สมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมประชุมผู้บริหารระดับสูงด้านการประกันภัย (OIC Meets CEO 2025) ครั้งที่ 1/2568 ถกปมร้อนค่าขาดประโยชน์ใช้รถยังไม่ได้ข้อยุติ สุดท้ายมอบ"วาสิต ล่าซำ "หาตัวเลขค่าขาดประโยชน์เหมาะสมสุด
ดร.สมพร สืบถวิลกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารและที่ปรึกษา เข้าร่วมการประชุมผู้บริหารระดับสูงด้านการประกันภัย (OIC Meets CEO 2025) ครั้งที่ 1/2568 ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สมาคมประกันวินาศภัยไทย และสมาคมประกันชีวิตไทย ซึ่งมีผู้บริหารระดับสูงจากบริษัทประกันวินาศภัยและบริษัทประกันชีวิตเข้าร่วมประชุมหารือ เพื่อพัฒนาธุรกิจประกันภัยไทยให้ทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยมี นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการ คปภ. เป็นประธานในที่ประชุม เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2568 ณ ห้องประชุมมัฆวานรังสรรค์ สโมสรทหารบก (วิภาวดีรังสิต)
รายงานข่าวแจ้งว่า ที่ประชุมได้มีการหยิบยกประเด็นดราม่าที่เป็นประเด็นร้อนแรงของภาคธุรกิจประกันวินาศภัยเกี่ยวกับค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถระหว่างซ่อมมาหารือ ซึ่งที่ประชุมได้ให้เหตุผลหลากหลายกันในวงกว้าง ซึ่งส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่าปัจจุบันข้อเท็จจริงแม้จะมีผู้ร้องเรียนและมีการเรียกร้องค่าขาดประโยชน์เข้ามาจำนวนมาก แต่ก็คิดเป็นจำนวนในอัตรที่น้อยมากเมื่อเทียบกับผู้ทำประกันรถยนต์ทั้งระบบ
ซึ่งบางตรั้งก็เรียกร้องเกินเหตุ อย่างรถแท็กซี่ เมื่อเกิดเหตุ รถเข้าซ่อมอู่ เขามักจะคิดว่าไม่เป็นธรรมและเรียกร้องค่าขาดประโยชน์ในฐานะลูกค้าทำประกันคิดเป็นค่าขาดประโยชน์ในวงเงินต่อวันสูง บางคันเรียกร้องวันละ2,000บาท หรือสูงขึ้นมาหน่อยวันละ5,000บาทก็มี ยิ่งเวลาเอารถเข้าซ่อมอู่ ต้องใช้เวลาในการซ่อมนานเป็นแรมเดือน หรือรถบางพวกหาอะไหล่ไม่ได้บ้าง หรือจัดส่งอะไหล่จากตปท.ล่าข้าบ้าง ก็จะนำเรื่องอะไหล่มาให้เหตุผลบ้าง ซึ่งภาคธุรกิจประกันก็คิดว่า ประเด็นไม่น่าจะเป็นความผิดของบริษัทประกันต้องรับผิดขอบจุดนี้ แต่ควรจะเป็นความผิดของผู้ผลิตหรือจำหน่ายรถยนต์มากกว่า ซึ่งปัจจุบันคปภ.และภาคธุรกิจได้กำหนดให้บริษัทประกันจ่ายต่อวัน 500บาท 700บาท และ1,000บาท ก็น่าจะสมเหตุสมผลและเหมาะสมแล้ว เพราะหากขืนให้มีการปรับเพิ่มค่าขาดประโยชน์จากใช้รถในอัตราสูงขึ้นไปอีก ก็จะเป็นภาระให้บริษัทประกันขาดทุน และต้องปรับค่าเบี้ยเพิ่มกับผู้เอาประกันในภาพรวม มันก็ไม่เป็นธรรม และอีกอย่างถ้าเทียบจำนวนผู้ร้องเรียนค่าขาดประโยชน์ทั้งระบบแล้วคิดเป็น0,2%เมื่อเทียบกับ98%ผู้ทำประกันแล้วเทียบกันไม่ได้เลย
ดังนั้นที่ประชุมก็เห็นว่า อาจจะมีการปรับปรุงเงื่อนไขใส่ไว้ในหน้าตารางกธ.ไว้เลย จะได้ไม่ต้องมาถกเถียงและร้องเรียนกันอีก ส่วนที่ผู้ร้องเรียนเห็นว่าค่าเสียหายขาดไป ก็เห็นควรให้ผู้เสียหายหรือเจ้าของรถควรจะไปเรียกร้องกับผู้ละเมิดอีกทอดหนึ่ง น่าจะเหมาะสมกว่า โดยประเด็นนี้ได้มอบหมายให้นายวาสิต ล่ำซำประธานชมรมสินไหมไปทำการศึกษาหาอัตราที่เหมาะสมว่าขั้นต่ำ ค่าขาดประโยชน์ที่สามารถจ่ายสินไหมค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถได้ควรไม่ต่ำกว่าเท่าไหร่ และจึงนำมาหารือในที่ประชุมร่วมกับคปภ.อีกครั่งหนึ่งเพื่อหาข้อสรุป
"ประธานชมรมสินไหมคงจะไปหาตัวเลขที่เหมาะสมสรุปออกมา เหมือนอย่าง รถประกันภาคสมัครใจกำหนดวงเงินคุ้มครอง1ล้านบาท จนต อนหลังมีแัญหา ต่อมาเราก็ร่วมกันถกจนมากำหนดเพดานจ่ายอย่างน้อยต้องไม่ต่ำ 3แสนบาท อย่างนี้ เป็นต้น"แหล่งข่าวรายหนึ่งกล่าว