ยังไม่จบ กลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าชีวมวลที่จะเกิดขึ้นที่ ต.ผักตบ อ.หนองหาน จ.อุดรธานี วันนี้กลุ่มมวลชนที่ต่อต้านพากันเดินทางไปหน้าศาลากลางจ.อุดรธานี คัดค้านการเปิดเวทีทำ EIA ของทางบริษัท หากมีการเปิดเวที ชาวบ้านจะยกระดับชุมนุมขับไล่ทันที วันนี้ (16 ม.ค.61) ที่ลานพลับพลาพิธีทุ่งศรีเมือง หน้าศาลากลางจังหวัดอุดรธานี กลุ่มคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าผสมผสาน (ชีวมวล) ต.ผักตบ อ.หนองหาน กว่า 100 คน นำโดย นายคำปลาย คำแพงราช อดีต ผอ.โรงเรียนบ้านผักตบ นายเชิดชัย โคตรชาลี เลขาฯอดีต ส.ส.ทองดี มานิสสาร (ถึงแก่กรรม) เดินทางมาร่วมตัวยื่นหนังสือร้องเรียน ต่อ ผวจ.อุดรธานี โดยนำป้ายต่อด้านมาประกอบการปราศรัย โจมตีหน่วยงานราชการ ขณะที่มีตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบ รวมทั้ง จนท.การข่าวติดตามอย่างใกล้ชิด ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมจะเคลื่อน เข้าไปยื่นหนังสือภาคในศาลากลาง จ.อุดรธานี เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองมาแจ้งว่า นายปราโมทย์ ธัญญพืช รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี จะมารับหนังสื่อกับผู้ชุมชนแทนผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี ที่เดินทางไปเป็นประธานพิธี “วันครู” จากนั้นเจ้าหน้าที่ อส.รักษาการศาลากลาง จ.อุดรธานี ได้ปิดประตูเข้า-ออกศาลากลางจังหวัด ด้านสนามทุ่งศรีเมืองทั้ง 2 ด้าน สร้างความไม่พอใจแก่ผู้ชุมชน จนนายปราโมทย์ฯ รอง ผวจ.อุดรธานี เดินทางมา นายคำปลาย คำแพงราช กล่าวผ่านเครื่องขยายเสียงแบบหิ้ว ก่อนยืนหนังสือต่อรอง ผวจ.อุดรธานีว่า มายืนหนังสือ 3 ฉบับ เรื่องแรก คัดค้านการทำเวทีรับฟังความคิดเห็น โรงไฟฟ้าพลังงานผสมผสาน บ.ป่าก้าว ต.ผักตบ ที่ บ.ไทยโก้ เทคโนโลยี จก. แจกจ่ายเอกสารให้ผู้นำท้องที่ว่า จะจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น เพื่อประกอบการทำ EIA ขึ้นในวันที่ 29 มกราคม ที่โรงแรมหนองหานแกรนด์ และขอให้ถอนโครงการนี้ออกไป , 2.ขอให้ชี้แจงกรณีที่ศูนย์ดำรงธรรม จ.อุดรธานี แจ้งให้แขวงการทางอุดรธานี 2 รื้อถอนป้ายต่อต้านโรงไฟฟ้าออก และ 3. ขอให้ปิดโรงงานยางเครป บ.ปริ้น รับเบอร์ จก. บ.ป่าก้าว เพราะขาดมาตรฐานทำชาวบ้านเดือดร้อน จากนั้นนายเชิดชัย โคตรชาลี เลขาฯอดีต ส.ส.ทองดี มนิสสาร ได้ยื่นหนังสือร้องเรียนทั้ง 3 ฉบับ พร้อมประกาศกับผู้ชุมนุมว่า ทำการเมืองเคียงคู่กับอดีต ส.ส.ทองดี มนิสสาร ติดต่อกันมาโดยตลอด แม้อดีต ส.ส.ทองดีฯจะจากไปแล้ว ตนเองก็ยังคงอยู่กับชาวบ้าน ไม่ได้ไปสังกัดพรรคการเมืองใด เพราะกฎกติกามันเยอะแยะมากมาย จะขอทำการเมืองภาคประชาชน จะขอนำชาวบ้านคัดค้านโรงไฟฟ้านี้ โดยในวันที่ 29 มกราคมนี้ หากบริษัทยังจะจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น ชาวตำบลผักตบจะยกระดับการชุมชน ชวนคนทั้ง อ.หนองหาน ออกมาขับไล่ ต่อมา นายปราโมทย์ ธัญญพืช รอง ผวจ.อุดรธานี ได้รับหนังสือร้องเรียนจากแกนนำชาวบ้านแล้ว ได้เป็นประธานประชุม คณะทำงานติดตามผลกระทบ ที่อาจเกิดขึ้นจากโรงไฟฟ้า ต.ผักตบ ที่ห้องประชุมคำชะโนด ศาลากลาง จ.อุดรธานี มี นายทรรศชล พุทธรัตนา พลังงาน จ.อุดรธานี นำคณะทำงานจากภาคราชการ , นักวิชาการ , ทต.ผักตบ , กำนัน-ผญบ.ต.ผักตบ รวมทั้งนายคำปลาย คำแพงราช ตัวแทนกลุ่มคัดค้าน และตัวแทนชาวบ้าน 10 คน เข้าร่วมประชุมให้ความเห็น การขอทำเวทีรับฟังความคิดเห็น 29 มกราคม ที่จะถึงนี้ นายทรรศชล พุทธรัตนา พลังงาน จ.