ผู้ตรวจการฯ เป็นเจ้าภาพจัดหารือระหว่างประเทศ ครั้งที่ 11 “วิทวัส” เผย ได้อำนาจตามรธน.ใหม่ ตรวจสอบหน่วยงานรัฐต่อครม. เชื่อมั่นประเทศเดินหน้าสู่ประชาธิปไตยเข้มแข็ง เมื่อวันที่ 14 พ.ย. พี่โรงแรมรอยัล ออคิด เชอราตัน โฮเทล แอนด์ ทาวเวอร์ส ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับโลกของสถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินระหว่างประเทศ ครั้งที่ 11 โดยจัดแถลงข่าวการประชุมระดับโลกของสถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินระหว่าประเทศ ครั้งที่ 11 และผลการประชุมคณะกรรมการบริหารการประชุมระดับโลกของสถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินระหว่าประเทศ ครั้งที่ 11 ซึ่งมีผลกระทบต่อทิศทางและแนวโน้มการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ซึ่งพล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน นายบูรณ์ ฐาปนดุลย์ ผู้ตรวจการแผ่นดิน นายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน นายจอห์น โรเบิร์ต วอลเตอร์ส ผู้ตรวจการแผ่นดินแห่งสาธารณรัฐนามิเบีย ดำรงตำแหน่งประธานสถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินระหว่าประเทศ และนายกึนเธอร์ ครอยเตอร์ ผู้ตรวจการแผ่นดินแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินระหว่างประเทศ โดยพล.อ.วิทวัส กล่าวว่า สถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินระหว่างประเทศ หรือ International Ombudsman Institute (IOI) ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 100 ประเทศ 6 ภูมิภาคเอเชีย และมีการจัดประชุม 4 ปีต่อครั้ง ในการประชุมครั้งที่ 10 ที่ผ่านมานั้นประเทศไทยได้เสนอตนเป็นเจ้าภาพในการประชุมครั้งที่ 11 ที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีหลายประเทศที่ขอเสนอตนเป็นเจ้าภาพจัดประชุม แต่ที่ประชุมได้โหวตให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ซึ่งการจัดประชุมครั้งนี้มีขึ้นในระหว่างวันที่ 13-19 พ.ย.มีการประชุมของคณะกรรมการผู้บริหารของทุกภูมิภาค และได้จัดให้มีการประชุมมีเนื้อสำหรับผู้บริหารเอง ทั้งเรื่องของการบริหารเงินสนับสนุนกิจกรรมขององค์กรผู้ตรวจการแผ่นดิน เสนอถึงผลงานและการดำเนินงานของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา การรับสมาชิกใหม่ซึ่งคณะกรรมการบริหารจะต้องมีหน้าที่ในการกลั่นกรองสมาชิกถูกต้องตามหลักการ เป็นต้นว่าเป็นองค์อิสระ และมีกฎหมายรองรับหรือไม่ และเป็นไปตามรัฐธรรมนูญหรือเทียบเท่าทุกประเทศหรือไม่ ทั้งนี้จะมีการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากหลายประเทศ ซึ่งเราก็ได้รับเกียรติบรรยายเรื่องผู้ตรวจการวิวัฒนาการของผู้ตรวจการแผ่นดิน และการประเมินในการทำงานของผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งในหลายประเทศได้ตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินเฉพาะด้านขึ้นมา เช่น ด้านการศึกษา ด้านสาธารณูปโภค ซึ่งก็เป็นประโยชน์เนื่องจากว่าในร่างรัฐธรรมนูญใหม่ของประเทศไทยได้มอบอำนาจให้กับผู้ตรวจการแผ่นดินที่จะให้ข้อเสนอกับคณะรัฐมนตรีถึงการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรหน่วยราชการและหน่วยงานของรัฐได้ปฏิบัติหน้าที่ตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐครบถ้วนหรือไม่ ซึ่งขอบเขตจะต้องไปดูเรื่องของความเหมาะสม ความพอเพียงของการศึกษา เรื่องสาธารณสุขของประชาชน รักษาทรัพยากร รวมไปถึงเรื่องป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ใหม่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน พล.