เมื่อเวลา 14.30 น. วันที่ 9 ต.ค.นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงการเรียกผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดประชุมวีดีโอคอนเฟอร์เร้นเรื่องการจัดการปัญหาอุทกภัย ว่า เรื่องนี้เป็นนโยบายของนายกฯ ที่สั่งการให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยบัญชาการ และป้องกันบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด และหน่วยการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงทีมงานปลัดกทม. เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน จากสถานการณ์ฝนตกหนักในช่วงนี้ ว่าทางราชการจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร ซึ่งประเด็นที่จะพูดคุยในวันนี้ คือให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทำความเข้าใจกับประชาชนว่า สถานการณ์การปล่อยน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยา และเขื่อนชัยนาทอาจจะมีผลกระทบต่อประชาชนที่อยู่ในจังหวัดอ่างทอง สิงห์บุรี อยุธยา และนนทบุรี โดยผู้ว่าราชการจังหวัดดังกล่าวต้องมีแผนการรับน้ำเมื่อเขื่อนชัยนาถปล่อยน้ำลงมาว่าจะจัดการให้น้ำไปอยู่จุดไหน ทั้งนี้ สำหรับการช่วยเหลือประชาชน เดิมจะมีการเยียวยาเฉพาะตอนน้ำท่วม และหากมีน้ำเอ่อล้นจะมีการกักน้ำซึ่งทำให้ชาวบ้านได้รับผลกระทบ แต่นโยบายใหม่ ได้มีการประสานงานกับกระทรวงเกษตรฯ และกรมชลประทาน หากมีน้ำลงมาจะมีการกักน้ำไว้ตามจังหวัดต่างๆ และหากสถานที่ที่ใช้กักน้ำเป็นพื้นที่เกษตรกรรมของพี่น้องประชาชน เช่น นาข้าว ทางจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องคำนวนค่าเสียหายให้ประชาชน โดยรัฐบาลจะให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนตามความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งแยกออกจากพี่น้องที่ประสบอุทกภัยทั่วไป นายกฤษฎา กล่าวต่อว่า เหตุที่ต้องกักน้ำตามจังหวัดต่างๆนั้น เพราะเกรงว่าหากปล่อยน้ำลงมาท่วมพื้นที่ เช่น ดอนเมือง มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจจะมีจำนวนมาก การปล่อยไปยังที่นาแม้จะมีค่าเสียหายแต่ก็ยังน้อยกว่าปล่อยไปยังเขตชุมชนเมือง ซึ่งรัฐบาลจะมีการเยียวยาให้มากเท่ากับจำนวนที่จะได้จากผลผลิต ส่วนการคำนวนค่าเสียหาย จะให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาร่วมกันตามความเป็นจริง ดังนั้น วันนี้ตนจะได้ทำความเข้าใจกับผู้ว่าฯ เพื่อให้ผู้ว่าฯไปชี้แจงกับประชาชนให้เกิดความเข้าใจ และไม่เกิดความขัดแย้งกันระหว่างคนที่อยู่ในเขตแนวกั้นน้ำ กับนอกเขตกั้นน้ำ เมื่อถามว่า มีการสอบถามไปยังกรมชลประทานหรือไม่ว่าเหตุใดก่อนหน้านี้จึงไม่มีการเปิดประตูระบายน้ำเพื่อการผันนำไปยังพื้นที่ที่เก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว นายกฤษฎา กล่าวว่า ขณะนี้กรมชลประทานยังไม่มีความผิดพลาดแต่ประการใด แผนการระบายน้ำเป็นไปตามแผนทุกอย่าง ขณะนี้อยู่ระหว่า 1600-1700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ถือว่ายังสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ อย่างไรก็ตาม ช่วง 3 วันที่ผ่านมา ฝนไม่ได้ตกเหนือเขื่อน ซึ่งจะมีน้ำไหลลงมามากขึ้นโดยประชาชนที่ได้รับผลกระทบขณะนี้ คือประชาชนที่อาศัยอยู่นอกแนวกั้นน้ำ ทั้งนี้ ทางกรมชลประทานขอดูสถานการ์คืนนี้ก่อน หาคืนนี้มีฝนตกลงมาเกินกว่าที่คาดหมาย เรามีพื้นที่เพ่งเล็งที่จะกักน้ำเอาไว้ คือ อำเภอเสนา และอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยพื้นที่ดังกล่าวสามารถรบน้ำได้เท่ากับ 1 เขื่อนในจังหวัดลพบุรี ดังนั้นขอให้ประชาชนสบายใจ และสาเหตุที่ผันน้ำเข้าทุ่งไม่ได้เป็นเพราะยังไม่เกี่ยวเกี่ยวผลผลิตกกว่า 4 แสนไร่ ไม่ใช่เป็นเพราะเป็นที่นาของนายทุนใหญ่ ทั้งนี้รัฐบาลตะเยียวยาให้ประชาชน คาดการว่าอย่างน้อยไร้ละ 5,000 บาท เมื่อถามว่า กรมชลประทานจะผันน้ำในวันที่ 20 ตุลาคมนี้ ชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนมองว่าช้าไป นายกฤษฎา กล่าวว่า ยังไม่มีการผันน้ำ ซึ่งการทำงานขณะนี้ทั้งปลัดอำเภอ นายอำเภอ และส่วนที่เกี่ยวข้อง กระทรวงมหาดไทยให้ลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับประชาชน อย่างไรก็ตาม เรามีการเฝ้าติดตามสถานการณ์จากกรมอุตุฯอยู่ตลอด หากฝนไม่ตกจนทำให้น้ำทางเหนือเพิ่ม ระบบการผันน้ำก็ยังดูแลได้ นายกฤษฎา กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ สำหรับการแก้ไขปัญหาระน้ำไม่ทันในพื้นที่กทม.นั้น ในวันนี้จะมีการประชุมร่วมกับกทม. ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี และปทุมธานี โดยจะมีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำมากขึ้นเพื่อเร่งระบายน้ำในกรณีที่มีฝนตกหนัก