ทบทวนจริงจัง !! สมาคมการค้าร้านค้าปลอดอากรไทย และสมาคมผู้ค้าปลีกไทยยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้สัมปทานดิวตี้ฟรี , การจัดตั้งจุดส่งมอบสิบค้าสาธารณะในสนามบิน และการลดอันตรายอากรขาเข้า เมื่อวันที่ 18 ม.ค.62 นางรวิฐา พงศ์นุชิต นายกสามคมการค้าร้านค้าปลอดอากรไทย และ นายวรวุฒิ อุ่นใจ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ยื่นหนังสือถึง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อีกครั้ง หลังจากได้เคยยื่นข้อเสนอแนะไปแล้วเมื่อเดือนมีนาคมปีที่ผ่านมา ให้ทบทวนหลักเกณฑ์การให้สัมปทานธุรกิจร้านค้าปลอดอากร การจัดตั้งจุดส่งมอบสินค้าสาธารณะในสนามบิน และการลดอันตรายอากรขาเข้า ย้ำการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นที่ตั้ง สมาคมการค้าร้านค้าปลอดอากรไทย และสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ได้ร่วมศึกาาแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการให้สัมปทานธุรกิจร้านค้าปลอดอากร ในประเทศไทย เพื่อให้มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อรัฐและประชาชน หากประเทศไทย ยกเลิกการผูกขาดธุรกิจร้านค้าปลอดอากร ทั้งภายในสนามบินและในตัวเมือง, เปิดเสรีจุดส่งมอบสินค้าสาธารณะในสนามบิน รวมถึง ปรับอัตราภาษีนำเข้าให้แข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้ ประเทศไทยมีโอกาศมหาศาลที่จะเพิ่มขึ้นถึงหนึ่งในสามของรายได้จากการจับจ่ายใช้สอยของนักท่องเที่ยวในปัจจุบันทั้งนี้จะส่งผลให้ภาครัฐได้รับผลประโยชน์สุทธิรวมกว่า 32,000 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้เนื้อหาในหนังสือ ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. ยกเลิกระบบผูกขาด ปัจจุบัน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) ได้ดำเนินการให้สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง ซึ่งเป็นสนามบินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ ใช้ระบบสัมปทานรายเดียว (Master Concession) อันถือเป็นการผูกขาดและไม่ก่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม ส่งผลให้ความหลากหลายของสินค้า และคุณภาพของการบริการมีจำกัด จึงขอเสนอแนะให้มีการพิจารณาปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์และเงื่อนไข (ทีโออาร์) สำหรับการเปิดประมูลสัมปทานฯที่สนามบินสุวรรณภูมิที่จะมีขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ โดยให้เปลี่ยนจากระบบสัมปทานรายเดียว มาใช้ระบบสัมปทานหลายรายตามหมวดหมู่สินค้า (Concession by Category) แทน เช่น หมวดเครื่องสำอาง หมวดสุราและบุหรี่ หมวดสินค้าแฟชั่น เป็นต้น ระบบสัมปทานประเภทนี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากประเทศชั้นนำทั่วโลก เช่น สนามบินอินชอน สาธารณรัฐเกาหลีใต้ สนามบินชางงิ ประเทศสิงคโปร์ สนามบินฮ่องกง เป็นต้น ได้ใช้ระบบสัมปทานฯ ตามหมวดหมู่สินค้าซึ่งมีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ให้สัมปทานและผู้ใช้บริการสนามบิน 2.จัดให้มีจุดส่งมอบสินค้าสาธารณะในสนามบิน ในปัจจุบันสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมืองมีจุดส่งมอบสินค้าในสนามบินสำหรับผู้ประกอบการร้านค้าปลอดอากรในเมือง (Downtown Duty Free) เพียงรายเดียว ถือเป็นการผูกขาดเช่นกัน จึงขอเสนอแนะวว่า จุดส่งมอบสินค้าสาธารณะในสนามบินนานาชาติทุกแห่งที่อยู่ในกำกับดูแลของ ทอท. ต้องจัดให้มีขึ้นตามกฏหมายศุลกากร โดยไม่เปิดให้มีสัมปทาน แต่ให้ผู้ประกอบการร้านค้าปลอดอากรในเมืองที่ได้รับอนุญาตจากกรมศุลกากรสามารถเช่าพื้นที่พร้อมระบบตรงกับ ทอท. 3.พิจารณาลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับสินค้านำเข้าที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว ปัจจุบันอากรขาเข้าของประเทศไทยสำหรับสินค้าที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวต่างชาติและนักท่องเที่ยวไทย เช่น เครื่องสำอาง เสื้อผ้า กระเป๋า และรองเท้า อยู่ในระดับที่สูง เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาค อาทิ จีน มาเลเซีย แลฃะ อินโดนีเซีย ซึ่งได้มีการปรับยกเว้นหรือลดอากรขาเข้าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาค้าปลีกลดลง ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติจับจ่ายใช้สอยมากชึ้น นอกจากนี้ มาตรการยกเว่นหรือลดอากรยังส่งผลให้คนในประเทศลดการใช้จ่ายในต่างประเทศ อีกทั้งยังลดการซื้อขายในตลาดของหิ้ว (grey market) ให้น้อยลงอีกด้วย จึงขอเสนอแนะว่า ควรพิจารณาลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับสินค้าประเภทที่ได้รัยความนิยมจากนักท่องเที่ยวต่างชาติและประเภทที่นักท่องเที่ยวไทยนิยมซื้อจากประต่างประเทศ เพื่อยกระดับศักยภาพการแข่งขันของประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้นในระดับภูมใภาค และสร้างผลประโยชน์ให้กับทุกฝ่าย ทั้งทางภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน รวมถึงนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศไทย ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่รัฐบสลต้องพิจารณาและทบทวนเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