้องถิ่นในเชิงเศรษฐกิจมหภาคโดยรวม ดูแลพื้นที่ที่เหมาะสมในเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศตามภูมิภาค และมีเครือข่ายการศึกษาไมซ์ประจำอย่างชัดเจน เป็นตัวกลางที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายห่วงโซ่ธุรกิจไมซ์ทั้งระบบ(MICE Value Chain)เพื่อสร้างความเข็มแข็งร่วมกันตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เกิดเป็นอีโคซิสเต็มของธุรกิจไมซ์ ดำเนินการโดยคณะกรรมการทำงานที่สอดคล้องกับหลักการกระจายอำนาจตามวัตถุประสงค์การพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์เชิงบูรณาการ เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการพัฒนา เรียนรู้ และถ่ายทอดองค์ความรู้แนวคิดการจัดการอุตสาหกรรมไมซ์ของชาติกระจายสู่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศต่อไป ศุภวรรณ ตีระรัตน์ โดยโครงการศูนย์เครือข่ายด้านการศึกษาไมซ์ในภูมิภาค ดำเนินการมาเป็นระยะเวลา 1 ปี มีผลงานแยกเป็น 4 หัวข้อหลัก ได้แก่ การสร้างคน เช่น การฝึกอบรมความรู้ภายใต้กิจกรรมโค้ชความรู้ธุรกิจไมซ์จากมืออาชีพให้แก่คณาจารย์ เพิ่มจำนวนคณาจารย์ที่มีองค์ความรู้ด้านไมซ์ระดับนานาชาติ สามารถสอนนิสิตนักศึกษาไมซ์ในสถาบันการศึกษาแต่ละภูมิภาคให้มีมาตรฐานเท่าเทียมกันทั่วประเทศสร้างวิทยากรไมซ์รายใหม่และยกระดับวิทยากรไมซ์รายเดิม ซึ่งเป็นผู้ประกอบการวิชาชีพไมซ์ในแต่ละพื้นที่ รวมถึงการสร้างชุมชนนิสิตนักศึกษาใหม่ในแต่ละสถาบันการศึกษาทุกภูมิภาค ที่เรียกว่า ชมรมเยาวชนไมซ์ หรือ MICE Student Chapter ร่วมแชร์องค์ความรู้และทำกิจกรรมไมซ์ สร้างโอกาสและประสบการณ์ใหม่ในการลงสนามจริงร่วมงานและฝึกงานไมซ์กับผู้ประกอบการ เป็นต้นการสร้างมาตรฐาน เช่น การสร้างประสบการณ์ในการเป็นทีมงานร่วมทำงานและจัดงานไมซ์ โดยเฉพาะนิสิตนักศึกษาที่กำลังพัฒนาศักยภาพตัวเองเพื่อให้เป็นบุคลากรไมซ์ที่มีคุณภาพเรียนรู้การทำงานร่วมพัฒนาพื้นที่ และการจัดงานไมซ์ในท้องถิ่นและส่วนกลางอย่างมืออาชีพตั้งแต่ขั้นตอนการศึกษาให้ความรู้กระบวนการจัดงาน การต้อนรับ การจัดการ การบริหารต้นทุน เพื่อยกระดับการจัดงานให้มีมาตรฐานอย่างมืออาชีพเป็นต้น ทั้งนี้ นางศุภวรรณ กล่าวว่า การสร้างรายได้โดยส่งเสริมการจัดงานไมซ์ควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากรไมซ์ จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับธุรกิจไมซ์ซึ่งผู้เกี่ยวข้องที่อยู่ในห่วงโซ่ของธุรกิจไมซ์ทั้งหมด จะมีรายได้จากการจัดงานทั้งในทางตรงและทางอ้อมกระจายรายได้ในระดับจังหวัดและสู่ภูมิภาคในทุกภาคส่วนทั้งผู้ประกอบการสถานที่จัดงาน บริษัทผู้จัดงาน ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงแรมที่พัก และการคมนาคมขนส่ง