ตร.ทล.มีอำนาจตั้งจุดตรวจ จุดสกัด เพื่อตรวจสอบ ควบคุม จับกุม ตาม พรบ.ทางหลวง ,พรบ.จราจร และอื่น ๆ ได้ วันที่ 9 พ.ย.59 ที่ บก.ทล. พลตำรวจตรีสมชาย เกาสำราญ ผู้บังคับการ ตำรวจทางหลวง กล่าวเปิดเผยว่า ตร.กำหนดคำนิยามลักษณะของ ด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด ของตำรวจไว้ ซึ่งตำรวจทางหลวง ไม่มีด่านตรวจมีเพียงจุดตรวจ จุดสกัดเท่านั้นส่วนอำนาจหน้าที่ของตำรวจทางหลวงตามกฏหมาย 1. การปฏิบัติหน้าที่ตาม พรบ.ทางหลวง ซึ่ง ตำรวจทางหลวง ทุกนายได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานทางหลวง ตามประกาศ กระทรวงคมนาคม ลง 1 มี.ค.49 (ราชกิจจา ฯ เล่มที่ 123 ตอน 35 ง ลง 30 มี.ค.49) ในฐานะเจ้าพนักงานทางหลวง จึงมีอำนาจหน้าที่ ตาม พรบ.ทางหลวง ฯ ม.23 จึงต้องดำเนินการ ตรวจตรามิให้มีการฝ่าฝืน เรียกพาหนะให้หยุดเพื่อตรวจสอบ และจับกุมผู้กระทำผิด 2. มาตรา 22 กำหนดอำนาจหน้าที่ผู้อำนวยการทางหลวง ให้เป็นไปตาม พรบ.ทางหลวง เว้นแต่ที่ไม่มีบัญญัติไว้ใน พรบ.นี้ ให้เป็นไปตามกฏหมายว่าด้วยการนั้น ( กฎหมายอื่น เช่น พรบ.จราจร,พรบ.รถยนต์,พรบ.ขนส่ง และความผิดอาญาอื่น ๆ)ส่วน พรบ.จราจร ฯ กำหนดให้ ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการจราจร เป็น พนักงานเจ้าหน้าที่ และคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 387/41 ลง 14 สค 41 แต่งตั้ง ผบก.ทล. เป็นเจ้าพนักงานจราจรในเขตพื้นที่ทางหลวงทั่วราชอาณาจักร และให้ ผกก.,สว.ส.ทล. เป็นพนักงาน จราจร เฉพาะในเขตพื้นที่ทางหลวงที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบสำหรับความผิดทางอาญา จะกำหนดอำนาจหน้าที่ตำรวจไว้ในกฎหมายนั้น เช่น ป.อาญา ,ป.วิ อาญา ฯลฯ พลตำรวจตรีสมชาย กล่าวสรุปว่าตามกฏหมาย ตำรวจทางหลวง มีอำนาจตั้งจุดตรวจ จุดสกัด เพื่อตรวจสอบ ควบคุม จับกุม ตาม พรบ.ทางหลวง , พรบ.จราจร และอื่น ๆ ได้ ตามระเบียบ การตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ จุดสกัด ต้องถือปฏิบัติตามอนุมัติ ตร.ลง 2 พ.ย.58 ต่อท้ายหนังสือ สยศ.ตร.ที่ 0007.34/2872 ลง 2 พ.ย.58 เรื่องแนวทางมาตรการการปฏิบัติเกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด