กรมชลชลประทาน เร่งพร่องน้ำเขื่อนใหญ่ 3 แห่ง เขื่อนกลาง 19 แห่ง ก่อนจะล้นสปินเวลย์ ยันเตรียมรับมือพายุ "ปาบึก"ตั้งแต่ 30 ธ.ค.61 ชี้พายุขึ้นฝั่ง 4-5 โมงเย็นวันนี้ ที่จ.นครศรีธรรมราช เตือนชาวนครฯเจอน้ำท่วมเมืองระลอกใหญ่ คาดเป็นจุดศูนย์กลางพายุขึ้นแผ่นดิน ระบุพายุปาบึก แรงเป็นอันดับสาม รองจากแฮเรียต และพายุเกย์ วันนี้ (4 ม.ค.62) ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยภายหลังประชุมทางไกลไปยังสำนักงานชลประทาน16 จังหวัดภาคใต้ เพื่อเตรียมการรับสถานการณ์อุทกภัยจากอิทธิพลพายุ ปาบึก ว่า ขณะนี้ศูนย์กลางพายุ "ปาบึก" อยู่จากห่างฝั่ง 200 กม.จะเคลื่อนที่ความเร็ว25 กม.ต่อชม.ความเร็วรอบจุดศูนย์กลาง เพิ่มจาก65 กม.เป็น 75 กม.ต่อชม. ยังเป็นพายุโซนร้อน ไม่ถึงพายุไต้ฝุ่น โดยคาดว่าใช้เวลา ไม่เกิน 8-9 ชม. เข้าถึงฝั่งที่จ.นครศรีธรรมราช-สงขลา ช่วงเย็นวันนี้โดยขึ้นฝั่ง ประมาณ 4-5 โมงเย็น ดูจากเส้นทางพายุขยับลงต่ำกว่าเดิม จากคาดสองวันก่อนจะมาขึ้นจ.สุราษฎ์ธานี ตอนนี้แนวต่ำลงมา คาดว่าจะมีฝนตกหนักมากกว่า123 มม.ที่อ.จะนะ นาทวี และอ.เทพา 154 มม.อ.สบ้าย้อย 200 กว่ามม.จนถึงจ.ปัตตานี ฝนตกกว่า 100 มม. "ปัจจุบันรัศมีความกว้างของพายุปาบึก เข้ามาถึงฝั่งแล้ว ตัวศูนย์กลางมาไม่ถึงโดยจะถึงเย็นนี้และเที่ยงคืนจะหนักที่สุด โดยตัวพายุอยู่ในศูนย์กลางของแผ่นดิน ที่จ.นครศรีธรรมราช ฝนหนักประมาณ300 มม.ทำให้เกิดน้ำท่วมเขตเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช ประมาณ 3-5 วัน และจังหวัดใกล้เคียงไปถึงฝั่งอันดามัน ซึ่งได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ กว่า1,170 รายการและสะพานแบลรีย์ หากถนนถูกตัดขาด พร้อมกันนี้นายกฤษฏา บุญราช รมว.เกษตรฯได้สั่งการให้ระดมทรัพยากรต่างๆลงพื้นที่เสี่ยง ตั้งศูนย์เฝ้าระวังสูงสุด24 ชม.แจ้งเตือนประชาชนอย่างทันท่วงที ได้ตั้งรองอธิบดีกรมชลประทาน 4 ท่านลงไปดูแลทุกพื้นที่เพื่อลดความเสีนหายให้น้อยที่สุด พร้อมกับผอ.-หัวหน้าสำนักชลประทาน ต้องอยู่ประจำจุดจนกว่าสถานการณ์คลี่คลาย พร้อมกับติดตามข้อมูลข่าวสารกับทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการสื่อสารได้ตลอดเวลาทุกสภาพอากาศเตรียมใช้ช่องทางผ่านวิทยุมือถือ ไว้กรณีสัญณานโทรศัพท์ล่ม โดยพายุนี้ทำให้มีฝนหนักถึงวันที่ 6 ม.ค.มีปริมาณฝนตกกระจัดกระจายทั่วภาคใต้ และมีฝนตกบางส่วน จ.ประจวบคีรีขันธ์"ดร.