ก่อโรคระบบทางเดินหายใจ -ปอด และหากสะสมส่งผลให้ปอดเสื่อม หอบหืด หลอดลมอักเสบ พร้อมแนะ 4 ข้อปฏิบัติ นพ.วิทูรย์ อนันกุล ผอ.กองสาธารณสุขฉุกเฉิน กล่าวว่า จากสถานการณ์ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ที่เกินมาตรฐาน ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพค่อนข้างมาก ส่งผลให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ และปอดต่างๆ หากได้รับในปริมาณมากหรือเป็นเวลานานจะสะสมในเนื้อเยื่อปอด ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของปอดเสื่อม มีอาการหอบหืด และทำให้หลอดลมอักเสบ จึงแนะนำให้ประชาชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดูแลสุขภาพตนเองจากฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 โดยปฏิบัติดังนี้ 1. ติดตามข่าวสารฝุ่นละอองจากกรมควบคุมมลพิษ เพื่อหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีส้ม-แดง) 2. ควรลดระยะเวลาในการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ใช้หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากป้องกันฝุ่นขนาด 0.3 ไมครอนได้อย่างน้อย 95% (ชนิด N 95) ให้ถูกวิธี ขณะอยู่ในพื้นที่ฝุ่นละอองหนาแน่น 3. หมั่นสังเกตอาการทางสุขภาพของตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงได้แก่ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด 4. ขอความร่วมมือประชาชนลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ใช้ระบบขนส่งสาธารณะ และห้ามใช้รถยนต์ที่มีควันดำเด็ดขาด