พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ศรภ. โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊กส่วนตัว พลโท นันทเดช เมฆสวัสดิ์ ระบุว่า

▪️เรื่องนี้ควรจบเสียที▪️

การทำงานของรัฐบาลอังกฤษ ตามแผนการปฏิบัติต่างๆ ในงาน
พระราชพิธีพระบรมศพของควีนเอลิซาเบธที่ 2  ซึ่งรัฐบาลอังกฤษ
ในฐานะผู้ดำเนินงานหลักนั้น ได้รับความกดดันอย่างหนักจากหลาย
ฝ่าย เนื่องมาจากมีการกำหนดมาตราการ รปภ. อย่างเข็มงวดมาก
กว่าทุกงาน ท่ีเคยจัดขึ้นมาในกรุงลอนดอน และยังมีการนำปัญหา
ทางการเมืองระหว่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น 
 
1. การห้ามบางประเทศไม่ให้เข้าร่วมพระราชพิธีเนื่องจากสาเหตุทาง การเมืองระหว่างประเทศ
 
2. ข้อจำกัดการเดินทางเข้าร่วมพระราชพิธีของประมุขประเทศต่างๆ 
เช่น การห้ามเดินทางด้วยเครื่องบินส่วนตัว (ยกเว้นประเทศที่ได้รับอนุญาต)   เพราะจะทำให้การจราจรทางอากาศคับคั่งมากถ้าประมุข
ทุกประเทศใช้   เครื่องบินส่วนตัวเหมือนกันหมด พร้อมกับห้ามใช้
รถยนต์ส่วนตัวเดินทางเข้าร่วมพระราชพิธี โดยให้นำรถส่วนตัวไปจอด
ไว้ที่โรงพยาบาลหลวงเชลซี  จากนั้นใช้รถบัสรวมเดินทางมาที่บริเวณพระราชพิธีร่วมกัน เพื่อการ รปภ.จะทำได้ง่ายขึ้น 
 
ข้อจำกัดเหล่านี้ ถือได้ว่าเป็นข้อห้ามที่จำเป็น เพราะ
(1) อังกฤษเป็นประเทศที่เป็นเป้าหมายของการก่อการร้ายเป็นอันดับ 2 รองลงมาจากสหรัฐฯ แม้กรุงลอนดอนจะได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงที่ปลอดภัยที่สุดเพราะมีกล้องวงจรปิดชนิดระบุอัตลักษณ์ได้จำนวนมาก เปรียบเทียบว่า “ถ้าเดินอยู่ในลอนดอน ไปตรงไหนก็จะมีกล้องวงจรปิดจับอยู่ที่ตัวเราในมุมต่างๆ   อย่างน้อย 5 กล้องขึ้นไป” แต่ระบบ รปภ.ดังกล่าวก็มีขีดจำกัดในเรื่องการรองรับปริมาณคนเช่นกัน จึงอาจไม่สามารถจะดูแล VVIP และคณะผู้ติดตามซึ่งมีจำนวนมากได้อย่างครบถ้วน
 
(2) พื้นที่จัดงานมีขนาดจำกัดไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ที่เข้าร่วมงาน ประกอบกับทางรัฐบาลอังกฤษก็ไม่สามารถจะควบคุมประชาชนที่อยู่บริเวณโดยรอบสถานที่จัดงานได้ทุกคน ซึ่งคาดว่าจะมีพสกนิกรเข้าร่วมงานประมาณ 350,000 คนขึ้นไป
 
(3) กำลังตำรวจและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมพื้นที่ไม่เพียงพอ
 
การออกข้อบังคับดังกล่าวนั้น รัฐบาลอังกฤษน่าจะพิจารณาจากบุคคลสำคัญที่เข้าร่วมงาน โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
 
1. กลุ่มเครือข่ายสมาชิกราชวงศ์ในประเทศทางยุโรป (พระญาติ)
2. กลุ่มประมุขประเทศที่อยู่ในเครือจักรภพ (Commonwealth of Nations) ที่มีรัฐเอกราช 56 ชาติ (โดยในจำนวนนี้ 14 ประเทศมีกษัตริย์อังกฤษเป็นประมุขของรัฐ)
3. กลุ่มประมุขของประเทศในยุโรป
 
อนึ่ง ประเทศทั้ง 3 กลุ่มดังกล่าวนี้ ส่วนใหญ่ประมุขของประเทศสามารถเดินทางไปได้สะดวกโดยไม่ต้องใช้เครื่องบิน ยกเว้นแต่ประเทศในเครือจักรภพที่ห่างไกล เช่น แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย 
ศรีลังกา ซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องบิน แต่ประเทศในกลุ่มนี้มีความผูกพันกับสหราชอาณาจักรมากกว่าปกติจึงน่าจะได้รับการผ่อนปรน เช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่นที่สามารถนำเครื่องบินส่วนตัวมาได้ ส่วนประเทศยุโรป
อื่นๆที่ไม่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขก็สามารถเดินทางเข้าสู่กรุงลอนดอนได้ง่ายทั้งทางรถยนต์ และทางรถไฟ 
 
