จากกรณีที่สำนั กงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เตือนผู้บริโภคให้ระวังผลิตภั ณฑ์เสริมอาหาร “Mangluk Power Slim” เนื่องจากไม่ได้รับอนุญาตผลิ ตและนำเข้า รวมถึงใส่สารไซบูทรามีนด้วยนั้น นางสาวสถาพร อารักษ์วทนะ นักวิชาการมูลนิธิเพื่อผู้บริ โภค กล่าวว่า ศูนย์ประสานงานอาหารปลอดภัยจั งหวัดขอนแก่นโพสต์ข้อความผ่ านทางเว็บไซต์เฟซบุ๊ค (www.facebook.com/ศูนย์ ประสานงานอาหารปลอดภัยจังหวั ดขอนแก่น) เมื่อเร็วๆ นี้ว่ามีผู้บริโภคเสียชีวิ ตจากผลิตภัณฑ์เสริ มอาหารลดความอ้วน ที่ผสมสารไซบูทรามีน จึงต้องการให้ อย.ทำตามที่แถลงข่าวไว้ว่ าจะดำเนินการกับผู้กระทำความผิด โดยขอให้เร่งดำเนินการอย่างจริ งจังและโดยเร็ว เช่น ห้ามขายและห้ามโฆษณาผลิตภัณฑ์ เสริมอาหารชนิดนี้ในทุกช่องทาง “อย.ควรบังคับใช้กฎหมายให้เข้ มแข็งกว่านี้ บังคับใช้ขั้นเด็ดขาด เพื่อไม่ให้ต้องมีผู้บริ โภครายใดเสียชีวิตจากผลิตภัณฑ์ เสริมอาหารที่ไม่ได้รับอนุญาตอี ก และถ้า อย.ทำธนาคารข้อมูลว่าสินค้ าใดเป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงและสื บค้นข้อมูลได้ก็จะเป็นประโยชน์” นางสาวสถาพร ให้ความเห็น นักวิชาการ กล่าวต่อไปว่า ขอให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้ มครองผู้บริโภค (สคบ.) บังคับใช้กฎหมายตามมาตรา ๓๖ ของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๕๖ ที่เมื่อพิสูจน์แล้วว่าสินค้านั้ นเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ห้ามผู้ประกอบธุรกิจขายสินค้ าชนิดนั้น และเรียกกลับคืนสินค้า รวมถึงขอความร่วมมือผู้บริโภคที่ พบเห็นการขายหรือโฆษณาสินค้าดั งกล่าวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ให้ ถ่ายรูป หรือเก็บหลักฐานพร้อมรายละเอี ยดร้านค้า และแจ้งเข้ามาที่มูลนิธิฯ “เราจะรวบรวมข้อมูลส่งไปยั งกองบังคั บการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) เพื่อให้ตรวจจับเว็บไซต์ที่ ขายและโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริ มอาหารผิดกฎหมายตามมาตรา ๑๔ (๑) ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิ ดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ ที่ว่า ผู้ใดนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิ วเตอร์เป็นเท็จ ที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อผู้ อื่นและประชาชน มีโทษจำคุกไม่เกิน ๕ ปี ปรับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” นางสาวสถาพร กล่าว อย่างไรก็ตาม “ไซบูทรามีน” เป็นยาที่ อย.ถอนออกจากทะเบียนยาแล้ว เนื่องจากมีผลข้างเคียงกับคนที่ เป็นโรคหัวใจ ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับไต หรือตับ เป็นต้น