ตลอดจนสถาบันการศึกษา ร่วมสร้างเศรษฐกิจยั่งยืนให้กับพื้นที่ผ่านธุรกิจไมซ์ การสร้างการรับรู้ไมซ์ คือ การส่งเสริมการตลาดและการสร้างการรับรู้ให้กับการจัดงานเพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานพึงพอใจ ส่งผลพลอยได้ส่งเสริมให้ชุมชนและสังคมเข้าใจถึงประโยชน์ของธุรกิจไมซ์ เนื่องจากการจัดงานไมซ์เปิดโอกาสสร้างการรับรู้ให้กับคนในจังหวัดได้เข้าใจบทบาทของทีเส็บในฐานะผู้พัฒนาด้านการศึกษาและการพัฒนาศักยภาพธุรกิจไมซ์ร่วมกับทุกภาคส่วน มีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาไมซ์ของอาเซียนในระดับภูมิภาคหรือASEAN MICE Education Hub ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาสังคมในพื้นที่และชุมชนผ่านการฟูมฟักองค์ความรู้ไมซ์ให้กับบุคลากรในพื้นที่เพื่อพัฒนาไมซ์ในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ทีเส็บ มีการวางแผนนโยบายการดำเนินงานศูนย์เครือข่ายคลัสเตอร์ด้านการศึกษาไมซ์ระยะ 5 ปี(พ.ศ.2561 - 2565)โดยมีตัวชี้วัดความสำเร็จด้านการกระจายความร่วมมือไปสู่ภูมิภาคศูนย์เครือข่ายคลัสเตอร์ด้านการศึกษาไมซ์เชื่อมโยงเครือข่ายไมซ์ ทั้งภาครัฐและเอกชน 1.พัฒนาระบบฐานข้อมูล และระบบสารสนเทศเพื่อตอบสนองแผนยุทธ์ศาสตร์ Thailand 4.0 สร้าง Platform เพื่อเชื่อมโยงต่อยอด Supplier Side และ Demand Side และสร้าง Career Job Opportunity Center ให้กับอุตสาหกรรมไมซ์ 2.กำหนดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมยกระดับองค์ความรู้ เจาะลึกความต้องการของแต่ละพื้นที่ เพื่อยกระดับมาตรฐาน ศักยภาพของบุคลากร โดยกำหนดกิจกรรมให้สอดคล้องถึงความต้องการอย่างแท้จริง อาทิ ยกระดับชุมชน พัฒนาสินค้า เชื่อมผลผลิต สู่ตลาดไมซ์คุณภาพ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเจาะลึกการดึงงาน (Bidding Workshop) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการจัดงานแสดงสินค้าอย่างไรไม่ขาดทุน (Exhibition Management Program) เป็นต้น 3.เพิ่มจำนวนบุคลากรที่ผ่าน Certifiedระดับนานาชาติและผ่านการรับรองของทีเส็บพัฒนาหลักสูตรเพื่อเพิ่มจำนวนบุคลากรที่ผ่านการรับรองมาตรฐานวิชาชีพด้านต่างๆ และเป็นศูนย์กลางในการจัดตั้งและศูนย์สอบเทียบมาตรฐานวิชาชีพไมซ์ เพิ่มเป้าหมายในการยกระดับงานเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม CLMVให้มาเรียนในประเทศไทย ตอกย้ำในฐานะประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาไมซ์ของอาเซียนในระดับภูมิภาค ASEAN MICE Education Hub 4.ด้านโครงสร้าง ทีเส็บตั้งเป้าหมายในการจัดตั้งเป็นศูนย์สอบเทียบมาตรฐานวิชาชีพไมซ์ในแต่ละภูมิภาคเพื่อเตรียมความพร้อม สู่เส้นทางความเป็นมืออาชีพคนพันธุ์ไมซ์ของประเทศไทย