เมื่อวันที่ 25 ส.ค.66 ที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงการอนุรักษ์ตาลโตนด ตำบลหัวยกรด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายยุทธนา แรกขึ้น นายอำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ประธานเปิดโครงการการใช้ประโยชน์จากต้นทุนทางวัฒนธรรมและภูปัญญาท้องถิ่นในวิถีตาลโตนดและศิลปะการแสดงฟื้นบ้านรำรำมะนา ที่ทางสภาวัฒนธรรมจังหวัดชัยนาท เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดชัยนาท มีนางประวงษ์ กานนท์รังสี ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดชัยนาทและวัฒนธรรมจังหวัดชัยนาท ผู้นำชุมชน วิทยากร ให้การต้อนรับและรายงานว่า จังหวัดชัยนาท มีประวัติความเป็นมายาวนานและมีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจยิ่ง ทั้งด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุ สถานหลายแห่งในจังหวัดชัยนาทมีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่โดดเด่นทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ การเกษตร งานหัตกรรมผ้าทอ อาหารและยา ความเชื่อ ประเพณีพิธีกรรม ตลอดจนโบราณสถานสำคัญหลายแห่ง โดยเฉพาะ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงการอนุรักษ์ตาลโตนด ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดชัยนาท และพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ทำจากต้นตาลโตนดให้เป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP ของจังหวัด ตาสโดนดยังมีประโยชน์ใช้ทำเป็นอาหาร เช่น ต้มปลาร้าหัวตาล แกงหัวตาล ยำหัวตาลปลาย่าง และขนมหวาน เช่น ลอนตาลเชื่อม ตาลลอยแก้ว
จะเห็นได้ว่ามีการนำทรัพยากรในตำบลห้วยกรด มาพัฒนาต่อยอดและขยายผลในระบบเศรษฐกิจชุมชนได้และการแสดงรำรำมะนา เป็นการแสดงพื้นบ้านของชาวตำบลห้วยกรด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ใช้กลอง "รำมะนา" เป็นดนตรีหลักในการประกอบการเล่นรำรำมะนา ความเด่นของรำรำมะนาของจังหวัดชัยนาท คือ ภาษาท่าซึ่งตีบทมาจากเพลงที่ร้องโต้ตอบกันในการร่ายรำ ทั้งเนื้อร้องและท่ารำใช้วิธีจดจำสืบทอดกันมา อาจมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อร้องและท่รำไปตามยุคกระนั้นก็ตามสีลาร่ายรำของชาวห้วยกรดกรด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ในยุคปี พ.ศ. 2542 ก็ยังมีลีลาที่อ่อนช้อยงดงามที่นำความชื่นชอบให้แก่ผู้พบเห็นเสมอ ผู้ร่ายรำจะมีอารมณ์สีหน้า ท่าทางคล้อยตามบทเพลงได้อย่างดี โดยบทเพลงจะสอดแทรกเนื้อหาการร้องเกี่ยวกับการเกี้ยวพาราสี การชมรรรมชาลี ซึ่งจะหาชมได้ยากขึ้นทุกวัน สมควรแก่การศึกษาและบันทึกไว้ให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาและมีการสืบทอดต่อไป
นายยุทธนา แรกขึ้น นายอำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท กล่าวว่า โครงการการใช้ประโยชน์จากต้นทุนทางวัฒนธรรมและภูปัญญาท้องถิ่นในวิถีตาลโตนดและศิลปะการแสดงฟื้นบ้านรำรำมะนา ส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดชัยนาท เป็นโครงการที่ดีในการสืบสานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ซึ่งทางกระทรวงวัฒนธรรม ได้สนับสนุนงบประมาณ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ รักษา สืบทอด วัฒนธรรมท้องถิ่นชองจังหวัดชัยนาท ส่งเสริมภูมิปัญญาในระดับเร่งด่วนเพื่อสืบสาน สร้างมูลค่าเพิ่มให้ต้นทุนทางวัฒนธรรมของชุมชน ไม่ให้เสี่ยงต่อการสูญหายและถ่ายทอดมาสู่เยาวชนรุ่นถัดไป รวมถึงการเผยแพร่วัฒนธรรมชุมชนให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายต่อไปอีกด้วย