อ.วิทวัส กล่าวอีกว่า เราคาดหวังในการจัดประชุมในครั้งนี้ ได้เข้าใจการดำเนินการการทำงานใหม่ๆ และได้ทำให้บทบาทของผู้ตรวจการแผ่นนั้นนำไปสู่เวทีของประชาชนผู้ตรวจการแผ่นดินระดับโลก และสร้างความเชื่อมั่นกระบวนการประชาธิปไตยของไทยว่าอยู่ในทางเดินที่จะไปสู่การสร้างประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง หลักการออกพระราชบัญญัติต่างๆนั้นจะเป็นไปตามหลักนิติธรรมและนำมาซึ่งประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ด้านนายรักษเกชา กล่าวว่า การจัดงานประชุมในวันนี้ ถือว่าเป็นเกียรติของประเทศไทยมาก เพราะมีหลายประเทศแย่งกันเป็นเจ้าภาพ ทั้งนี้นอกจากเป็นครั้งแรกในประเทศไทยแล้ว ยังเป็นครั้งแรกของเอเชียด้วย ซึ่งเราได้ประสานงานกันอย่างหนัก เพื่อให้เกิดงานวันนี้ขึ้น โดยงานประชุมครั้งนี้ได้ประโยชน์หลายอย่างๆ แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีเสียวิจารณ์ว่าระเทศไทยเองยังไม่เป็นยังมีความเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ แต่หลายประเทศก็ยังมาร่วมประชุมด้วย แสดงว่าเขาก็ยังเชื่อถือเราในการทำหน้าที่ตรวจสอบอำนาจรัฐอยู่ ทั้งนี้ประเด็นที่ได้มีการพูดถึงในที่ประชุมก็คือ เรื่องการคุกคามเจ้าหน้าที่องค์กรอิสระในต่างประเทศที่ตรวจสอบ หรือพยายามเปิดโปงคอรัปชั่น ซึ่งการคุกคามมีหลายรูปแบบทั้งการข่มขู่เอาชีวิต ตัดงบประมาณ แทรกแซงการแต่งตั้ง ซึ่งไทยเองเราก็เรียนไปว่าไม่ได้มีสถานการณ์เกิดขึ้นในบ้านเรา โดยรัฐบาลก็ให้ความร่วมมือและสนับสนุนเราเป็นอย่างดี โดยตัวแทนจากหลายประเทศก็ระบุว่าเห็นการเติบโตของเราในทางที่ดี โดยนานาประเทศก็ได้ให้ทุนสนับสนุนเราอยู่หลายครั้งเพื่อจัดอบรม โดยการอบรมแต่ละครั้งก็มีตัวแทนจากต่างประเทศมาร่วมด้วย นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้พูดถึงประเด็นการจัดตั้งผู้ตรวจการฯ ในเรื่องที่กฎหมายไม่ถึง หรือเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ อย่างบางประเทศได้มีจัดตั้งผู้ตรวจการฯระดับจังหวัด หรือทำด้านการเงินธนาคาร เป็นต้น ซึ่งเรื่องดังกล่าวถือว่าเป็นประโยชน์ที่เราได้แลกเปลี่ยนกับตัวแทนจากต่างประเทศ ด้านนายจอร์น อาร์ วอร์เตอร์ กล่าวว่า ขอบคุณรัฐบาลไทย และผู้ตรวจการแผ่นดินที่เตรียมการไว้อย่างดี ทำให้ทุกอย่างเป็นไปราบรื่น สำหรับการจัดการประชุมครั้งนี้จะเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทางด้านวิชาการ และเทคนิค ระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของผู้ตรวจการแผ่นดิน ทั้งนี้ อยากเห็นการทำงานของผู้ตรวจการแผ่นดินจะต้องมีความใสสะอาด สามารถตรวจสอบอำนาจรัฐได้ทุกขั้นตอน และมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในประเทศสมาชิก เพราะประชาชนมีสิทธิอย่างมากที่จะตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ส่วนนายกึนเธอร์ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการเอื้อประโยชน์ในการปรึกษากันระหว่างประเทศ และเปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยน ผลักดันให้ผู้ตรวจการแผ่นดินไปเผยแพร่ทั่วประเทศ ทั้งนี้ มีกรณีศึกษาจากการตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ โดยมีแนวคิดว่าคนที่สามารถตรวจสอบการทำงานของภาครัฐได้ดี คือ ประชาชน