เลือกตั้งก็สำคัญ เหตุผลการเลื่อนเลือกตั้งก็สำคัญ ทั้ง 2 ความสำคัญ วันนี้ต่างฝั่งต่างฝ่าย “เห็นควร” กับ “เห็นต่าง” เหตุผลการเลื่อนเลือกตั้งคือ - กำหนดการเลือกตั้งเดิม 24 กพ. 62 - พระราชพิธีบรมราชาภิเษก 4-6 พ.ค 62 วันพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 4-6 พ.ค. 62 มีกฎว่า ก่อนและหลังพระราชพิธี 2 สัปดาห์ ห้ามมีการจัดกิจกรรมใดๆ นั่นหมายความว่า ก่อนพระราชพิธี 2 สัปดาห์ คือ 19 เมษายน หลังพระราชพิธี 2 สัปดาห์ คือ 21 พฤษภาคม ยังอยู่ในระหว่างพระราชพิธี จึงไม่สะดวก ที่จะมีการเลือกตั้งตามกำหนดเดิมคือ 24 กุมภาพันธ์ ทำไมถึงจะมีการเลือกตั้งวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ไม่ได้ เพราะว่าหลังจากเลือก 60 วันจะต้องประกาศผลการเลือกตั้ง นั่นคือ วันที่ 24 เมษายน “ซึ่งอยู่ในระหว่างเตรียมการไปสู่พระราชพิธี หลังจากนั้นอีก 15 วัน จะต้องเปิดประชุมสภา นั่นคือ 9 พฤษภาคม นั่นก็ยังอยู่ระหว่างหลังพระราชพิธี นั่นหมายความว่ากำหนดการเลือกตั้งเดิมจึงไม่สะดวกในการให้มีกิจกรรมการเลือกตั้งใดๆ เพราะอยู่ในพระราชพิธี มีประเด็นน่าคิดว่ากิจกรรมใดๆ ที่ห้ามก่อนหรือหลัง2สัปดาห์ของงานพระราชพิธีนั้น รวมถึงการมีรัฐบาลใหม่ตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ “ประชาชนอาจยังไม่เข้าใจ” “เรื่องนี้เป็นเรื่องราวที่ละเอียดอ่อน” แต่ถ้าหากเลื่อนเลือกตั้งโดย สมมุติ วันเลือกตั้ง เป็น 24 มีนาคม62 ( อ้างอิง : วิษณุ เครืองาม “รองนายกรัฐมนตรี”) การประกาศผลการเลือกตั้ง 60 วัน หลังเลือกตั้งนั่นคือ วันที่ 24 พฤษภาคม และวันเปิดประชุมสภา นับไปอีก 15 วัน คือวันที่ 9 มิถุนายน นั่นหมายความว่า เลยวันพระราชพิธีเรียบร้อยแล้ว เพราะเลยวันที่ 21 พฤษภาคมไปแล้ว จึงสะดวกในการที่จะมีกิจกรรมเลือกตั้ง และมีประเด็นวิเคราะห์อีกว่าเพียงแค่เลื่อนเลือกตั้ง หรือ อาจไม่มีการเลือกตั้ง 1. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 171 บัญญัติไว้ว่า "ในวาระเริ่มแรก ให้ตราพระราชกฤษฎีกา กําหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 90 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภามีผลใช้บังคับ และให้คณะกรรมการการเลือกตั้งกําหนดวันเลือกตั้ง ซึ่งต้องไม่ช้ากว่า 150 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวมีผลใช้บังคับ" สรุปได้ง่ายๆว่า 1.พระราชบัญญัติฉบับนี้ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2561 กำหนดให้ - ตราพระราชกฤษฎีกาฯ ภายในวันที่ 10 มีนาคม 2562 - กำหนดให้ "วันเลือกตั้ง" ไม่ช้ากว่าวันที่ 9 พฤษภาคม 2562 2. เห็นอย่างนี้ การกำหนดให้เลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562 ก็ทำได้สิ แต่เมื่อไปพิจารณาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 กัน 3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 268 บัญญัติไว้ว่า "ให้ดําเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 150 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามมาตรา 267 (1) (2) (3)และ (4) มีผลใช้บังคับแล้ว" สรุปได้ง่ายๆว่า รัฐธรรมนูญฯ กำหนดให้ "การเลือกตั้งแล้วเสร็จ" ภายในวันที่ 9 พฤษภาคม 2562 4. "การเลือกตั้งแล้วเสร็จ" ในรัฐธรรมนูญฯ ไม่เหมือนกับ "การกำหนดวันเลือกตั้ง" ในพระราชบัญญํติประกอบรัฐธรรมนูญฯ ทั้งตัวข้อความและสาระสำคัญ เพราะ "การเลือกตั้งแล้วเสร็จ" หมายถึงภารกิจของการดำเนินการเลือกตั้งทั้งหมดของคณะกรรมการเลือกตั้งแล้วเสร็จ ซึ่งกินความตั้งแต่ การกำหนดวันเลือกตั้ง การจัดการเลือกตั้งให้เสรีและเป็นธรรม จนถึงการประกาศผลการเลือกตั้งแล้วเสร็จภายในวันที่ 9 พฤษภาคม 2562 ด้วย 5. เมื่อมีความแตกต่างกันใน "ภารกิจ" เช่นนี้ ต้องยึดบทบัญัติของรัฐธรรมนูญเท่านั้น เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ หรือการกระทําใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทํานั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้ 6. เมื่อคณะกรรมการเลือกตั้งต้องดำเนินการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 9 พฤษภาคม 2562 และด้วยเหตุที่ข้อกฎหมายกำหนดให้คณะกรรมการเลือกตั้งประกาศผลการเลือกตั้งภายใน 60 วันหลังวันเลือกตั้ง วันเลือกตั้งจึงไม่ควรช้ากว่าวันที่ 11 มีนาคม 2562 7. การเสนอให้กำหนดวันเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562 จึงสุ่มเสี่ยงต่อการขัดรัฐธรรมนูญฯ เพราะคณะกรรมการเลือกตั้งอาจไม่สามารถประกาศผลการเลือกตั้งได้ภายในวันที่ 9 พฤษภาคม 2562 และอาจมีผู้ไปร้องให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ คณะกรรมการเลือกตั้งถูกฟ้องร้องทั้งแพ่งและอาญา 8. หากศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องร้องเรียนให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ สภานิติบัญัติแห่งชาติ และ คณะรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเรื่อยๆอย่างไม่มีกำหนด ตามบทบัญญัติในมาตรา 263 และ 264 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 9. หากศาลรัฐธรรมนูญใช้เวลาในการพิจารณายาวนาน อาจไม่มีการเลือกตั้งใหม่ในปีนี้ หรือหากศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่า การเลือกตั้งเป็นโมฆะ จะมีการเลือกตั้งใหม่อีกเมื่อไร ไม่มีใครทราบได้ เพราะบทเฉพาะกาลไม่มีกำหนดเงื่อนเวลาในสถานการณ์จำลองนี้ ดังนั้น การตีความใดๆจึงขอให้อยู่ในพื้นฐานความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมให้มากที่สุด สุดท้ายคืออยู่ที่ความจริงใจของผู้นำ เอาตรงๆว่าจะเลือกตั้งหรือไม่เท่านั้นครับ ด้วยความเคารพ “วัฒนา จำปาดิบรัตนกุล