อุดรธานี แจ้งถึงอำนาจหน้าที่ของคณะทำงาน เป็นเหมือนการให้คำปรึกษาแก่ ผวจ.อุดรธานี ไม่มีอำนาจสั่งการใดๆ พร้อมแจ้งการหารือไปยัง สนง.คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ) ว่า กกพ.รับทราบเรื่องมีชาวบ้านการคัดค้านแล้ว ซึ่งขณะนี้โครงการอยู่ระหว่าง รับฟังความคิดเห็นประชาชน และผู้มีส่วนได้เสีย ในกระบวนการการทำ EIA ในส่วนขั้นตอนการพิจารณาของ กกพ. จะนำเอาคำคัดค้านของประชาชน มาประกอบการพิจารณา ตาม ม.47 และ 48 พรบ.ประกอบกิจการพลังงาน 2550 นายสุชา ไพเราะ นักวิชาการจาก สนง.กิจการพลังงานภูมิภาค จ.ขอนแก่น ตอบข้อซักถามว่า ที่ผ่านมาในการพิจารณาของ กกพ. เมื่อโครงการใด EIA ผ่านความเห็นชอบแล้ว จะได้รับการอนุญาตให้ประกอบกิจการได้ทั้งหมด ส่วนที่มีประชาชนคัดค้าน จะกำหนดเป็นเงื่อนไขในใบอนุญาต ซึ่งก็จะมีกลุ่มที่คัดค้านฟ้องศาล ว่าการทำ EIA ลัดขั้นตอน ขาดความสมบูรณ์ ใ ขณะที่คณะทำงานที่เหลือมีความเห็น อาทิ สถานที่ตั้งโครงการอยู่ห่างจากโรงเรียนไม่ถึง 500 เมตร , โครงการอยู่ติดกับลำห้วยสาธารณะ , ขยับโครงการออกไปบริเวณอื่นได้หรือไม่ หรือเข้าในอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ซึ่งอยู่ไม่ไกล และหากมีการจัดทำเวลารับฟังความคิดเห็น ขอให้เจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย ไม่ให้เกิดเหตุวุ่นวาย และประชาชนในพื้นที่มีสภาพกดดัน จากแนวคิดที่แตกต่างกัน นายคำปลาย คำแพงราช แกนนำกลุ่มคัดค้านกล่าวว่า บริษัทฯประกาศในพื้นที่แล้วว่า จะจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นวันที่ 29 มกราคม นี้ วันนี้กลุ่มคัดค้านอยากให้เลิกโครงการไปเลย เพราะชาวบ้านไม่ต้องการ เพราะจะสร้างความเดือดร้อน เหมือนโรงไฟฟ้าชีวมวลหลายแห่ง ซึ่งโรงไฟฟ้าเหล่านั้นกำลังผลิตไม่เกิน 10 เม็กกะวัตต์ แต่ที่ ต.ผักตบ ขออนุญาตมากกว่า 20 เม็กกะวัตต์ อยากให้คณะทำงานพิจารณา ให้ชาวบ้านที่มีความเห็นต่าง กลับมารักกันเหมือนเดิม โดยให้แล้วโรงไฟฟ้าไปตั้งที่อื่น “ชาวบ้านตำบลผักตบ 12 หมู่บ้าน ส่วนใหญ่ไม่เอาโรงไฟฟ้าแห่งนี้ เราส่งรายชื่อมาให้แล้ว 6,270 คน นอกจากนี้สมาชิกสภา ทต.ผักตบ ทุกคนก็ลงนามในหนังสือไม่สนับสนุน , ผญบ.ทุกหมู่ ลงรายมือชื่อคัดค้านเช่นกันยกเว้นกำนัน เมื่อชาวบ้านไม่เอาก็ไม่ต้องทำเวที การมาบังคับให้ทำเวที เหมือนกับไล่หมาให้จนตรอก เพราะที่ผ่านมาเมื่อฟังความคิดเห็น EIA ก็จะผ่านความเห็นชอบ และโครงการก็จะรับอนุมัติ ” นายสิริศักดิ์ เลิศพุทธิภิญโญ ที่ปรึกษา บ.ไทยโก้ เทคโนโลยี จก. กล่าวว่า ในปัจจุบันเทคโนโลยีต่าง ๆ พัฒนาขึ้น มาตรการของรัฐก็เข้มข้น เพื่อควบคุมกำกับดูแลให้โครงการ ไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน ผู้ลงทุนก็ต้องระมัดระวัง ไม่ให้เกิดปัญหาจนต้องถูกปิด ขอให้ผู้คัดค้านเปิดใจกว้าง ไปเสนอความคิดเห็นในเวที ทั้งข้อห่วงใย ข้อกังวน ตลอดจนข้อเสนอแนะ บริษัทฯพร้อมที่จะปฏิบัติตาม นายปราโมทย์ ธัญญพืช รอง ผวจ.อุดรธานี กล่าวสรุปว่า เรื่องทั้งหมดจะสรุปส่งให้ นายวัฒนา พุฒิชาติ ผวจ.อุดรธานี พิจารณาตัดสินใจ และจะแจ้งให้ทุกฝ่าย โดยตามที่กลุ่มผู้ชุมนุมจะมารับคำตอบวันที่ 18 มกราคมนี้ เนื่องจากเป็นวันสำคัญของชาวอุดรธานี จะขยับออกไปก่อนได้หรือไม่ โดยของให้ความมั่นใจกับการทำงานของข้าราชการ ที่มีความจริงใจ อยู่เคียงข้างประชาชน สำหรับการออกไปรับหนังสือนอกศาลากลางมีเหตุผล เรากำลังขับเคลื่อนแก้ปัญหาหลายเรื่อง และการแสดงออกวันนี้ของทุกคน ปรากฏให้เห็นไปทั้งประเทศแล้ว/////////// อุดม ///จ.อุดรธานี