4. ประเทศอื่นๆ นอกจาก 3 กลุ่มที่กล่าวมาแล้ว รัฐบาลอังกฤษทราบดี
ถึงความลำบากในการเดินทาง จึงระบุให้สามารถส่งตัวแทนประมุขของประเทศเข้าร่วมพระราชพิธีได้ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องเพราะข้อจำกัดในการ รปภ.บุคคลสำคัญของอังกฤษตามที่กล่าวมาแล้ว   

อนึ่ง ขอย้ำว่า การ รปภ.ครั้งนี้ ของรัฐบาลอังกฤษ ได้มีการดำเนินงานอย่างจริงจังมากที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ   ตำรวจทั่วประเทศถูกระดมมาอยู่ที่กรุงลอนดอนเกือบทั้งหมด รวมทั้งทีมงานข่าวกรองด้วย การวางกำลังชุดเฉพาะกิจ หน่วยสไนเปอร์ รวมทั้งหน่วยปฏิบัติการพิเศษทางอากาศ (SAS)       ซึ่งได้เข้ามาปฏิบัติการ ในกรุงลอนดอนเป็นครั้งแรก เพื่อป้องกันเหตุการร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกห้วงเวลา

ประเทศไทยนั้นได้รับจดหมายเชิญประมุขของประเทศเข้าร่วมด้วย แต่เนื่องจาก รัฐบาลอังกฤษมีคำแนะนำอย่างจริงจัง (Strongly advice) ว่า “ขอไม่ให้เดินทางด้วยเครื่องบินส่วนตัว” และขอให้ขึ้นรถรวม Shuttle Bus เข้างาน  แทนรถยนต์ส่วนตัว
 
แน่นอนว่าคำแนะนำดังกล่าวย่อมทำให้เกิดความไม่สะดวกในการเดินทางของประมุขหลายสิบประเทศที่ไม่ได้อยู่ในทวีปยุโรป จึงเลือกใช้วิธี ส่งตัวแทนไปร่วมงานแทน
 
ดังนั้นราชวงศ์ไทยซึ่งมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับราชวงศ์อังกฤษ (ไม่ใช่รัฐบาลอังกฤษ) ตามที่ทราบกันดีอยู่แล้ว จึงส่ง”ตัวแทนพระองค์”ไปแทน เพื่อลดภาระในการดูแลและการรักษาความปลอดภัยของเจ้าภาพ ซึ่งรัฐบาลอังกฤษและราชวงศ์อังกฤษคงเข้าใจได้เป็นอย่างดี
 
ส่วนกรณีที่รัฐบาลอังกฤษอนุญาตให้สิทธิพิเศษแก่สหรัฐฯ ในการนำเครื่องบินส่วนตัวมาเองพร้อมด้วยทีมคุ้มกันและไม่ต้องขึ้นรถบัสรวมนั้น   ก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องผิดปกติอย่างไร เพราะสหรัฐฯ คือศัตรูลำดับ 1 ของ       กลุ่มผู้ก่อการร้ายและอีกหลายสิบกลุ่ม จึงจำเป็นต้องขอรับสิทธิพิเศษ
เป็นปกติอยู่แล้ว
 
อย่างไรก็ตามต้องคำนึงว่างานพระราชพิธีครั้งนี้ รัฐบาลอังกฤษเป็น       แม่งานหลักในการจัดงานไม่ใช่สำนักพระราชวังอังกฤษ จึงมีการนำเรื่อง ทางการเมืองและความเป็นพันธมิตรในกลุ่มนาโต้เข้ามาร่วมพิจารณาประกอบด้วย  ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดคาดแต่อย่างใดเมื่อการแบ่งขั้วอำนาจของโลกในปัจจุบันนี้มีลักษณะที่เกิดขึ้นซึ่งเห็นและรับทราบกันทั่วไปอย่างชัดเจน
 
เรื่องนี้จึงควรยุติลงได้แล้ว เพราะถ้าพูดกันไปพูดกันมา รัฐบาลอังกฤษก็ยิ่งจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ไปในทางลบมากขึ้นโดยเฉพาะในประเด็นที่ไม่สามารถจะให้ความเท่าเทียมแก่ประมุขของประเทศต่างๆ ได้   ซึ่งการวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวนี้เป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้นในห้วงเวลาที่ประชาชนทั้งสหราชอาณาจักรกำลังอยู่ในความโศรกเศร้าเช่นนี้