ทองเปลว กล่าว อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ได้ทำการประเมินน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำ 14 จังหวัดภาคใต้ และ2 จังหวัด เพชรบุรี กับประจวบคีรีขันธ์ุ เขื่อนใหญ่ๆมีน้ำกว่า 80-90 % พบว่าเขื่อนใหญ่เฝ้าระวังน้ำล้นสปินเวลย์ มี3 เขื่อน เช่นเขื่อนแก่งกระจาน เพชรบุรี เขื่อนปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฎร์ธานี ส่วนเขื่อนขนาดกลาง เฝ้าระวังน้ำล้น 19 แห่ง เช่น เขื่อนคลองท่างิ้ว จ.ตรัง เขื่อนห้วยน้ำใส จ.ตรัง เขื่อนบ้านพรุเตย จ.ตรัง เขื่อนเสม็ดจวน จ.นครศรีธรรมราช เขื่อนห้วยอ่างหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เขื่อนยางชุม จ.ประจวบฯ เขื่อนห้วยวังเต็ม จ.ประจวบฯ เขื่อนห้วยไทรงาม จ.ประจวบฯ เขื่อนห้วยมงคล จ.ประจวบฯ เขื่อนป่าบอน จ.พัทลุง เขื่อนคลองหัวช้าง จ.พัทลุง เขื่อนป่าพะยอม จ.พัทลุง เขื่อนบ้านกระหร่างสาม จ.เพชรบุรี เขื่อนทุ่งขาม เพชรบุรี เขื่อนห้วยสงสัย เพชรบุรี เขื่อนหาดส้มแป้น ระนอง เขื่อนคลองหลา สงขลา เขื่อนบางทรายนวล สุราษฎ์ธานี เขื่อนห้วยลึก กระบี่ ได้เพิ่มการระบายน้ำแล้ว ดร.ทองเปลว กล่าวว่า ทั้งนี้ ได้เตรียมการพร่องน้ำไว้ล่วงหน้าพร้อมกับคาดการณ์ปริมาณฝนที่จะเข้ามาตั้งแต่ช่วงวันที่30 ธ.ค.61 ที่พายุเริ่มก่อตัว จนวันที่ 1 ม.ค.62 พายุมีเส้นทางเข้าไทยโดยตรงได้ประเมินอัตราการไหลเข้าเขื่อนจากพายุปาบึก เช่นเขื่อนรัชชประภา มีน้ำไหล 240 ล้านลบ.ม.ยังมีช่องว่างเพียงพอรับได้ ส่วนเขื่อนบางลาง คาดว่าเข้าอีก 40 ล้านลบ.ม. และเขื่อนปราณบุรี ได้พร่องน้ำ ระบายเพื่มเป็น100ลบ.ม.ต่อวินาที หรือ วันละ 8 ล้าน ลบ.ม.โดยไม่กระทบด้ายท้ายเขื่อน ส่วนเขื่อนแก่งกระจาน ยังรับน้ำได้อีก 96 ล้านลบ.ม. นายทองเปลว กล่าวอีกว่า จากการประเมินกระแสลมแรงจากพายุ ปาบึก คาดว่าอาจส่งผลทำให้บ้านเรือนพัง สิ่งปลูกสร้างได้รับความเสียหาย แต่เป็นระดับปานกลาง ไม่แรงมากเหมือนพายุเกย์ ที่สร้างความเสียหายรุนแรงที่สุดและรองลงมาเป็นพายุแฮเรียต ส่วนความแรงลมของพายุ ปาบึก อันดับสาม และจะมีฝนหนักมาก 300 มม.ในช่วง3 วัน จากที่ผ่านมาฝนตกหนักมาก ที่จ.นครศรีธรรมราช สูงสุด 288 มม.คราวนี้ฝนถึง300 มม.มีผลกระทบน้ำท่วมมากในพื้นที่เทศบาลเมืองนครฯ แต่พายุนี้ย้อนจากอ่าวไทย ฝนตกจากปลายน้ำ การระบายยังทำได้ แต่อาจมีอุปสรรคจากระดับคลื่นซัดเข้าฝั่งที่สูงเป็นปัจจัยกระทบการระบายน้ำได้ ซึ่งได้เตรียมพร้องลำน้ำไว้ก่อนด้วย โดยได้พร้อมรับมือมาก่อนตั้งแต่วันที่ 30 ธ.ค. 61 เนื่องจากศูนย์น้ำอัจฉริยะ ได้พบพายุและประเมินสสถานการณ์ล่วงหน้า พร่องน้ำเขื่อน ลำน้ำ วันที่ 31 ธ.ค.61 ดังนั้นแม้ฝนจะตกมากก็เป็นไปตามแผน อยู่ในเกณฑ์ควบคุมได้ โดยไม่ประมาทเพราะกรมชลฯมีความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ทุกครั้ง