17 พ.ย. 59 ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ ประธานสภาพัฒนาการ(สพม.) แถลงรายงานผลการสำรวจความคิดเห็นและการรับฟังความคิดเห็นต่อการจัดทำพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่า ตามที่สภาพัฒนาการเมืองได้จัดโครงการรับฟังความคิดเห็นและจัดทำข้อเสนอต่อการจัดทำพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญทั้ง 4 ฉบับนั้น ทางสภาพัฒนาการเมืองได้ทำการสำรวจความคิดเห็นประชาชนกลุ่มตัวอย่าง (โพล) จำนวน 7,515 คน รับฟังความคิดเห็นจากคณะทำงานเครือข่ายภาคประชาสังคมระดับกลุ่มจังหวัด (คปก.) ในภาคต่างๆ จำนวน 1,150 คน และการสนทนากลุ่ม (โฟกัสกรุ๊ป) ผู้เชี่ยวชาฯและกลุ่มบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องผ่านการจัดเวทีประชุมสัมมนาเรื่อง ทิศทางพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 14 พ.ย.ที่ผ่านมา จำนวน 12 คน โดยสรุปผลการสำรวจได้ดังนี้ แนวทางในการส่งเสริมภาคประชาสังคม ประชาชนและพรรคการเมืองให้มีส่วนร่วมในกระบวนการก่อนการเลือกตั้งพบว่า ผลโพลร้อยละ 61.20 เห็นด้วย และกลุ่ม คปก.ก็เห็นด้วยกับแนวทางการส่งเสริมภาคประชาสังคม ประชาชนและพรรคการเมืองให้มีส่วนร่วมในกระบวนการก่อนการเลือกตั้ง ร้อยละ 92.60 เห็นด้วย และกลุ่ม คปก.ก็เห็นด้วยกับการจัดทำฐานข้อมูลภูมิหลังประวัตินักการเมือง ร้อยละ 83.10 เห็นด้วย และกลุ่ม คปก.ก็เห็นด้วยให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องผ่านหลักสูตรการอบรมของ กกต. หรือ สถาบันที่มีกฎหมายรองรับจึงจะมีสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งได้ และร้อยละ 83.80 เห็นด้วย และกลุ่ม คปก.ก็เห็นด้วยกับการให้ภาคประชาสังคมพรรคการเมือง มีตัวแทนร่วมสังเกตการณ์การลงคะแนนและการนับคะแนนเสียงเลือกตั้ง ส่วนแนวทางในการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการลดต้นทุนการโฆษณาหาเสียง และกำหนดรูปแบบโฆษณานโยบายของพรคการเมือง ผลคือ ร้อยละ 83.60 เห็นด้วย และกลุ่ม คปก.ก็เห็นด้วยกับแนวทางการกำหนดให้ผู้ได้รับการเสนอชื่อป็นนายกรัฐมนตรีวนลำดับที่ 1 ของพรรคนั้นต้องอภิปรายนโยบาย 3 ครั้ง ผ่านสถานีโทรทัศน์ และร้อยละ 56.40 เห็นด้วย และกลุ่ม คปก.ก็เห็นด้วยที่พรรคการเมืองต้องส่งข้อมูลการวิเคราะห์นโยบายต่อ กกต.เพื่อเผยแพร่ให้สาธารณชนทราบมากที่สุด ด้านการกำหนดให้ความผิดการเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรคการเมือง เป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พบว่า ร้อยละ 80.87 เห็นด้วย และกลุ่ม คปก.ก็เห็นด้วยกับการกำหนดให้ความผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรคการเมือง เป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ส่วนแนวทางการลงโทษสมาชิกพรรคการเมืองที่เป็นผู้บกพร่องด้านคุณธรรม จริยธรรม กระทำผิดวินัยของพรรคการเมืองอย่างไร ผลคือ ร้อยละ 51.11 เห็นด้วย และกลุ่ม คปก.ก็เห็นด้วยกับการลงโทษสมาชิกพรรคการเมืองที่เป็นผู้บกพร่อง ด้านคุณธรรม จริยธรรม หรือกระทำผิดวินัยของพรรคการเมือง เช่นสมาชิกพรรคการเมือง อาจเข้าเสนอชื่อร้องขอให้พรรคการเมืองมีมติให้สมาชิกภาพของผู้นั้นสิ้นสุดลง ส.ส.ที่ถูกมติพรรคให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลง ก็ให้สมาชิกภาพ ส.ส.ของผู้นั้นสิ้นสุดลงด้วย สำหรับการให้พรรคการเมืองในปัจจุบันสิ้นสภาพ(set zero) เมื่อประกาศใช้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญพรรคการเมืองฉบับใหม่ ผลคือ ร้อยละ 75.06 เห็นด้วย และกลุ่ม คปก.ก็เห็นด้วยกับการให้พรรคการเมืองในปัจจุบันสิ้นสภาพซึ่งกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเห็นตรงกันว่าในอนาคตควรกำหนดให้พรรคการเมืองต้องมีการจัดกิจกรรมร่วมกับภาคประชาสังคม ในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องโดยมีการสนับสนุนให้จัดตั้งกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริตการเลือกตั้งและกองทุนเพื่อพัฒนาพรรคการเมือง ส่วนประเด็นเกี่ยวกับการให้ กกต.ชุดปัจจุบันสิ้นสุดลง(set zero)และให้ดำเนินการสรรหาชุดใหม่ให้ครบจำนวนตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และควรกำหนดให้กระทรวงมหาดไทยมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเลือกตั้งเพื่อเป็นการสนับสนุนการทำงานและลดภาระของ กกต.ผลคือ กลุ่มตัวอย่าง ร้อย 71.8 เห็นด้วย และกลุ่ม คปก.ก็เห็นด้วยกับการให้ กกต.ชุดปัจจุบันสิ้นสุดลงแต่ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการให้กระทรวงมหาดไทยมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเลือกตั้ง และร้อยละ 68.50 เห็นด้วยกับการกำหนดให้กระทรวงมหาดไทยมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการเลือกตั้ง ซึ่งก็สอดคล้องกับผลของกลุ่มคปก.