อธิบดีฝนหลวงฯ ระบุหน่วยเคลื่อนที่เร็ว 2 หน่วย ตรวจวัดอากาศไม่มีความชื้นยังขึ้นทำฝนหลวงไม่ได้ ยันใน 1-2 ปี พัฒนาโดรนฝนหลวงโมเดลใหม่สำเร็จใช้ทำฝนตกในกรุงเทพฯ แก้มลพิษฝุ่นละอองได้ ย้ำฝุ่นจิ๋วเกิดจากคนที่ขาดความรับผิดชอบต่อสังคม วันนี้ (23 ม.ค.62) นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยถึงการติดตามสภาพอากาศเพื่อขึ้นทำฝนหลวง โดยหน่วยเคลื่อนที่เร็ว จ.ระยอง และจ.นครสวรรค เพื่อช่วยลดปัญหาฝุ่นละอองในกรุงเทพและปริมณฑล เป็นวันที่ 9 ว่าช่วงเช้าตรวจวัดสภาพอากศชั้นบน โดยสถานีเรดาร์สัตหีบ เพื่อประกอบการตัดสินใจทำฝนหลวง พบว่าความชื้นสัมพันธ์ เพียงแค่ 39% ลดไปเป็นจำนวนมาก ขณะที่ความชื้นต่อการพัฒนาเมฆระดับ1 หมื่นฟิต เหลือเพียง 10 % และค่าดัชนียกตัวมวลอากาศ เพิ่มเป็นบวกถึง5.3 ถือว่าทิศทางไม่ดี ไม่ทำให้เมฆพัฒนาตัวไปสู่เมฆฝน ไม่อยู่ในเกณฑ์ขึ้นปฏิบัติการฝนหลวงได้ จะติดตามช่วงบ่ายอีกรอบ มาประเมินการตัดสินใจอีกครั้ง ขณะที่สถานีเรดาร์ตาคลี ดูแลพื้นที่ จ.นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา สระบุรี และนครปฐม ความชื้น อยู่ที่ 48 % ซึ่งความชื้นระดับ 60% จึงเหมาะสม และความชื้นในการพัฒนาตัวของเมฆ 10% ค่ายกตัวมวอากาศ บวก7.5 จะเห็นว่าค่าอากาศเป็นเสถียรภาพมาก ซึ่งค่ายกตัวเหมาะสมควรเป็นลบสอง นอกจากนี้อาสาสมัครฝนหลวง ได้ภาพถ่ายท้องฟ้า จ.ฉะเชิงเทรา มีลักษณะท้องฟ้าโปร่งมีเมฆชั้นบน โอกาพัฒนาตัวเป็นเมฆฝนแทบจะไม่มี รวมทั้งจ.พระนครศรีอยุธยา เป็นลักณะเดียวกัน ท้องฟ้าโปร่ง พร้อมกันนี้ได้ใช้ฮอลิคอปเตอร์บินสำรวจ ตรวจสภาพอสกาศ มาเปรียบเทียบกับเครื่องมือตรวจอากาศพบว่ามีความสอดคล้องกัน สำหรับแผนการณ์ในอนาคตของฝนหลวง จะดำเนินการแก้ปัญหาฝุ่นละออง ที่ยังอยู่ต่อไป กำลังวิจัยพัฒนายูเอวี หรือโดรน อากาศยานไร้นักบิน ภายใน1ถึง2ปีนี้จะสำเร็จ เพราะขณะนี้กำลังทดลองให้บินสูงระดับ 6-7พันฟุต สามารถขึ้นบินใช้สานฝนหลวง ขั้นตอนที่1 ขั้นตอนก่อกวน ก่อเมฆ โดยใช้เกลือแกง หรือสารโซเดียมคลอไรต์ ตามตำราฝนหลวงพระราชทาน มาประดิษฐ์เป็นพุล และใช้วิธีเผาให้เป็นอนุภาคเกลือแกงเข้าไปในชั้นบรรยากาศ พร้อมกับขึ้นบินขั้นตอนที่สอง ใช้สารแคลเซียมคลอไรต์ ในเทคนิกการเผาเช่นเดียวกัน ซึ่งควันจากสารเหล่านี้เข้าในเมฆ เลี้ยงให้อ้วน พัฒนาตัวเป็นเมฆฝนมากขึ้น ข้อดีของโดรนนำมาใช้ใกล้กรุงเทพ ได้มากยิ่งขึ้น ไม่ต้องใช้สนามบิน ขึ้นลงบริเวณใดก็ได้ “จะเป็นโมเดลใหม่ที่ประยุกต์ใช้กับกรุงเทพฯ เพราะโดรนไม่ต้องใช้สนามบิน ข้อดีทำให้ปฏิบัติการฝนหลวงมาช่วยกรุงเทพชั้นใน ฝั่งตะวันตก และปริมณฑลได้ เพราะการใช้เครื่องบินติดเงื่อนไขการบิน ที่ต้องอยู่ห่างสนามบินนานาชาติ ไม่น้อยกว่า50 ไมล์ ในครั้งนี้ได้รับความร่วมือให้บินทำฝนหลวงมาชิดสนามบินในระยะ 15 ไมล์ ได้ ถ้าในปีสองปีนี้การพัฒนาโดรนฝนหลวงสำเร็จ จะทำฝนขอบกรุงเทพ ทำให้เมฆฝนจากซีกตะวันออกไหลมาตกในกรุงเทพและฝั่งตะวันตกได้ ขอขอบคุณประชาชนส่งกำลังใจและถ่ายรูปเมฆส่งมาให้ พวกเราชาวฝนหลวงฯพร้อมปฏิบัติทันทีเมื่อพบอากาศเหมาะสม ซึ่งขอฝากไว้ด้วยว่าฝุ่นจิ๋วเกิดจากคน คนทำให้เกิดฝุ่นจิ๋ว เกิดจากการขาดความรับผิดชอบต่อสังคม”อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าว